การได้รับเลือกเป็น Steering Committee ของ Life Cycle Initiative (UN environment)
นักวิจัย:
จิตติ มังคละศิริ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ:
สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.)
หน่วยงานที่คัดเลือก:
UN environment
ที่ตั้งหน่วยงาน:
UN environment (Economy Division) Paris, France
เมื่อวันที่:
6 ตุลาคม 2564
ที่มาและความสำคัญ
สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ได้รับการประกาศจากองค์การสหประชาชาติ United Nations (UN) เลือกให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ของคณะกรรมการที่มาจากหน่วยงานภาครัฐ ร่วมกับ คณะกรรมาธิการยุโรป และ สหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย และเป็นประเทศแรกของเอเชียที่ได้รับการคัดเลือก ตั้งแต่กลุ่มสมาชิก UN มีการจัดตั้งคณะกรรมการ Life Cycle Initiative (ริเริ่มในปี พ.ศ. 2560)
โดย สวทช. ในฐานะที่เป็นตัวแทนประเทศไทยมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามภารกิจของคณะกรรมการฯ นี้ อาทิ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อริเริ่มโครงการใหม่ๆ การจัดสรรทรัพยากร การรับรองโครงการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ การสร้างความเข้าใจแก่ภาครัฐและเอกชนเพื่อการใช้แนวคิดและกลยุทธ์ของ Life Cycle ให้สามารถนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจในมิติต่างๆรวมทั้ง สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ ทั้งนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้แสดงศักยภาพ และผลงานด้านความยั่งยืนในมิติต่างๆ ของไทยสู่ระดับสากล รวมถึงการได้ร่วมพิจารณานโยบายที่สำคัญระดับนานาชาติ นอกจากนี้ยังเกิดเครือข่ายและพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ และเป็นเวทีที่จะนำนโยบายและผลงานทางด้าน BCG Economy Model ของรัฐบาลไป สู่ระดับสากล “รู้สึกยินดีและภาคภูมิใจที่กลุ่มสมาชิก UN ได้พิจารณาและคัดเลือกให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ Life Cycle Initiative เป็นครั้งแรก และได้รับการเลือกตั้งเป็น 1 ใน 3 คณะกรรมการของหน่วยงานภาครัฐร่วมกับทางคณะกรรมาธิการยุโรป และ สหรัฐอเมริกา”
รายละเอียด
หลังจากนี้ จะมีการประชุมในคณะกรรมการฯ ทางช่องทางออนไลน์ต่อไปโดยเริ่มตั้งเดือนพฤศจิกายน 2564 ซึ่งการเป็นคณะกรรมการฯ ดังกล่าวจะอยู่ในวาระ 3 ปี โดย สวทช. จะใช้ความเชี่ยวชาญด้านวิชาการในการรับทราบข้อมูลและมาตรการต่างๆ ในเวทีโลก โดยเฉพาะมิติการสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันของไทยในเวทีโลก นอกจากนั้นแล้ว ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา สวทช. ได้ยกระดับคุณภาพข้อมูลสินค้าและบริการของไทย อาทิ สินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ให้ที่มีความน่าเชื่อถือมาโดยตลอด โดยข้อมูลเหล่านี้มีการรวบรวมจัดเก็บจากหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดย สวทช. เป็นศูนย์กลางด้านข้อมูล Life Cycle เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ตามที่องค์การสหประชาชาติ ดำเนินการแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข เพื่อเสริมแนวคิด “ไม่เป็นการทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ถือว่าสอดคล้องกับแนวนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bioeconomy-เศรษฐกิจชีวภาพ Circular economy-เศรษฐกิจหมุนเวียน และ Green economy-เศรษฐกิจสีเขียว) ที่รัฐบาลไทยประกาศเป็นวาระแห่งชาติ (พ.ศ. 2564-2570) ดังนั้นจึงถือเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะได้สื่อสารโมเดลเศรษฐกิจ BCG ให้เวทีนานาชาติได้รับทราบ รวมถึง เป็นตัวแทนของเอเชียแปซิฟิค เพื่อสื่อสารเรื่องราวที่น่าสนใจของภูมิภาค ต่อไ
กรอบการทำงานของสหประชาชาติด้าน Life Cycle Initiative โดยมี Steering Committee เป็นฟันเฟืองสำคัญ
รายชื่อ Steering Committee ประจำปี 2021-2022