หลักสูตรอบรม
การวิเคราะห์หาสาเหตุและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง(NG) ของชิ้นงานหล่อ
ในกระบวนการหล่อความดันสูง
(Analysis of High Pressure Die Casting Defects)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
วันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2567 เวลา 9:00-16:00 น.
ณ ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
(ดูแผนที่) (Linkพิกัดนำทาง)
หลักการและเหตุผล
กระบวนการหล่อความดันสูงที่มีประสิทธิภาพการผลิตที่ดีนั้น จะต้อง (1)ใช้เวลาในการเตรียมการเพื่อผลิตสั้นที่สุด(ออกแบบ/ผลิตแม่พิมพ์, การทดสอบการฉีด) และ (2)สามารถผลิตชิ้นงานหล่อได้อย่างต่อเนื่องและมีของเสียอยู่ภายในค่าขอบเขตที่กำหนดในกระบวนการผลิตต่อเนื่อง (Mass production) เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ในขั้นตอนการออกแบบกระบวนการผลิต [Process design, ครอบคลุมทั้งการออกแบบแม่พิมพ์และกำหนดค่าสภาวะในการผลิต] ผู้ออกแบบ จะต้องออกแบบและกำหนดค่าตัวแปรให้สอดคล้องกับคุณภาพและรูปร่างของชิ้นงานหล่อ ในขั้นตอนการผลิต ผู้ควบคุม/ติดตามการผลิต, ผู้ทำการผลิต จะต้องควบคุมตัวแปรกระบวนการผลิตให้อยู่ภายในขอบเขตค่าควบคุม ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตจำเป็นที่จะต้องทราบว่า (1) มีตัวแปรสำคัญของการออกแบบแม่พิมพ์และค่าสภาวะในการหล่ออะไรบ้างที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงาน (2) ตัวแปรแต่ละตัวมีผลกระทบหลักต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อในด้านใดบ้างและมีผลกระทบข้างเคียงกับคุณภาพชิ้นงานหล่อในด้านอื่นๆใดบ้าง และ (3) หลักการกำหนดค่าตัวแปรให้สอดคล้องกับคุณภาพชิ้นงานที่ต้องการ โดยหลักสูตรอบรมนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในกระบวนการหล่อความดันสูงกับคุณภาพชิ้นงานหล่อ
2.เพื่อพัฒนาทักษะในการกำหนดค่าสภาวะในการหล่อให้สอดคล้องกับคุณภาพของชิ้นงานหล่อที่ต้องการในขั้นตอนการทดสอบการฉีด (Casting Trial)
3.เพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง(Root cause)ของปัญหาข้อบกพร่องและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสาเหตุหลักของปัญหาที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาข้อบกพร่องอื่นทดแทนปัญหาเดิม
4.เพื่อแสดงแนวทางในการกำหนดสภาวะการผลิตที่เหมาะสม (Process Optimization) สำหรับกระบวนการหล่อความดันสูงให้สอดคล้องกับ คุณภาพ ต้นทุนและเวลาส่งมอบชิ้นงานหล่อ
กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้ทำงาน/มีประสบการณ์การทำงานในกระบวนการหล่อความดันสูงไม่ต่ำกว่า 1 ปีหรือมีพื้นฐานทักษะ/ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวแปรในกระบวนการหล่อความดันสูง
2. ผู้มีประสบการณ์ในการทดสอบการฉีด (Trial) / การควบคุมกระบวนการฉีด หรือแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น / การควบคุมคุณภาพชิ้นงาน ในกระบวนการหล่อความดันสูงขั้นพื้นฐาน
3. มีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมจำลองการหล่อ
รายละเอียดเนื้อหาการบรรยาย
เนื้อหาของการอบรมจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักประกอบด้วย
• ความสัมพันธ์รหว่างตัวแปรในกระบวนการหล่อความดันสูงที่มีผลต่อ คุณภาพ / ต้นทุน / และเวลาในการผลิต
