- เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 – 4 ที่สนใจด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้าร่วม RDC2021 เพื่อคัดเลือกนักศึกษาตัวแทนประเทศเข้าร่วม Cyber IDC 2021 กรอกใบสมัครได้ที่ Google form (ปิดรับสมัครวันที่ 9 ก.ค. 64)
- ประกาศผลการพิจารณาผลการสมัครในวันที่ 12 ก.ค. 64
- พิธีเปิดและให้โอวาทแก่นักศึกษา (วันจันทร์ที่12 ก.ค. 64 เวลา 09:00 – 10:00 น.)
- นักศึกษาที่ผ่านการพิจารณาจะได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการระหว่างวันที่ 12 – 22 ก.ค. 64 ในหัวข้อต่อไปนี้
– Mechanism Design for Robot: Gripper Design etc. (วันศุกร์ที่ 16 ก.ค. 64 เวลา 09:00 – 12:00 น. และ 19:00 – 21:00 น.)
– CAD (วันจันทร์ที่ 12 และพฤหัสฯ ที่ 15 ก.ค. 64 เวลา 19:00 – 22:00 น.)
– Mechatronics System Design ได้แก่ ภาพรวมและหลักการเบื้องต้นของหุ่นยนต์ (ประเภท/ส่วนประกอบที่สำคัญๆ) ระบบควบคุมหุ่นยนต์ (open loop / close loop control systems) (วันจันทร์ที่ 12 ก.ค. 64 เวลา 10:00 – 12:00 น. และวันพุธที่ 14 ก.ค. 64 เวลา 19:00 – 21:00 น.)
- เสวนาหัวข้อ “การทำงานเป็นทีมภายในระยะเวลา งบประมาณ และบุคลากรที่จำกัด ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน” (วันจันทร์ที่ 19 ก.ค. 64 เวลา 13:30 – 15:30 น.) [โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การเสวนา]
- แบ่งกลุ่มทำงานและประกาศโจทย์การแข่งขันในวันจันทร์ที่ 19 ก.ค. 64 เวลา 16:00 – 18:00 น. เพื่อให้นักศึกษาแต่ละทีมวางแผนและนำเสนอผ่านคลิปวีดีโอภายในวันที่ 23 ก.ค. 64 เพื่อให้คณะกรรมการฯ คัดเลือกนักศึกษาตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วม Cyber IDC2021 ต่อไป
นักศึกษาตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน IDC RoBoCon 2021 (Online)
นักศึกษาตัวแทนประเทศไทยที่ผ่านการคัดเลือกจากโครงการพัฒนาทักษะการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ ปี 2564 หรือ RDC ครั้งที่ 13 (The 13th Thailand Robot Design Camp: RDC 2021) จัดโดยเอ็มเทค สวทช. ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 12 – 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา จำนวน 11 คนจาก 8 สถาบันการศึกษา เข้าร่วมการแข่งขัน International Design Contest 2021 (IDC RoBoCon 2021)
IDC RoBoCon 2021 จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์โดยประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ หัวข้อการแข่งขัน “The Cyber World Star Hunting Swallow” ระหว่างวันที่ 2 – 7 สิงหาคม 2564 จัดโดย Tokyo Institute of Technology ประเทศญี่ปุ่น ในรูปแบบออนไลน์ มีนักศึกษาเข้าร่วมทั้งสิ้น จำนวน 76 คนจาก 8 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ บราซิล อินเดีย เม็กซิโก และไทย ผลการแข่งขันทีมชนะเลิศ ดังต่อไปนี้
- นายวรศักดิ์ ย่องลั่น นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ
- นายกนกพล รอดบุญ นักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ
- นางสาวอทิตยา พลตะกัม นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับรางวัลออกแบบยอดเยี่ยม
สำหรับเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน IDC RoBoCon ครั้งถัดไป คือ Tsinghua University ประเทศจีน