การสัมมนา
Green Hydrogen เพื่ออุตสาหกรรมสีเขียวและ BCG Model
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ร่วมกับ
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00-16.00 น.
ณ ห้อง MR222 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ
ภายในงาน Metalex2023
เทคโนโลยีการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานไฮโดรเจน ได้รับการรู้ถึงในวงกว้าง และการเตรียมความพร้อมในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของไทยในการมีส่วนร่วมสำหรับการผลิตแก๊สไฮโดรเจนเพื่อรองรับความต้องการในอนาคต เป็นสิ่งที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก และเมื่อต้องสอดรับกับนโยบายด้าน BCG Economy (Bio-Circular-Green Economy) หรือ โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ที่มุ่งเน้นการสร้างผลผลิตจากกอุตสาหกรรมด้วยสำนึกรับผิดชอบต่อการสร้างมลภาวะ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นโอกาสในการมีส่วนร่วมผลักดันให้เกิดผลงานที่สร้างคุณค่าได้ในเชิงการให้ความสำคัญกับการเลือกวัตถุทางชีวภาพ การสามารถหมุนเวียนผลผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อมจากกระบวนการได้ทั้งหมด และการมุ่งสู่หัวใจหลักของกระบวนการเพื่อเศรษฐกิจสีเขียวนั้น เทคโนโลยีไฮโดรเจนสีเขียว หรือ green hydrogen ซึ่งในทางทฤษฎีเป็นกระบวนการที่ปราศจากคาร์บอนนี้จะมีบทบาทโดยตรงต่อแนวทางการดำเนินกิจกรรมการผลิตซึ่งสามารถมุ่งสู่ผลลัพธ์ บนพื้นฐานของ BCG model ได้อย่างเหมาะสม
ในการนี้ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ภายใต้โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit; GIZ) มุ่งหวังให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเทคโนโลยีหลากหลายสาขาให้แก่บุคลลทั่วไป รวมถึงผู้ใช้เทคโนโลยี และสายงานเทคนิคต่าง ๆ ให้มีความพร้อมและสามารถเข้าสู่การศึกษาเรียนรู้ได้เพื่อการใช้งานและประยุกต์องค์ความรู้เดิมเพื่อต่อยอดไปในการดำเนินกิจกรรมเชิงเทคโนโลยีเฉพาะด้านได้อย่างเหมาะสม
กำหนดการ
12.30-13.00 น. ลงทะเบียน
13.00-14.30 น. Green Hydrogen เพื่ออุตสาหกรรมสีเขียวและ BCG Model
โดย ดร.ปราโมทย์ ผึ้งจินดา
14.30-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45-16.00 น. Green Hydrogen เพื่ออุตสาหกรรมสีเขียวและ BCG Model (ต่อ)
โดย ดร.ปราโมทย์ ผึ้งจินดา
วิทยากร
ดร.ปราโมทย์ ผึ้งจินดา
ที่ปรึกษาอาวุโสโครงการพลังงาน
International Hydrogen Ramp-up Programme
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน
การลงทะเบียน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ลงทะเบียนออนไลน์ที่ >>>
– ผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้ว ให้ใส่ User Name และ Password และทำตามขั้นตอนใน website จนเสร็จสมบูรณ์
– สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่มี Username และ Password ต้องทำการลงทะเบียนก่อน ในช่อง New Registration และกรอก First name / Last name / E-mail Address แล้วกด submit จากนั้นกรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน และทำตามขั้นตอนใน website โดยเมื่อท่านลงทะเบียนสำเร็จสมบูรณ์จะมีอีเมล์แจ้งกลับไปหาท่าน
หมายเหตุ
– กรณีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการสัมมนา ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ โปรดแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: boonrkk@mtec.or.th ภายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจท่านอื่นต่อไป หากท่านไม่แจ้งยกเลิก ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 1,000 บาท
– กรณียกเลิกจัดการเสวนา ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดกิจกรรม โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้ลงทะเบียนทราบภายใน 1 สัปดาห์ก่อนการเสวนา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์/ คุณพลธร เวณุนันท์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675, 4677
E-mail : boonrkk@mtec.or.th