Health and Wellness

โครงสร้างเสริมความแข็งแรงในการรองรับการพลิกคว่ำของห้องโดยสารรถตู้พยาบาล

ที่มา รถตู้พยาบาลจัดเป็นรถเฉพาะกิจที่พัฒนาขึ้นเพื่อขนย้ายผู้ป่วยจากจุดที่ต้องการไปยังโรงพยาบาล โดยบุคลากรทางการแพทย์สามารถทำหัตถการฉุกเฉินที่จำเป็นบนรถเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วยในระหว่างการนำส่งได้ สำหรับประเทศไทยโครงสร้างห้องโดยสารรถตู้พยาบาลดัดแปลงจากรถตู้พาณิชย์โดยผู้ผลิตรถเฉพาะทาง แต่ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี ต้นทุนการผลิต ตลอดจนยังไม่มีเกณฑ์ควบคุมความปลอดภัยที่ชัดเจนจากหน่วยงานรัฐ ทำให้ข้อกำหนดด้านความแข็งแรงโครงสร้างของห้องโดยสารรถพยาบาลถูกละเลย เมื่อเกิดอุบัติเหตุโดยเฉพาะรถเกิดการพลิกคว่ำ โครงสร้างห้องโดยสารมักเกิดการยุบตัวค่อนข้างมากเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเกิดการบาดเจ็บซ้ำซ้อน อีกทั้งบุคลากรทางการแพทย์ได้รับอันตราย นำมาสู่ความเสียหายที่มิอาจประเมินค่าได้ แนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าวสามารถกระทำได้ด้วยการนำข้อกำหนดการประเมินความปลอดภัยห้องโดยสารของรถโดยสารขนาดใหญ่จากการพลิกคว่ำ UN Regulation No. 66 หรือ UN R66 มาใช้ปรับปรุงโครงสร้างด้วยการสร้างพื้นที่ความปลอดภัยเสมือนในห้องโดยสารจากการขยับระยะจากผนังด้านในของห้องโดยสารเข้ามา แล้วพัฒนาโครงสร้างห้องโดยสารรถตู้พยาบาลให้มีความแข็งแรงเพียงพอ และสอดคล้องกับข้อกำหนดของการทดสอบดังกล่าว ที่เมื่อเกิดการพลิกคว่ำแล้ว โครงสร้างห้องโดยสารจะไม่ยุบตัวล้ำเข้าไปในพื้นที่ความปลอดภัยเสมือนที่กำหนดขึ้น โดยใช้ผลการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ร่วมกับการทดสอบการพลิกคว่ำจริง เปรียบเทียบความแข็งแรงโครงสร้างห้องโดยสารรถตู้พยาบาลก่อนและหลังเสริมความแข็งแรงโครงสร้าง เป้าหมาย ทีมวิจัยของเอ็มเทค และบริษัท สุพรีร่า อินโนเวชั่น จำกัด ร่วมกันพัฒนาโครงสร้างเสริมความแข็งแรงในการรองรับการพลิกคว่ำของห้องโดยสารรถตู้พยาบาลที่มีความแข็งแรงเพียงพอตามมาตรฐาน UN R66 ทีมวิจัยทำอย่างไร ศึกษาข้อกำหนดเชิงเทคนิคในการออกแบบห้องโดยสารรถตู้พยาบาล และสรุปแนวทางการนำข้อกำหนด UN R66 เพื่อใช้ประยุกต์ในการจำลองและทดสอบการพลิกคว่ำของโครงสร้างห้องโดยสารรถตู้พยาบาล จัดหาซากโครงสร้างรถตู้คันที่ 1 เพื่อนำมาใช้สร้างเป็นแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของโครงสร้างห้องโดยสารรถตู้พยาบาล และนำไปดัดแปลงให้เป็นห้องโดยสารรถตู้พยาบาล ที่ติดตั้งอุปกรณ์ใช้งานเทียบเท่ารถตู้พยาบาลจริง เก็บข้อมูลทางกายภาพ ติดตั้งพื้นที่ปลอดภัยตามข้อกำหนด UN R66 รวมถึงเครื่องมือวัดที่จำเป็นเพื่อเก็บข้อมูลในระหว่างทดสอบการพลิกคว่ำ นำโครงสร้างรถตู้พยาบาลมาทดสอบการพลิกคว่ำจริง เพื่อประเมินว่าโครงสร้างรถตู้พยาบาลที่ยังไม่มีการเสริมโครงสร้างความแข็งแรงสอดคล้องกับข้อกำหนดดังกล่าวหรือไม่ ตลอดจนมีโครงสร้างใดที่ควรปรับปรุง […]

การพัฒนาของผสมฐานมอลโตเดกซ์ตรินเพื่อปรับความหนืดของอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก

