หลักสูตร
ความรู้พื้นฐานด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุพร้อมกรณีศึกษา
(Materials Science and Engineering Knowledge with Case Studies)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
วันที่ 5-6 ตุลาคม 2566 เวลา 9:00-16:00 น.
จัดอบรม hybrid คู่ขนาน 2 รูปแบบ
ทั้งในรูปแบบอบรมในห้องอบรม (onsite) และรูปแบบ online
ผู้สนใจสามารถเลือกรูปแบบการอบรมได้ตามที่ท่านสะดวก รายละเอียดดังนี้
รูปแบบที่1 อบรม onsite ณ ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
รูปแบบที่2 อบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx Meeting
ท่านเคยประสบปัญหาเหล่านี้หรือไม่?
– รู้สึกขาดความรู้พื้นฐานทางวัสดุ แต่ต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ
– เคยเรียนวิชาทางวัสดุมาแล้ว แต่ขาดประสบการณ์การนำไปประยุกต์ใช้
– มีความรู้พื้นฐานและประสบการณ์ในงานของตัวเอง แต่ต้องการมุมมองที่กว้างขึ้นในสาขางานอื่นๆ
หลักสูตรนี้ให้ความรู้พื้นฐานด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ โดยมีการยกตัวอย่างงานจริงจากประสบการณ์ของวิทยากรมาประกอบ เนื้อหาหลักประกอบด้วย
– เทคนิคการทดสอบสมบัติของวัสดุ (Techniques for Materials Properties Testing)
– เทคนิคการวิเคราะห์โครงสร้างของวัสดุ (Techniques for Microstructural Characterization)
– การกัดกร่อนและการเสื่อมสภาพของวัสดุ (Corrosion and Degradation of Materials)
– การแตกร้าวและความเสียหาย (Fracture and Failure)
– ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและสมบัติของวัสดุ (Relationship Between Microstructure and Properties of Materials)
– โลหะ (Metals)
– เซรามิกส์ (Ceramics)
– พอลิเมอร์ (Polymers)
– วัสดุคอมโพสิท (Composites)
รายละเอียด
วันที่ 5 ตุลาคม 2566
8:30-9:00 น. เริ่มลงทะเบียน
9:00-10:30 น. บทนำเกี่ยวกับวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ (Introduction to Materials Sci. and Eng.)
โครงสร้างผลึกของแข็ง (Structure of Crystalline Solids)
10:30-10:45 น. พักการบรรยาย 15 นาที
10:45-12:00 น. สมบัติเชิงกลของวัสดุ (Mechanical Properties of Materials)
– การทดสอบแรงดึง (Tensile Testing)
– ความเค้นและความเครียด (Stress and Strain)
– กฎของฮุกและมอดูลัสของยัง (Hooke’s Law and Young’s Modulus)
– การทดสอบความแข็ง (Hardness Testing)
12:00-13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00-14:30 น. การแตกร้าวและความเสียหาย (Fracture and Failure)
ความล้า (Fatigue)
แผนภูมิเฟส (Phase Diagrams)
14:30-14:45 น. พักการบรรยาย 15 นาที
14:45-16:00 น. โลหะ (Metals)
การกัดกร่อนของโลหะ (Corrosion of Metals)
วันที่ 6 ตุลาคม 2566
9:00-10:30 น. เซรามิก (Traditional and Advanced ceramics)
พอลิเมอร์ (Polymers)
10:30-10:45 น. พักการบรรยาย 15 นาที
10:45-12:00 น. คอมโพสิท (Composites)
ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและสมบัติของวัสดุ (Structure-property relationship)
12:00-13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00-14:30 น. เทคนิคการวิเคราะห์วัสดุ (Materials characterization techniques)
– Physical Property Analysis เช่น particle size distribution, density, surface area, pore size เป็นต้น
– Morphological Study เช่น OM, SEM, TEM, AFM เป็นต้น
– Chemical Composition Analysis เช่น EDS, XRF เป็นต้น
– Crystallographic and Phase Study เช่น EBSD, XRD เป็นต้น
– Thermal Analysis เช่น DSC, TGA เป็นต้น
14:30-14:45 น. พักการบรรยาย 15 นาที
14:45-16:00 น. การเสื่อมสภาพของวัสดุ/ข้อบกพร่อง/การปนเปื้อน (Materials Degradation/
14:30-14:45 น. พักการบรรยาย 15 นาที
14:45-16:00 น. การเสื่อมสภาพของวัสดุ/ข้อบกพร่อง/การปนเปื้อน (Materials Degradation/Defects/Contaminates) และแนวทางการวิเคราะห์ (Approaches to Analysis)
สรุปเนื้อหาการอบรมและตอบคำถาม (Course Wrap-Up and Q&A))
วิทยากร
ดร.สมบูรณ์ โอตรวรรณะ
ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม
ดร.ศรชล โยริยะ
ทีมวิจัยวิศวกรรมเซรามิก
ค่าลงทะเบียน
ข้าราชการหรือพนักงานหน่วยงานรัฐ ราคา 7,000 บาท/ท่าน (ไม่คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
บุคคลทั่วไป ราคา 7,490 บาท/ท่าน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
**รับสมัครจำนวน 20 ท่าน เท่านั้น**
หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนออนไลน์ >>> https://www2.mtec.or.th/eventnstda/user/regisnow.aspx?EventID=S23031
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดลงทะเบียนตามช่องทางเพื่อสำรองที่นั่งไว้ก่อน และดำเนินการโอนเงินค่าลงทะเบียนในภายหลัง**
การชำระค่าลงทะเบียน
โอนเงินเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 080-0-00001-0
สาขาอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ, หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์/ คุณพลธร เวณุนันท์)
โทรศัพท์ 025646500ต่อ 4675, 4677
E-mail : boonrkk@mtec.or.th