16-17 พฤษภาคม 2567
ศูนย์แสดงสินค้า ไบเทค บางนา
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรจัดหัวข้อเสวนาภายในงาน INTERMACH 2024 ภายใต้แนวคิด ” Bridging Manufacturing Solution Towards Net Zero Carbon” หรือ โซลูชั่นเพื่อการผลิตยกระดับสู่อุตสาหกรรมปลอดคาร์บอน เป็นเวทีเพื่อให้องค์ความรู้ ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนมุมมองร่วมกับผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญภาคอุตสาหกรรมไทย เตรียมพร้อมสู่การปฏิวัติสู่ยุคเศรษฐกิจ 5.0 รวมไปถึงการลดผลกระทบจากการผลิต และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจจากเอ็มเทค ประกอบด้วย
(16 พฤษภาคม 2567) เสวนาหัวข้อ “การเปลี่ยนผ่านดิจิทัลและการใช้ข้อมูลเพื่อการพัฒนาธุรกิจแข่งขันได้ที่ยั่งยืน” (Digital Transformation for Competitive Sustainability)
การเปลี่ยนผ่านดิจิทัล เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาในทุกอุตสาหกรรมและกิจกรรม ทั้งในภาคการผลิตและบริการ ทั้งในเชิงการรับรู้ในการดำเนินการที่หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรม 4.0 IoT, หรือ Big Data ซึ่งใน 2-3 ปีที่ผ่านมาการระบาดของโรค COVID-19 ทำให้อุตสาหกรรมเกิดแรงกดดันเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วด้วยกระบวนการ Disruption และด้วยวิถีการดำเนินไปของเครื่องมือทางดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พลวัตรของการทำธุรกิจผ่านช่องทางดิจิทัล การสนับสนุนเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงและเรียนรู้อย่างเท่าทั้น มีความจำเป็นเทียบเท่าการเข้าถึงของผู้ให้บริการเพื่อการพัฒนาและการแข่งขัน และยังสร้างโอกาสใหม่ให้ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยความท้าทายปัจจุบันคือการสร้างธุรกิจให้ยั่งยืน ซึ่งไม่ใช่เพียงในมุมสิ่งแวดล้อม แต่หมายถึงการมีความรับผิดรับชอบต่อสังคมที่โปร่งใสตรวจสอบได้
ซึ่งจัดร่วมกับโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่ากองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ สถาบันดิจิทัลและนวัตกรรมแห่งเอเชีย
โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่
Subsession 1: แนวปฏิบัติต่อความท้าทาย ด้านมาตรฐานและกฏหมายของไทยเรื่องความยั่งยืน
โดย คุณณัฐวีร์ พงศ์อาจารย์ Founder & CEO, Planet C ผู้เชี่ยวชาญด้านประสิทธิภาพพลังงาน และที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นต์องค์กร
การเก็บข้อมูลและบริหารด้วย Factory Information System โดยคุณคณพล วงศ์พิชญวิศาล
กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
กรณีศึกษา: การบริหารประสิทธิภาพด้วยระบบ ERP ในโรงงาน โดยคุณชาคร อัศววศิน
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลูกกลิ้งอุตสาหกรรมไทย จำกัด
ESG Data Platform โดยคุณธัญธิดา สาสุนทร ESG Provision Specialist, Convene ES
Subsession 2: การบริหารข้อมูลในธุรกิจสีเขียว Data Governance in Green Business
โดย อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยกุล ผู้ช่วยรองอธิการบดีสำนักดิจิทัลการศึกษาและบริการ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
การสร้างความยั่งยืนด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดความสูญเสียด้วย Data Analytic
โดย รศ.ดร.นระเกณฑ์ พุ่มชูศรี ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อุตสาหกรรม 4.0 บนความยั่งยืน โดย อาจารย์อุดม ลิ่วลมไพศาล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยไอโอที
และระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ง
ชาติ (เนคเทค)
การรับการสนับสนุนจาก BOI ในการเปลี่ยนผ่านความยั่งยืน โดย อาจารย์อุดม ลิ่วลมไพศาล
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
การบรรยายหัวข้อ “การจัดการอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนมาตรฐาน Eco Factory และ Circular Economy”
โดย รศ.ดร.โกวิท สุวรรณหงส์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
การบริหารจัดการตามมาตรฐาน Eco Factory และ Circular Economy ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนการสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่ลดลง เป็นแนวทางที่ภาคผู้ประกอบการจำเป็นต้องตระหนักและดำเนินการบนพื้นฐานความเข้าใจที่เหมาะสม อาทิ สถานการณ์การจัดการของเสียในภาคอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน แนวทางการดำเนินงานของอุตสาหกรรม ตามกรอบแนวทางการพัฒนาอย่างยั้งยืนด้วยมาตรฐาน Eco Factory & Eco Factory for Waste Processor และการเตรียมความพร้อมเพื่อมุ่งสู่การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ตลอดจนการยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ ECO ของผู้ประกอบการ ผ่านระบบ e-PP
จัดร่วมกับ โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่ากองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(17 พฤษภาคม 2567) การบรรยายหัวข้อ “แนวคิด Environmental Social Governance (ESG)”
โดย คุณภาสพล สาริมาน บริษัท พีอาร์อี ซัสเทนเอเบิ้ล คอนซัลแทนซี จำกัด
แนวคิด ESG หรือ Environmental, Social, Governance เป็นแนวคิดด้านความยั่งยืนซึ่งเกิดจากตลาดทุนและภาคธุรกิจ เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนที่ว่าด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรทาง ธรรมชาติ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างกลไกทางการเงินที่สร้างคุณค่าให้กับกิจกรรมด้านความยั่งยืนในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และอุตสาหกรรมการผลิต
จัดร่วมกับ โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่ากองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
การบรรยายหัวข้อ “Net Zero Roadmap” โดย คุณณัฐวีร์ พงศ์อาจารย์ บริษัท แพลนเน็ตซี จำกัด
ภาวะโลกร้อน การปลดปล่อยมลภาวะจากทุกกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่กำลังเข้าสู่วิกฤติ กระบวนการเรียนรู้ด้านผลกระทบจากกระบวนการผลิตและเคมีที่เกิดผลเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ด้วยการกำหนดเป็นข้อกฎหมาย หลักปฏิบัติที่เข้มงวดแล้วในหลายประเทศ ประเทศไทยยังอยู่ในช่วงการพัฒนาความพร้อมเพื่อตอบสนองข้อบังคับเหล่านี้ ภาคการผลิตและกิจกรรมต่าง ๆ
จัดร่วมกับโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม