ประเภท: Poster
ผลงานที่ได้รับรางวัล: Pelletization of Iron Oxide Based Sorbents for Hydrogen Sulfide Removal
นักวิจัยเจ้าของผลงาน:
นายปฐมพงศ์ เจนไธสง
ห้องปฏิบัติการพลังงานทดแทน หน่วยวิจัยวัสดุสำหรับพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
นายวิเศษ ลายลักษณ์
ห้องปฏิบัติการวัสดุและงานระบบเพื่อใช้ประโยชน์ทางพลังงานไฟฟ้าเคมี หน่วยวิจัยวัสดุสำหรับพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
นายสมศักดิ์ สุภสิทธิ์มงคล
ห้องปฏิบัติการวัสดุและงานระบบเพื่อใช้ประโยชน์ทางพลังงานไฟฟ้าเคมี หน่วยวิจัยวัสดุสำหรับพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ชื่อรางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ: Best Poster Award in Materials for Energy
หน่วยงานที่ให้รางวัลและเกียรติยศ: National Metal and Materials Technology Center
พิธีมอบรางวัลและเกียรติยศ: The 9th International Conference on Materials Science and Technology
สถานที่จัด: Swissotel Le Concorde, Bangkok, Thailand วันที่: 14-15 December 2016
ที่มาและความสำคัญของรางวัลและเกียรติยศ
แก๊สชีวภาพเป็นพลังงานทางเลือกที่สามารถผลิตได้ด้วยการหมักของเสียจากการเกษตร ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานในหลากหลายทาง เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับให้ความร้อน ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตามแก๊สชีวภาพที่ผลิตได้มักจะมีแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) เป็นส่วนประกอบหนึ่งเสมอ ซึ่งแก๊สดังกล่าวเป็นมีฤทธิ์เป็นกรด ทำอันตรายต่อทั้งผู้ใช้งานและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งแก๊ส ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการกำจัดแก๊ส H2S ออกจากแก๊สชีวภาพด้วยการใช้ตัวดูดซับแก๊สที่ทำจากเหล็กออกไซด์ วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้แก๊สชีวภาพที่ความบริสุทธิ์สูงเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน
รายละเอียดโครงการ
ประสิทธิภาพในการดูดซับแก๊ส H2Sของเหล็กออกไซด์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย จากการทดสอบพบว่า ปัจจัยหลักของวัสดุที่เหมาะสมกับการดูดซับจำเป็นต้องมีพื้นที่ผิวและปริมาตรรูพรุนสูง เหล็กออกไซด์แบบ Fe3O4 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่สูงกว่ารูปแบบอื่นๆ และเพื่อให้ตัวดูดซับมีความเหมาะสมในการใช้งานในระดับภาคอุตสาหกรรม งานวิจัยนี้นำเสนอการขึ้นรูปตัวดูดซับให้มีลักษณะเป็นแท่งกลม ซึ่งนอกจากจะยังคงประสิทธิภาพที่ดีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวดูดซับอีกด้วย อย่างไรก็ตามปัจจัยในกระบวนการดูดซับเองก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดูดซับเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความสูงของเบด และอัตราการไหลของแก๊ส ซึ่งงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นแล้วว่า เหล็กออกไซด์เป็นตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพดีในการดูดซับแก๊ส H2S เมื่อใช้อุณหภูมิและอัตราการไหลของแก๊สแบบต่างๆ รวมถึงมีความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกด้วย