รางวัลและเกียรติยศ
ระดับนานาชาติ
ประเภท. Best Poster Presentation Award
ผลงานที่ได้รับรางวัล Cationic dye-modified SiO2 nanoparticles for developing latent fingerprints
นักวิจัยเจ้าของผลงาน:
1. ดร.ศุภวรรณ วิชพันธุ์
2. นางสาวสุทธิกานต์ ไชยกุล
3. ผศ.ดร. พ.ต.ท. ธิติ มหาเจริญ
4. นางสาวพนิดา วิมุกติวรรณ
5. ดร.ดวงเดือน อาจองค์
ชื่อรางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ: Best Poster Presentation Award
สาขา : Ceramic and Glass Technology
หน่วยงานที่ให้รางวัลและเกียรติยศ: The 2nd Materials Research Society of Thailand International Conference (MRS-Thailand 2019)
สถานที่ :โรงแรมเดอะซายน์พัทยา. ชลบุรี
วันที่ : วันที่ 10-12 กรกฎาคม 2562
งานนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ภายใต้ความร่วมมือของสมาคมวิจัยวัสดุแห่งประเทศไทย สถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัย เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นต้น เป็นงานประชุมวิชาการทางด้านวัสดุ ที่ครอบคลุมการวิจัยวัสดุทุกแขนง ได้แก่ : Solar PV, วัสดุเก็บพลังงานและวัสดุเกี่ยวกับพลังงาน, วัสดุ Graphene และ Carbon, Dielectrics, Piezoelectrics, Ferroelectrics, Thermoelectrics และตัวนำยิ่งยวด, วัสดุแม่เหล็กและการใช้งานวัสดุในการออกแบบการผลิตและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเซรามิกและแก้วโพลีเมอร์ / ยาง / พลาสติกชีวภาพ / คอลลอยด์และอิมัลชันวัสดุชีวภาพและการประยุกต์ใช้งานเซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิคส์และอิเล็กทรอนิคส์พิมพ์คอมโพสิตและวัสดุก่อสร้าง วิทยาศาสตร์วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นผิวเคมีตัวเร่งปฏิกิริยาและวัสดุสำหรับสิ่งแวดล้อมสีเขียว เครื่องมือวัดและการวิเคราะห์สมบัติของวัสดุขั้นสูงวิสาหกิจวัสดุและอุตสาหกรรมการไหลและวัสดุควอนตัมและเทคโนโลยี มีผลงานวิจัยเข้าร่วมมากกว่า 500 ผลงาน
ที่มาและความสำคัญของรางวัลและเกียรติยศ
ในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ อนุภาคนาโนได้ถูกนำมาใช้ในงานวิจัยด้านการตรวจเก็บลายนิ้วมือ เนื่องจากอนุภาคนาโนมีขนาดเล็ก มีความสามารถในการเพิ่มหมู่ฟังก์ชั่นบริเวณพื้นผิวอนุภาค และมีสมบัติด้านการเรืองแสงทำให้เพิ่มความไว ความคมชัด และทำให้เกิดภาพลายนิ้วมือได้อย่างชัดเจน โดยทั่วไปแล้วอนุภาคนาโนที่นำมาใช้ในการตรวจหาลายนิ้วมือแฝงมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่ กลุ่มโลหะ โลหะออกไซด์และเซมิคอนดักเตอร์ โดยพบว่าในปัจจุบันอนุภาคซิลิกานาโนได้ถูกนำมาศึกษาเพื่อใช้เป็นอนุภาคนาโนเพื่อการตรวจเก็บลายนิ้วมือ เนื่องจากอนุภาคซิลิกานาโนมีความสามารถในการยึดเกาะกับลายนิ้วมือเป็นอย่างดี และยังสามารถเติมสารเรืองแสงเข้าใปในอนุภาคได้ค่อนข้างง่ายเนื่องจากมีโครงสร้างเป็นรูพรุน อีกทั้งพื้นผิวของอนุภาคซิลิกานาโนยังสามารถดัดแปลงโดยการเพิ่มหมู่ฟังก์ชั่นบนพื้นผิวอนุภาคเพื่อเพิ่มแรงในการยึดเกาะระหว่างอนุภาคและลายนิ้วมือ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอนุภาคซิลิกานาโนสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจหาลายนิ้วมือแฝงได้ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิลิกอนไดออกไซด์โดยใช้กระบวนการโซล-เจล รวมถึงศึกษาการดัดแปลงพื้นผิวของอนุภาคนาโนซิลิกา และการใช้สารสีย้อมเรืองแสงเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจหาลายนิ้วมือแฝง
รายละเอียดโครงการ/ผลงานที่ได้รับรางวัลและเกียรติยศ
งานวิจัยนี้เป็นศึกษาการสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิลิกอนไดออกไซด์โดยใช้กระบวนการโซล-เจล รวมถึงศึกษาการดัดแปลงพื้นผิวของอนุภาคนาโนซิลิกา และการใช้สารสีย้อมเรืองแสงในขั้นตอนเดียวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการการตรวจหาลายนิ้วมือแฝง หลังจากการสังเคราะห์พบว่าอนุภาคที่เตรียมได้จะมีขนาดอนุภาคเฉลี่ยเท่ากับ 82.7 นาโนเมตร หลังจากนั้นได้มีการใช้อนุภาคนาโนซิลิกอนไดออกไซด์ที่ผ่านการดัดแปลงและย้อมสารเรืองแสงมาตรวจหาคุณภาพลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิววัสดุที่แตกต่างกัน 4 กลุ่มชนิด ได้แก่ พลาสติก เทปกาว โต๊ะไม้เฟอร์นิเจอร์ และ พื้นผิวไม่มีรูพรุน พบว่าผงอนุภาคนาโนซิลิกอนไดออกไซด์ที่ได้มีประสิทธิภาพในการตรวจหาลายนิ้วมือแฝงในทุกพื้นผิว จากผลการทดลองสรุปได้ว่าอนุภาคนาโนซิลิกอนไดออกไซด์ที่ได้พัฒนาในงานวิจัยนี้มี ความสามารถในการเลือก (ความสามารถในการยึดเกาะของเฟสอินทรีย์บนลายนิ้วมือ) และทำให้เกิดความคมชัดของลายนิ้วมือ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถนำอนุภาคนาโนซิลิกอนไดออกไซด์ที่เตรียมได้ไปประยุกต์ใช้ในการตรวจหาลายนิ้วมือแฝงต่อไป