ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ พัฒนาและสร้างขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีวัสดุให้แก่ภาครัฐ
และภาคเอกชน โดยดำเนินการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนากำลังคน รวมถึง
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และ
พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศ
ผลงานแนะนำ
หน่วยวิจัย
เอ็มเทค สวทช. ร่วมจัดแสดงผลงานนวัตกรรมทันตกรรมระดับสากล ในงานประชุมรากเทียมนานาชาติ BIS 2024
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. นำเสนอผลงานเทคโนโลยีล้ำสมัยด้านทันตกรรมในงานประชุมรากเทียมนานาชาติ (Bangkok International Symposium of Implant Dentistry: BIS 2024) ภายใต้แนวคิด “Beyond the Comfort Zone” ระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2567 ณ Union Mall กรุงเทพฯ
เอ็มเทค สวทช. ร่วมจัดแสดงผลงานนวัตกรรมทันตกรรมระดับสากล ในงานประชุมรากเทียมนานาชาติ BIS 2024
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. นำเสนอผลงานเทคโนโลยีล้ำสมัยด้านทันตกรรมในงานประชุมรากเทียมนานาชาติ (Bangkok International Symposium of Implant Dentistry: BIS 2024) ภายใต้แนวคิด “Beyond the Comfort Zone” ระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2567 ณ Union Mall กรุงเทพฯ
เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับ CAD-IT Consultants (Asia) Pte Ltd จัดงานสัมมนา “Ansys Simulation Technology Spotlight on Industrial Equipment and Home Appliance”
ดร.สมบูรณ์ โอตรวรรณะ และดร.ยศกร ประทุมวัลย์ นักวิจัยทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (CAE Research Team) กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ(EDC) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นวิทยากรร่วมบรรยายงานสัมมนาหัวข้อ “Ansys Simulation Technology Spotlight on Industrial Equipment and Home Appliance
เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับ CSIRO และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดกิจกรรม Indo-Pacific Plastics Innovation Network (IPPIN) Demo Day – Thailand Chapter ต่อยอดความร่วมมือนวัตกรรมพลาสติกในลุ่มน้ำโขง ระหว่างไทยและออสเตรเลีย
รองศาสตราจารย์ ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) พร้อมด้วยทีมวิจัย เอ็มเทค นำโดย ดร.นุจรินทร์ รามัญกุล ผู้เชี่ยวชาญวิจัย กลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ดร.วิชชุดา เดาด์ ผอ. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ดร.อศิรา เฟื่องฟูชาติ รอง ผศว. และผู้แทนเอ็มเทค เข้าร่วมกิจกรรม Indo-Pacific Plastics Innovation Network (IPPIN) Demo Day – Thailand Chapter
เอ็มเทค สวทช. ต้อนรับคณะ กฟฝ. ประชุมความร่วมมือการวิจัยและพัฒนา พร้อมเยี่ยมชมนวัตกรรม
ฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ (อปน.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยคุณฐนดล สังข์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ พร้อมคณะผู้บริหารและทีมงานจำนวน 35 ท่าน ได้เข้าประชุมความร่วมมือการวิจัยและพัฒนา พร้อมเยี่ยมชมนวัตกรรม ร่วมกับ ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ รองผู้อำนวยกาศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. และทีมวิจัย
“สวทช. – สวรส. จัดสัมมนาเผยผลศึกษาการใช้นวัตกรรม AI ผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง”
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) พร้อมด้วย ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แถลงผลการศึกษาโครงการประยุกต์และทดสอบประสิทธิผลของระบบดูแลผู้อยู่อาศัย เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและปลอดภัยด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ การศึกษา “MTEC Well-living systems” นวัตกรรม AI ผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง พร้อมขยายผลต่อยอดรองรับสังคมสูงวัย โดยมีตัวแทนอาสาสมัครร่วมทดสอบการใช้ในโครงการร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใช้งานจริง
เอ็มเทค สวทช. ร่วมงาน EnwastExpo 2024 โชว์นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าของเสียอุตสาหกรรม
นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน EnwastExpo 2024 (Environmental & Waste Management Expo 2024) งานแสดงสินค้าบริการและสัมมนาด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการของเสีย ภายใต้แนวคิด ร่วมขับเคลื่อนสู่โลกที่ดีกว่า Episode 2: Future We Care จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2567 ณ อาคาร 5-6 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ซิลิโคนโพลิเมอร์กับการประยุกต์ใช้งานด้านพื้นผิววัสดุ
ซิลิโคนโพลิเมอร์จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มสารประกอบโพลิเมอร์ที่ได้รับความนิยมกว้างขวาง ไม่ว่าจะใช้เคลือบผิวในรูปของสี (paints) ผสมเป็นหมึก (inks) ทำเป็นสารชุบแข็ง (hardeners) ขึ้นรูปเป็นเนื้อฟิล์ม (films) หรือแผ่นโพลิเมอร์ (sheets)
สิ่งทออัจฉริยะต้านแบคทีเรียและนำไฟฟ้าซึ่งใช้ตรวจติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้
สิ่งทออัจฉริยะ (smart textiles) เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีหลายสาขามาพัฒนาให้สิ่งทอมีสมบัติพิเศษซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้สวมใส่ อย่างเช่น ผลงานของทีมวิจัยนานาชาติจากประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ที่นำสิ่งทอนำไฟฟ้าและมีสมบัติต้านแบคทีเรียไปประยุกต์ใช้เพื่อตรวจติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้
เปลี่ยนขยะพลาสติกไปเป็นส่วนผสมของยาด้วยเชื้อรา
พลาสติกเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีการคาดการณ์ว่าปี พ.ศ.2583 จะมีการผลิตพลาสติกทั่วโลกถึง 1.1 ล้านตันต่อปี วงจรสุดท้ายของผลิตภัณฑ์พลาสติกมักจบลงด้วยการฝังกลบหรือถูกทิ้งลงในมหาสมุทร ซึ่งเป็นการคุกคามระบบนิเวศวิทยาและแหล่งอาหารของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลาสติกที่ได้รับความนิยมอย่างโพลิเอทิลีนซึ่งเหนียวและทนทาน
‘Lookie Waste’ ลดขยะอาหารง่ายๆ ด้วยปลายนิ้ว
Lookie Waste สามารถประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์ในหน่วยเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2-eq) คาดการณ์ผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์เป็นจำนวนเงินที่ผู้บริโภคต้องสูญเสีย โดยคำนวณจากราคากลางของส่วนผสมในแต่ละเมนู และผลกระทบด้านสังคม
ลดขยะอาหาร = ลดโลกร้อน
การสูญเสียอาหาร (food loss) และขยะอาหาร (food waste) ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึงร้อยละ 8 (~4.4 GtCO2eq) ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด
‘ChemSHERPA’ เครื่องมือในสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัย
chemSHERPA เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการและสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาโดย JAMP (Joint Article Management Promotion-consortium) ได้รับการสนุนงบประมาณจากกระทรวง METI ประเทศญี่ปุ่น โดยเวอร์ชั่นล่าสุดคือ chemSHERPA (version V2R1)