ข่าวสารประชาสัมพันธ์

เอ็มเทค สวทช. ผนึก สถาบันวิจัยเทคนิครถไฟญี่ปุ่น จัดงาน RTRI-NSTDA Railway Technology Forum สร้างความร่วมมือการวิจัยเทคโนโลยีระบบราง

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยเทคนิครถไฟญี่ปุ่น (Railway Technical Research Institute: RTRI) ร่วมจัดงาน RTRI-NSTDA Railway Technology Forum เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยด้านระบบรางของไทยและญี่ปุ่น และสร้างความร่วมมือในงานวิจัยระหว่าง 2 หน่วยงาน

การประชุมวิชาการทางด้านการกัดกร่อนและการป้องกันแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 (The 4th Thailand Corrosion and Prevention Conference: TCPC2023)

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สมาคมการกัดกร่อนโลหะและวัสดุไทย และ CRRC Qingdao Sifang Co., Ltd. จัดการประชุมวิชาการทางด้านการกัดกร่อนและการป้องกันแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 หรือ TCPC2023 (The 4th Thailand Corrosion and Prevention Conference) ระหว่างวันที่ 8–10 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมอมารี พัทยา จังหวัดชลบุรี

เอ็มเทค สวทช. ร่วมเปิดห้องปฎิบัติการฯ ต้อนรับคณะบุคลากร วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. โดยมี นายเจษฎา จงสุขวรากุล นักวิเคราะห์อาวุโส กลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ สำนักงานกลาง ให้การต้อนรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เธียรสิน เลี่ยมสุวรรณ ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์และวิศวกรรมการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมทีมคณาจารย์และนักศึกษาเข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัย ออกแบบ พัฒนา และผลิตเครื่องมือแพทย์

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาพิเศษหัวข้อ “COMPUTER-AIDED ENGINEERING: A KEY WEAPON FOR BCG BATTLES”

ในรูปแบบใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย ที่เรียกว่า BCG Economy Model โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก “ทำมากแต่ได้น้อย” ไปสู่ “ทำน้อยแต่ได้มาก” เราสามารถเรียกได้ว่า เป็นระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาความรู้ การจัดการ เทคโนโลยีใหม่ๆ และปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว เทคโนโลยี CAE (Computer-Aided-Engineering) หรือ การจำลองทางวิศวกรรม ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในเสาหลักในงานวิทยาศาตร์และวิศวกรรมทั่วโลก ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้ นักออกแบบ วิศวกร และนักวิจัย สามารถสร้างแบบจำลองต้นแบบ (Virtual Prototype) และแบบจำลองการทดสอบ (Virtual Testing) ของผลิตภัณฑ์ และ/หรือ กระบวนการผลิต ด้วยเทคโนโลยี CAE จึงนับเป็นอาวุธ หรือเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG ในหลายๆแง่มุม

เอ็มเทค ต้อนรับ นักศึกษาโครงการ TAIST-Tokyo Tech เยี่ยมชมผลงาน กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ นำโดย ดร.สมพงษ์ ศรีมโนเสาวภาคย์ นักวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีกระบวนการผลิตวัสดุผง กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ เอ็มเทค ต้อนรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์และระบบขนส่งขั้นสูง (Automotive and Advanced Transportation Engineering:A2TE) โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 15 คน และร่วมบรรยายในหัวข้อ Aluminium foam for automotive applications, Particulate Materials พร้อมให้ความรู้ด้านการวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรของโครงการฯ

1 16 17 18 19 20 67