• แนวทางการปฎิบัติการทดสอบการฉีด (Casting Trial )
• หลักปฎิบัติในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาข้อบกพร่องและกำหนดแนวทางการแก้ไขที่สอดคล้องกับสาเหตุหลักของปัญหาข้อบกพร่อง
• แนวทางการกำหนดสภาวะการผลิตที่เหมาะสม (Process Optimization) สำหรับกระบวนการหล่อความดันสูงให้สอดคล้องกับ คุณภาพ ต้นทุนและเวลาส่งมอบชิ้นงานหล่อ
โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในกระบวนการหล่อความดัสูงที่มีผลต่อ คุณภาพ / ต้นทุน / และ เวลาในการผลิต
เนื้อหาหลักของการบรรยายในส่วนแรกนี้มุ่งสร้างความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชิ้นงานหล่อกับตัวแปรของแม่พิมพ์และค่าสภาวะการหล่อ โดยทักษะและความรู้ในส่วนนี้จะนำไปประยุกต์ใช้ในการบรรยายในส่วนที่ 2-4 โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยดังต่อไปนี้
1.1. คุณลักษณะเฉพาะของกระบวนการหล่อความดันสูง
1.2. ระดับคุณภาพของชิ้นงานในกระบวนการหล่อความดันสูง
1.3. พฤติกรรมทางกายภาพในกระบวนการหล่อที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อ
1.4. ตัวแปรในกระบวนการหล่อความดันสูง
1.5. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชิ้นงานและตัวแปรในกระบวนการหล่อความดันสูง
1.6. ทักษะการใช้ผลการคำนวณจากโปรแกรมจำลองการหล่อในการ
1.6.1. อธิบายพฤติกรรมทางกายภาพในกระบวนการหล่อที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อ
1.6.2. ประเมินอิทธิพลของตัวแปรที่มีต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อ
2. แนวทางการปฎิบัติการทดสอบการฉีด (Casting Trial )
เพื่อลดเวลาในการทดสอบการฉีดและทำให้สามารถนำแม่พิมพ์เข้าสู่การผลิตได้เร็วที่สุด ผู้ที่ทำหน้าที่ทดสอบการฉีดจะต้องทำการวางแผนและเก็บรวบรวมข้อมูลการทดสอบการฉีดอย่างเป็นระบบ ข้อมูลการทดสอบการฉีดที่ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบนี้ สามารถนำไปใช้ใน (1)การวิเคราะห์สาเหตุและแก้ไขปัญหา NG (2)กำหนดค่าขอบเขตการควบคุมของตัวแปรในกระบวนการหล่อ และ (3) ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการออกแบบชิ้นงานที่มีรูปร่างและหรือคุณภาพที่คล้ายคลึงกัน การบรรยายในส่วยนี้จะครอบคลุมรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.1. การวางแผนการ Trial และ จุดประสงค์ของการ Trial แต่ละครั้ง
2.2. แนวคิดในการออกแบบแม่พิมพ์ (Die design concept) โดยอ้างอิงจากคุณภาพชิ้นงานหล่อที่ต้องการ และการกำหนดค่าตัวแปรในการออกแบบแม่พิมพ์และตัวแปรสภาวะการฉีด
2.2.1. คุณภาพชิ้นงานหล่อกับแนวคิดการออกแบบกระบวนการฉีดและแม่พิมพ์
2.2.2. การกำหนดค่าเริ่มต้นสภาวะการฉีดในขั้นตอนการออกแบบแม่พิมพ์
2.3. การวางแผนการทดสอบการฉีด และการเก็บข้อมูลการทดสอบการฉีด
2.3.1. หลักการกำหนดค่า Condition ในการฉีดโดยอ้างอิงจากคุณภาพชิ้นงานหล่อ
2.3.2. การคำนวณหาค่าสภาวะในการฉีด
2.4. การแบ่งปันข้อมูลการทดสอบการฉีดระหว่างผู้ทดสอบการฉีด ผู้ออกแบบแม่พิมพ์ และ ผู้ทำการผลิต/ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตต่อเนื่อง(Mass Production)
2.4.1. การบันทึกข้อมูลการทดสอบการฉีด
2.4.2. การประเมินผลการทดสอบการฉีดจริงเปรียบเทียบกับค่าเริ่มต้นสภาวะการฉีดในขั้นตอนการออกแบบแม่พิมพ์
3. การวิเคราะห์สาเหตุปัญหาข้อบกพร่องและกำหนดแนวทางการแก้ไขที่สอดคล้องกับสาเหตุหลักของปัญหาข้อบกพร่อง
