ทีมวิจัยน้ำยางและวัสดุยาง อยู่ภายใต้กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ แนวทางหลักของทีมวิจัย ได้แก่
1. การวิจัยและพัฒนาเพื่อลดการใช้สารเคมีอันตรายในกระบวนการผลิตยางดิบ
2. การวิจัยและพัฒนาเพื่อลดการเกิดภูมิแพ้จากโปรตีนในผลิตภัณฑ์ยาง
3. การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตยางดิบและรักษาคุณภาพยางดิบให้คงที่
4. การวิจัยและพัฒนายางดิบให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการนำไปใช้งานในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
1. การพัฒนาสารกันบูดในน้ำยางสดและน้ำยางข้น ทดแทนการใช้แอมโมเนีย เตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ ซิงค์ออกไซด์ และโซเดียมซัลไฟต์ (ยากันกรอก)
2. การพัฒนาสารจับตัวน้ำยางสด ทดแทนการใช้กรด
3. การพัฒนาเทคนิคการลดปริมาณโปรตีนในน้ำยางสด น้ำยางข้น และผลิตภัณฑ์ยาง
4. การพัฒนากระบวนการผลิตยางดิบที่ควบคุมคุณภาพการผลิตให้สม่ำเสมอด้วยระบบเครื่องจักร และลดของเสียในกระบวนการผลิต
1. สารบีเทพ (BeTheEPS): สารยืดอายุน้ำยางสดเพื่อผลิตยางแผ่นดิบ/ยางแผ่นรมควัน
2. น้ำยางโลมาร์ (LOMAR): น้ำยางข้นชนิดแอมโมเนียต่ำมากสำหรับผสมกับแอสฟัลท์
3. น้ำยางพาราฟิต (ParaFIT): น้ำยางข้นชนิดแอมโมเนียต่ำมากสำหรับทำผลิตภัณฑ์โฟมยาง
- กระบวนการผลิตยางแผ่นจับตัวแบบใหม่ (KLEAN Process) : เครื่องผลิตยางแผ่นจับตัวแบบกึ่งอัตโนมัติด้วยการออกแบบเครื่องจักรกลและระบบเซนเซอร์ที่สามารถควบคุมการผลิตที่ดี ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ติดต่อกลุ่มวิจัย
ฉวีวรรณ คงแก้ว
นักวิจัยอาวุโส
อีเมล: chaveer@mtec.or.th