การเสวนา ยกระดับเกษตรกรรมให้ประเทศไทยด้วย Smart Farm / Precision Farm
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ร่วมกับ
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สถานทูตเนเธอร์แลนด์
เครือข่ายเกษตรและอาหารปลอดภัย (GAP NET)
และ
สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย
วันพฤหัสที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00-16.00 น.
ณ ห้อง MR222 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ
ภายในงาน Metalex2023
การเกษตรกรรมยุคใหม่ที่จำเป็นต้องหวังผลเลิศทั้งในเชิงคุณภาพของผลผลิตและผลิตภาพ มีการดำเนินการเป็นรูปธรรมในรูปแบบการเกษตรแบบแม่นยำ หรือ precision agriculture ควบคู่ไปกับฟาร์ทเกษตรแบบอัจฉริยะ หรือ smart farm ซึ่งนอกจากเป็นการนำเทคโนโลยีการควบคุมกลไกต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ตรงกันข้ามกับการเกษตรแบบพึ่งพาลมฟ้าอากาศแบบดั้งเดิมแล้ว รายละเอียด ปัจจัย และคุณค่า ล้วนเป็นความสำเร็จที่เกษตรกรจำเป็นต้องตั้งเป้าหมายอย่างจริงจัง เนื่องจากองค์ความรู้และการลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าว ยังเป็นข้อจำกัดอย่างมากในรูปแบบการเกษตรแบบที่พบเห็นโดยทั่วไป ทั้งทั่วโลกและในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม หากพืชผลผลิตจากการเกษตรที่ได้มามีมูลค่าสูงและสร้างผลกระทบต่อกระบวนการทางเกษตรกรรมในยุคหน้าได้ ความท้าทายของการสร้างองค์ความรู้เพื่อรองรับการเกษตรแบบอัจฉริยะ หรือเการเกษตรแบบ 4.0 หรือชื่อเรียกใด ๆ ก็ตาม คือโอกาสที่นักเทคโนโลยีกำลังให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
ในการนี้ โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ในความร่วมมือระหว่าง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี (กปว.สป.อว.) ร่วมกับ สำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง (KMITL Research and Innovation Services; KRIS) และสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย (The Embassy of the Kingdom of the Netherlands in Thailand) มีความคาดหวังให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเทคโนโลยีหลากหลายสาขาให้แก่บุคลลทั่วไป รวมถึงผู้ใช้เทคโนโลยี และสายงานเทคนิคต่าง ๆ ให้มีความพร้อมและสามารถเข้าสู่การศึกษาเรียนรู้ได้เพื่อการใช้งานและประยุกต์องค์ความรู้เดิมเพื่อต่อยอดไปในการดำเนินกิจกรรมเชิงเทคโนโลยีเฉพาะด้านได้อย่างเหมาะสม
กำหนดการ
12.30-13.00 น. ลงทะเบียน
13.00-14.30 น. ยกระดับเกษตรกรรมให้ประเทศไทยด้วย smart farm / precision farm
ผู้ร่วมเสวนา 1.ดร.เมธินี ศรีวัฒนกุล
2.คุณสุรพล จารุพงศ์
3.ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์
4.คุณธนาภรณ์ โกราษฎร์
14.30-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45-16.00 น. ยกระดับเกษตรกรรมให้ประเทศไทยด้วย smart farm / precision farm (ต่อ)
ผู้ร่วมเสวนา
ดร.เมธินี ศรีวัฒนกุล
เลขานุการ
เครือข่ายเกษตรและอาหารปลอดภัย (GAP Net)
คุณสุรพล จารุพงศ์
ผู้บริหาร
ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน Smile Lemon
ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์
รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม
คณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง (รักษาการแทน)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คุณธนาภรณ์ โกราษฎร์
หัวหน้าทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล
กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
การลงทะเบียน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ลงทะเบียนออนไลน์ที่ >>>
– ผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้ว ให้ใส่ User Name และ Password และทำตามขั้นตอนใน website จนเสร็จสมบูรณ์
– สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่มี Username และ Password ต้องทำการลงทะเบียนก่อน ในช่อง New Registration และกรอก First name / Last name / E-mail Address แล้วกด submit จากนั้นกรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน และทำตามขั้นตอนใน website โดยเมื่อท่านลงทะเบียนสำเร็จสมบูรณ์จะมีอีเมล์แจ้งกลับไปหาท่าน
หมายเหตุ
– กรณีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการสัมมนา ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ โปรดแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: boonrkk@mtec.or.th ภายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจท่านอื่นต่อไป หากท่านไม่แจ้งยกเลิก ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 1,000 บาท
– กรณียกเลิกจัดการเสวนา ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดกิจกรรม โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้ลงทะเบียนทราบภายใน 1 สัปดาห์ก่อนการเสวนา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์/ คุณพลธร เวณุนันท์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675, 4677
E-mail : boonrkk@mtec.or.th