การบรรยายในส่วนนี้จะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดข้อบกพร่องและการกำหนดแนวทางการแก้ไข โดยมีรายละเอียดแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน
3.1. ข้อบกพร่องของชิ้นงานหล่อที่พบในกระบวนการหล่อความดันสูง
3.1.1. ชนิดข้อบกพร่องในกระบวนการหล่อความดันสูงและ กลไกการเกิดปัญหาข้อบกพร่องแต่ละชนิด
3.1.2. การบ่งชี้ชนิดของข้อบกพร่องและ เทคนิคการตรวจสอบเพื่อยืนยัน
3.1.3. หลักการพื้นฐานในการแก้ไขปัญหา NG แต่ละชนิด
3.2. การเก็บรวบรวมข้อมูลปัญหา NG การนำเสนอและรายงานปัญหาข้อบกพร่อง หรือ NG ของชิ้นงานที่ต้องการทำการแก้ไข
3.3. การตั้งสมมุติฐานสาเหตุของปัญหาข้อบกพร่องจากลักษณะทางกายภาพของ NG ที่ตรวจพบบนชิ้นงาน
3.4. การใช้ Visual Inspection/ ผลคำนวณจากโปรแกรมจำลองการหล่อ/ การทดสอบทางโลหะวิทยา เพื่อตรวจสอบสมมุติฐานของสาเหตุของปัญหาข้อบกพร่อง
3.5. การกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่เป็นไปได้
3.6. การทดสอบ / การประเมิน แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยใช้ผลคำนวณจากโปแกรมจำลองการหล่อ
3.7. การทดสอบและการประเมินผลการแก้ไขปัญหา
4. แนวทางการกำหนดสภาวะการผลิตที่เหมาะสม (Process Optimization) สำหรับกระบวนการหล่อความดันสูงให้สอดคล้องกับ คุณภาพ ต้นทุนและเวลาส่งมอบชิ้นงานหล่อ
นอกเหนือจากการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องของชิ้นงานหล่อแล้ว การวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรในกระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้รู้ถึงขอบเขตของค่าตัวแปรในกระบวนการผลิตที่ยอมรับได้ และนำมากำหนดเป็นสภาวะการผลิตที่เหมาะสมสำหรับชิ้นงานแต่ละชิ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการ (1) ลดต้นทุนในการผลิต (2) การควบคุมกระบวนการผลิตให้มีความเสถียรมากขึ้น หรือ (3) ลดเวลาในการออกแบบกระบวนการผลิตและหรือแม่พิมพ์
4.1. แนวทางการกำหนดสภาวะการผลิตที่เหมาะสมของชิ้นงาน
4.2. การประเมินความเป็นไปได้ในการลดต้นทุนการผลิตโดยพิจารณาจากค่าขอบเขตของตัวแปรในกระบวนการผลิต
4.3. แนวคิดการออกแบบแม่พิมพ์ (Die Design concept) สำหรับชิ้นงานหล่อประเภทเดียวกันที่มีรูปร่างและคุณภาพคล้ายคลึงกัน
4.4. การเพิ่ม Yield ในกระบวนการผลิต
กำหนดการและรายละเอียดหัวข้ออบรม
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567
8.30 น. – 9.00 น. ลงทะเบียน
9.00 น. – 10.30 น. ส่วนที่ 1: หัวข้อ 1.1 – 1.2
10.30น. – 10.45 น. Coffee Break
10.45 น. – 12.00 น. ส่วนที่ 1: หัวข้อ 1.3 – 1.4
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.30 น. ส่วนที่ 1: หัวข้อ 1.4 -1.5
14.30 น. – 14.45 น. Coffee Break
14.45 น. – 16.30 น. ส่วนที่ 1: หัวข้อ1.5 -1.6
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567
9.00 น. – 10.30 น. ส่วนที่ 2: หัวข้อ 2.1 -2.2
10.30น. – 10.45 น. Coffee Break
10.45 น. – 12.00 น. ส่วนที่ 2: หัวข้อ 2.2 -2.3
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.30 น. ส่วนที่ 2: หัวข้อ 2.3-2.4
14.30 น. – 14.45 น. Coffee Break
14.45 น. – 16.30 น. ส่วนที่ 3: หัวข้อ 3.1 -3.2
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2567
9.00 น. – 10.30 น. ส่วนที่ 3: หัวข้อ 3.3 -3.5
