ที่มาของกิจกรรม
นอกจากการนำโพลิเมอร์มาใช้ผลิตเป็นของใช้และภาชนะพลาสติก ยาง และเส้นใยแล้ว โพลิเมอร์ยังถูกนำมาใช้ทำเป็นกาวได้อีกด้วย ในการทดลองนี้เราใช้กาวซึ่งเป็นโพลิเมอร์แบบเส้นตรงที่ละลายน้ำได้ มาทำการทดลองเพื่อให้เกิดพันธะเชื่อมขวางขึ้น เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างโพลิเมอร์แบบเส้นตรง และโพลิเมอร์แบบเชื่อมขวาง
วัตถุดิบและอุปกรณ์
- กาวสีขาว (ทำจาก poly (vinyl alcohol). PVAc) หรือกาวน้ำชนิดใส (ทำจาก poly (vinyl alcohol). PVOH 30 กรัม
- บอแรกซ์ (sodium borate) 2.5 กรัม
- น้ำอุ่น 30 มล.
- บีกเกอร์ ขนาด 250 มล. 3 ใบ
- บีเกอร์ ขนาด 50 มล. 1 ใบ
- สีผสมอาหาร
- แท่งแก้วคน
ขั้นตอนการทดลอง
- ขั้นตอนที่ 1 ละลายบอแรกซ์ 2.5 กรัม ด้วยน้ำอุ่น 10 มล. ในบีกเกอร์ ขนาด 50 มล.
- ขั้นตอนที่ 2 เทกาว 10 กรัม ลงในบีกเกอร์ ขนาด 250 มล. หยดสีผสมอาหาร 1 หยด คนให้เข้ากัน
- ขั้นตอนที่ 3 เติมน้ำ 10 มล. ลงในกาว คนให้เข้ากัน
- ขั้นตอนที่ 4 เทสารละลายบอแรกซ์ที่เตรียมไว้ลงในกาว พร้อมคน สังเกตความเปลี่ยนแปลง
- ขั้นตอนที่ 5 เติมน้ำ 10 มล. ลงในกาว คนให้เข้ากัน
- ขั้นตอนที่ 6 เอาของแข็งที่ได้มานวดประมาณ 3-5 นาที แล้วปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ทดสอบการกระเด้งบนพื้นโต๊ะที่สะอาด ทดลองดึงของแข็งที่ได้ออกเป็นเส้นยาว ๆ อย่างช้า ๆ เปรียบเทียบกับการดึงอย่างเร็ว
- ขั้นตอนที่ 7 ทำการทดลองซ้ำตั้งแต่ข้อ 1-5 แต่เปลี่ยนเป็นใช้สารละลายบอแรกซ์ที่เตรียมจากการละลายบอแรกซ์ 1 กรัม และบอแรกซ์ 4 กรัม ตามลำดับ เปรียบเทียบสมบัติของวัสดุที่เตรียมได้จากการทดลอง
คำเตือน :
- ไม่ควรกลืนผงบอแรกซ์ หรือหายใจเอาไอของสารบอแรกซ์เข้าไป
- สารละลายบอแรกซ์และ PVOH อาจทำให้ตาเกิดการระคายเคืองได้ จึงต้องระวังอย่าให้สารละลายเข้าตา
- โพลิเมอร์ที่เตรียมได้จะมีลักษณะเป็นเจลคล้ายเยลลี่ ควรเก็บไว้ในถุงติดป้ายบอกให้ชัดเจนว่า เป็นเจลจากกาว ห้ามรับประทาน
- ล้างมือหลังการทดลองทุกครั้ง
เนื้อหาวิชาการ : ดร. ธนาวดี ลี้จากภัย นักวิจัย งานทดสอบการย่อยสลายได้ทางชีวภาพของวัสดุ
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
นางสาวกอบกุล อมรมงคล และ นายอัครพล สร้อยสังวาลย์
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยี งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ
โทร: 02 564 6500 ต่อ 4676 หรือ 4679
อีเมล: kobkula@mtec.or.th หรือ akrapols@mtec.or.th