การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
“เวทีวิจัยและนวัตกรรม ปลุกพลังสร้างอนาคตใหม่ให้อุตสาหกรรมยางไทย”
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ระหว่างเวลา 09.00 – 15.00 น.
ห้องประชุมพระพรหม (ชั้น 3) โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดี กรุงเทพมหานคร
——————————————–
หลักการและเหตุผล
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มุ่งมั่นในการนำองค์ความรู้ เครื่องมือ และความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาช่วยพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจและสังคม ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างภาคเอกชน หน่วยงานวิจัย และภาคประชาสังคม เพื่อก่อให้เกิดผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ สำหรับอุตสาหกรรมยางพารา ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย สวทช. โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) มีความพร้อมในการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการยางพาราเพื่อเพิ่มศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมยางพาราของไทยต้องเผชิญกับความท้าทายจากการแข่งขันที่รุนแรงจากกลุ่มประเทศ CLMV และจีน รวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้า การที่อุตสาหกรรมยังพึ่งพาเทคโนโลยีดั้งเดิมทำให้ต้องเผชิญอุปสรรคในการแข่งขันบนเวทีโลก
ด้วยเหตุนี้ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) และฝ่ายสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมภาคเอกชน (ITAP) จึงได้ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมยาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางแห่งประเทศไทย สมาคมยางพาราไทย สมาคมน้ำยางข้นไทย และผู้ประกอบการอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมยาง เช่น กลุ่ม RT86 เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “เวทีวิจัยและนวัตกรรม: ปลุกพลังสร้างอนาคตใหม่ให้อุตสาหกรรมยางไทย” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ รับโจทย์วิจัยจากผู้ประกอบการ และสร้างแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราของไทยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นการแก้ปัญหาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการในตลาดโลก
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยางพาราของไทย
2. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางพารา ให้แก่ ผู้ประกอบการ
3. เพื่อรับฟังความต้องการและโจทย์วิจัยจากผู้ประกอบการ เพื่อนำมาสร้างเป็นหัวข้อวิจัยเชิงลึกที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมได้อย่างชัดเจน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งทุนวิจัยและการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจากหน่วยงานต่าง ๆ
5. เพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพาราไทย
กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของ กลุ่มอุตสาหกรรมยาง
2. ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของ สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางแห่งประเทศไทย
3. ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของ สมาคมยางพาราไทย
4. ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของ สมาคมน้ำยางข้นไทย
5. ผู้ประกอบการอื่นในอุตสาหกรรมยาง เช่น กลุ่ม RT86
กำหนดการ
เวลา 09.00 – 09.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม รับรหัสเข้าร่วมงานและของที่ระลึก
เวลา 09.30 – 09.45 น. รศ.ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (ศว. สวทช.) กล่าวต้อนรับ
คุณนวพงศ์ สรโชติ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวเปิดงาน
เวลา 09.45 – 10.30 น. เสวนา หัวข้อ “การเตรียมความพร้อมและทางรอดของอุตสาหกรรมยางไทย”
– นางสาว อธิวีณ์ แดงกษิณฐ์ ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ กยท.
– ดร.นุจรินทร์ รามัญกุล ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม เอ็มเทค
– ผู้แทนจาก กระทรวงพาณิชย์
เวลา 10.30 – 10.45 น. เส้นทางยางสู่ Net-Zero ความท้าทายและโอกาสในอุตสาหกรรมยางที่ยั่งยืน
โดย ดร.พรพิมล บุญคุ้ม
สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS, เอ็มเทค)
เวลา 10.45 – 11.00 น. แนวโน้มเทคโนโลยียางในอนาคต
โดย นาย กร พรหมสาขา ณ สกลนคร
กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ (EDC, เอ็มเทค)
เวลา 11.100– 12.00 น. ผลงานวิจัยด้านยางที่พร้อมถ่ายทอด
โดย นักวิจัย กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง เอ็มเทค
และ กรอกแบบฟอร์มแสดงความต้องการรับการสนับสนุน
เวลา 12.00 – 13.00 น. เชิญรับประทานอาหารร่วมกัน
เวลา 13.00 – 13.30 น. แนะแนวทางการให้ทุนของ บพข.
โดย ผู้แทนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
เวลา 13.30 – 14.00 น. ปลดล็อคข้อจำกัดด้านนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมยางด้วยการสนับสนุนจาก ITAP
โดย นายนิติกร คำมะสอน ที่ปรึกษาเทคโนโลยี โปรแกรม ITAP สวทช.
เวลา 14.00 – 14.15 น. สรุปการสัมมนา และแนวทางการเตรียมพร้อมสำหรับก้าวต่อไป
โดย คุณนวพงศ์ สรโชติ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
และ ดร.ไพโรจน์ จิตรธรรม ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง เอ็มเทค
เวลา 14.15 – 14.45 น. เปิดบูธรับโจทย์วิจัย และให้คำปรึกษาเบื้องต้น โดย ITAP และทีมวิจัยกลุ่มยาง
เวลา 14.45 – 15.00 น. จับรางวัลให้กับผู้เข้าร่วมงาน (20 รางวัลจากสภาอุตสาหกรรม)
สแกน QRCODE เพื่อลงทะเบียน (ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ภายในงานท่านจะได้รับรายละเอียดและสิทธิ ดังนี้
1. การสนับสนุนทุนวิจัยจาก บพข. (เอกชนลงทุน in-cash 10% และ in-kind 10%)
2. แนวทางการสนับสนุนของโปรแกรม ITAP สวทช. (สนับสนุน 50% ของงบประมาณโครงการตามหลักเกณฑ์ สูงสุดไม่เกิน 4 แสนบาท/โครงการ)
3. ในงานสัมมนาฯ ผู้ประกอบการ SMEs สามารถแสดงเจตจำนงขอรับบริการของ ITAP ในด้าน การประเมินสาเหตุและระบุแหล่งปล่อยคาร์บอนพร้อมแนะแนวทางคำนวณโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตามหลักเกณฑ์ของ ITAP
หมายเหตุ
– กำหนดการอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
– กรณีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการสัมมนา ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ โปรดแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: kobkula@mtec.or.th ภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจท่านอื่นต่อไป หากท่านไม่แจ้งยกเลิก ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 1,000 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณกอบกุล อมรมงคล
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4676
E-mail : kobkula@mtec.or.th
คุณนันทินา มูลประสิทธิ์
โทรศัพท์ 092-363-6469
E-mail: nantinm@mtec.or.th