10.30น. – 10.45 น. Coffee Break
10.45 น. – 12.00 น. ส่วนที่ 3: หัวข้อ3.5 -3.7
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.30 น. ส่วนที่ 4: หัวข้อ 4.1 -4.2
14.30 น. – 14.45 น. Coffee Break
14.45 น. – 16.30 น. ส่วนที่ 4: หัวข้อ 4.3-4.4
วิทยากร
ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี
ทางด้านงานวิจัยและพัฒนา รวมถึงงานให้บริการทางด้านเทคนิค
การให้คำปรึกษา ทางด้านเทคโนโลยีการหล่อโลหะ
จำนวนหลายโครงการในหลายบริษัทฯ
ดร.พงษ์ศักดิ์ ดุลยประพันธ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง
อดีตนักวิจัยด้านเทคโนโลยีการหล่อโลหะ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
คุณ เอกชัย กิติแก้วทวีเสริฐ
วิศวกร ทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตอะลูมิเนียม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
รายละเอียดการลงทะเบียน
ราคาค่าลงทะเบียนแบ่งตามประเภทผู้เข้าอบรม ดังนี้
บุคคลทั่วไป/เอกชน ราคาจ่ายสุทธิรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว 10,165 บาท/ท่าน
ข้าราชการ/พนักงานองค์กรของรัฐ ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จ่ายสุทธิ 9,500 บาท/ท่าน
ลงทะเบียนผ่าน Google form ที่ >>> https://forms.gle/upPPSD3cf5bbsaVG7
หมายเหตุ
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
– มีเอกสารประกอบการอบรม อาหารว่างและอาหารกลางวัน ให้กับผู้เข้ารับการอบรม
– รับจำนวนจำกัดเฉพาะ On-site เพียง 20 ท่านเท่านั้น
กรณีที่ทางศูนย์ฯ ขอยกเลิกการจัดอบรม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการจัดอบรม อันเนื่องจากมีจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าอบรมจำนวนน้อยเกินไปหรือมีเหตุฉุกเฉินอื่นที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ โดยไม่ต้องชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้สมัครในทุกกรณี
อย่างไรก็ตามผู้สมัครจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนสำหรับค่าอบรมที่ได้ชำระไว้ล่วงหน้า
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**
**โปรดดำเนินการชำระค่าลงทะเบียนภายใน วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2567 หากท่านไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด ศูนย์ฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการสำรองที่นั่งอบรมของท่าน**
การชำระค่าลงทะเบียน
ทำเช็คสั่งจ่าย/ โอนเงินเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์
สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
(กรุณาส่งหลักฐานการฝากเช็ค/ โอนเงินเข้าบัญชีมาทางอีเมล boonrkk@mtec.or.th)
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม
คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th
แนะนำที่พัก
บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สามารถเดินจากที่พักมาที่อาคารเอ็มเทคที่ตั้งอยู่ภายในอุทยานฯ ได้
ดูรายละเอียดที่พักได้ที่ https://www.nstda.or.th/ssh/service/meeting-and-room-service/#elementor-toc__heading-anchor-1
สอบถามรายละเอียด และติดต่อจองห้องพัก ได้ที่เบอร์ 0 2529 7100 ต่อ 0 หรือ 0 2564 7000 ต่อ 77000, 77997
อีเมลสำหรับจองห้องพัก : pr-ssh@nstda.or.th