Circular Economy

เม็ดวัสดุมวลเบาสังเคราะห์ G-Rock

ที่มา วัสดุเม็ดมวลเบาสังเคราะห์ “G-Rock” หรือหินเบา เป็นผลงานของทีมวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ทีมวิจัยได้พัฒนาสูตรส่วนผสมและกระบวนการผลิตโดยการนำวัสดุเหลือทิ้งจากแหล่งอุตสาหกรรมต่างๆ ภายในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การเลือกวัตถุดิบจะพิจารณาจากองค์ประกอบทางเคมีเป็นหลัก และนำมาผ่านกรรมวิธีและกระบวนการผลิตทางด้านเซรามิก ได้แก่ กระบวนการขึ้นรูปและกระบวนการเผาอบผนึกที่อุณหภูมิสูง เพื่อให้ได้เม็ดวัสดุที่มีน้ำหนักเบา มีความเป็นฉนวนความร้อนสูง และมีความแข็งแรงที่ดี ปัจจุบันทีมวิจัยได้พัฒนาต่อยอดวัสดุเม็ดมวลเบาสังเคราะห์ “G-Rock” โดยนำมาใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้าง เพื่อแก้ปัญหาความร้อนสะสมในอาคาร รวมทั้งปัญหาเรื่องน้ำหนักของชิ้นส่วนอาคารและค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและการติดตั้ง เช่น แผ่นผนังและพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป เป็นต้น การใช้วัสดุเม็ดมวลรวมเบาสังเคราะห์แทนหินจากธรรมชาติจะช่วยปรับปรุงสมบัติของคอนกรีตมวลเบาให้มีความเป็นฉนวนความร้อนที่ดียิ่งขึ้น และมีน้ำหนักลดลงมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังคงมีความแข็งแรงเทียบเท่าคอนกรีตทั่วไป เป้าหมาย เพื่อนำวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมในประเทศมาใช้ประโยชน์ โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบวัสดุเม็ดมวลเบาสังเคราะห์ “G-Rock” ในระดับอุตสาหกรรมที่ใช้งานง่าย สะดวก และรวดเร็ว วัสดุนี้ใช้ผสมในงานคอนกรีตช่วยให้คอนกรีตมีสมบัติที่ดีขึ้น เช่น น้ำหนักลดลง มีความเป็นฉนวนเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนการก่อสร้าง และยังคงความแข็งแรงเทียบเท่าคอนกรีตทั่วไป รวมถึงนำไปประยุกต์ใช้ในงานขึ้นรูปชิ้นส่วนคอนกรีตได้หลากหลายรูปแบบ ทีมวิจัยทำอย่างไร ร่วมกับภาคเอกชนออกแบบและพัฒนาสูตรส่วนผสมในกระบวนการผลิตระดับอุตสาหกรรม โดยใช้วัตถุดิบที่หาง่ายและราคาถูกจากภายในประเทศ โดยเฉพาะวัสดุที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ขี้เถ้าจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงชีวมวล และตะกอนจากโรงบำบัดน้ำทิ้ง เป็นต้น จุดเด่นของผลงาน มีความหนาแน่นต่ำ ทำให้คอนกรีตที่ผสมเม็ดมวลเบาสังเคราะห์มีน้ำหนักโดยรวมลดลงถึงร้อยละ 20-30  ในขณะที่ยังคงความแข็งแรงเทียบเท่าคอนกรีตโดยทั่วไป […]

โครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

ทั่วโลกให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดให้น้อยที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุด รักษาคุณค่าของทรัพยากรในระบบและหมุนเวียนใช้ให้นานที่สุด และลดการปลดปล่อยของเสียออกจากระบบให้น้อยที่สุด เพื่อบรรลุการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การจะขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนได้นั้น หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือ “การออกแบบตั้งแต่ต้นทาง” ที่ครอบคลุมการออกแบบผลิตภัณฑ์ (รวมถึงบรรจุภัณฑ์) กระบวนการผลิต การเลือกใช้วัตถุดิบ การใช้งาน (รวมถึงการซ่อมแซมและยืดอายุการใช้งาน) และการจัดการเมื่อสิ้นอายุการใช้งานหรือไม่ใช้แล้ว (การนำกลับมาใช้ซ้ำ การรีไซเคิล และการจัดการเศษซากผลิตภัณฑ์) เพื่อให้การขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการพัฒนาประเทศ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้การสนับสนุนจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ในการดำเนิน “โครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมให้สามารถประยุกต์หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการออกแบบ การดำเนินโครงการได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน รับสมัครและคัดเลือกสถานประกอบการ ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (รวมถึงบรรจุภัณฑ์) กระบวนการผลิต การเลือกใช้วัตถุดิบ การใช้งาน และการจัดการเมื่อสิ้นอายุการใช้งานหรือไม่ใช้แล้ว รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตต้นแบบที่ได้ออกแบบตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ประกอบการนำไปประยุกต์ใช้ ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ผลสำเร็จของการประยุกต์ใช้แนวทางการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ สถานประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการในซีซัน (season) นี้ ได้แก่ 1. […]

การจัดทำทำเนียบสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POPs Inventory) ของประเทศ ฉบับที่ 2

การจัดทำทำเนียบสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POPs Inventory) ของประเทศ ฉบับที่ 2 และ (ร่าง) แผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ฉบับที่ 2 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและผู้ดำเนินการหลักผ่านการดำเนินโครงการ “Enabling Activities to Review and Update the National Implementation Plan for the Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants (POPs) in Thailand” โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) การจัดทำทำเนียบสาร POPs ทีมวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกันดำเนินการ โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ (NGO) ในประเทศ เพื่อพัฒนาแผนการจัดการสาร POPs ของประเทศ โดยได้มีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสาร POPs การเสริมสร้างความตระหนักถึงสภาพปัญหาและสถานะการจัดการของประเทศ การประเมินขีดความสามารถและการจัดลำดับความสำคัญในการจัดการสาร […]

วัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรม

วัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรม ที่มา จีโอโพลีเมอร์ (Geopolymer) ได้รับความสนใจ เนื่องจากมีสมบัติคล้ายกับเซรามิกทั่วไป แต่การขึ้นรูปสามารถทำได้ที่อุณหภูมิห้องโดยกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน จึงใช้พลังงานในการผลิตต่ำกว่าการผลิตเซรามิกโดยทั่วไป อีกทั้งสามารถใช้วัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเป็นวัตถุดิบได้อีกด้วย เป้าหมาย ทีมวิจัยเอ็มเทคนำโดย ดร.อนุชา วรรณก้อน ได้วิจัยและพัฒนาจีโอโพลิเมอร์จากวัสดุเหลือทิ้ง เพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนเซรามิก ทีมวิจัยทำอย่างไร • วิเคราะห์องค์ประกอบของของเสียจากอุตสาหกรรม เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตจีโอโพลิเมอร์ • พัฒนาสูตรและศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตจีโอโพลิเมอร์ให้มีสมบัติตามต้องการ • พัฒนาจีโอโพลีเมอร์เป็นผลิตภัณฑ์ • ทดสอบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม สถานภาพงานวิจัย ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ กระเบื้องจีโอโพลิเมอร์ตกแต่งจากเศษแก้ว อิฐจีโอโพลิเมอร์ลายหิน และอิฐมวลเบาคอมโพสิตจากจีโอโพลิเมอร์ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลการทดสอบ • การขึ้นรูปสามารถทำได้ที่อุณหภูมิห้อง • กระบวนการขึ้นรูปไม่ซับซ้อน • ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายทั้งสมบัติและรูปแบบ แผนงานในอนาคต วิจัยและพัฒนาจีโอโพลิเมอร์ใน 3 แนวทาง ได้แก่ • พัฒนาจีโอโพลิเมอร์เนื้อแน่น (dense geopolymer) สำหรับใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง • พัฒนาจีโอโพลิเมอร์พรุน (porous geopolymer) สำหรับใช้เป็นวัสดุฉนวนกันความร้อน • […]

1 2