ที่มา ภาวะกลืนลำบาก (dysphagia) คือภาวะที่มีความผิดปกติในการส่งผ่านอาหารจากช่องปากไปยังอวัยวะในระบบทางเดินอาหารส่วนอื่นๆ ทำให้ไม่สามารถกลืนอาหารได้เหมือนคนปกติ และมักนำไปสู่การสำลักขณะกลืนอาหารได้ ภาวะนี้อาจทำให้เกิดการขาดน้ำและสารอาหาร อันนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อจากการสำลักจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ บริษัท สยาม มอดิฟายด์ สตาร์ช จำกัด เป็นบริษัทผู้นำในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สตาร์ชมันสําปะหลังแปรรูปที่สำคัญของประเทศไทยและของโลก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร/เครื่องดื่มสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากในรูปแบบผงปรับความหนืด เพื่อรองรับความต้องการของผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากและผู้สูงอายุที่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามสภาวการณ์สังคมผู้สูงวัย (aged society) ของประเทศไทยในปัจจุบัน บริษัทฯ ได้จ้างศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติให้ศึกษาและวิเคราะห์สมบัติต่างๆ โดยเฉพาะสมบัติเชิงรีโอโลยีของของผสมฐานมอลโตเดกซ์ตริน ที่ระดับความหนืด 3 ระดับ ได้แก่ Nectar-like, Honey-like และ Pudding-like ตามเกณฑ์ National Dysphagia Diet (NDD) เพื่อใช้เป็นผงปรับความหนืด (thickening powder) สำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก โดยมีเป้าหมายให้ผลปรับความหนืดนี้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ทางการค้าที่บริษัทฯ สนใจ เป้าหมาย สูตรผลิตภัณฑ์ผงปรับความหนืดจากของผสมฐานมอลโตเดกซ์ตริน ทีมวิจัยทำอย่างไร วิเคราะห์สมบัติต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ผงปรับความหนืดทางการค้า วิเคราะห์สมบัติพื้นฐานของสารไฮโดรคอลลอยด์ต่างๆ พัฒนาสูตรต้นแบบผงปรับความหนืดและวิเคราะห์สมบัติต่างๆ โดยเน้นสมบัติรีโอโลยี ศึกษาอิทธิพลของความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิ และเอนไซม์อะไมเลสต่อสมบัติรีโอโลยีของสูตรต้นแบบ […]

“เตียงตื่นตัว” หรือ เตียงนอนแบบมีกลไกช่วยผู้สูงอายุในการลุกนั่งและลุกขึ้นยืน (Joey-Active Bed)

ที่มา เตียงสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการรักษาหรือผ่าตัดที่มีจำหน่ายในประเทศ มีจุดด้อยหลายประการ เช่น ใช้งานยากเพราะไม่ได้ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ รูปแบบไม่เอื้ออำนวยต่อการขึ้นลงจากเตียงด้วยตัวเอง ลักษณะเตียงให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในโรงพยาบาล อีกทั้งมีราคาสูง เพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เป้าหมาย ออกแบบและพัฒนาต้นแบบโครงสร้างเตียงแบบปรับนั่งได้สำหรับใช้งานที่บ้าน เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุที่แข็งแรงหรือนอนติดเตียง รวมทั้งผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการรักษาหรือผ่าตัด ทีมวิจัยทำอย่างไร 1. ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจ 2. ออกแบบ “เตียงตื่นตัว” จากมุมมองของผู้ใช้ในด้านต่างๆ หรือที่เรียกว่า Human-centric design โดยคำนึงถึงความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ เช่น ช่วยในการเคลื่อนไหว ใช้งานได้ด้วยตนเอง ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ และราคาเหมาะสม คุณสมบัติ ต้นแบบโครงสร้างเตียง สามารถปรับนั่งและหมุนฐานรองรับฟูกได้ 90 องศา ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการลุกยืนและนั่งหันออกทางด้านข้างเตียง ทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย ส่งผลดีต่อสภาพจิตใจเนื่องจากสามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวได้โดยไม่นอนติดเตียง สถานภาพการวิจัย ต้นแบบเตียงถูกนำไปใช้งานที่โรงพยาบาลกลาง และสถาบันประสาทวิทยา ตั้งแต่ปี 2561 และยังใช้งานต่อเนื่องที่โรงพยาบาลกลางถึงปัจจุบัน (2563) ได้อนุญาตให้ใช้สิทธิประโยชน์จากผลงานวิจัยแก่ บริษัท เอสบี ดีไซนด์ สแควร์ จํากัด เพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แล้ว แผนงานวิจัยในอนาคต เพิ่มกลไกเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ […]

ฟูกที่นอนน้ำจากยางพารา

ฟูกที่นอนน้ำ ผลิตจากท่อยางพาราโดยออกแบบเป็นถุงบรรจุน้ำที่ผนึกกันเป็นสี่เหลี่ยม เพื่อใช้เป็นฟูกที่นอนสำหรับผู้ที่นอนติดเตียง เป็นเทคโนโลยีที่ร่วมพัฒนาโดยเอ็มเทค จุดเด่นของต้นแบบผลงานวิจัย:  สามารถกระจายแรงกดที่เกิดจากน้ำหนักของร่างกายช่วยลดการเกิดแผลกดทับ ไม่มีกลิ่นเหม็นจากยางพารา ไม่ระคายเคืองผิวหนัง มีความยืดหยุ่น ทนทาน และไม่รั่วซึม ผลิตภัณฑ์ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียงให้ดีขึ้น กลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์:  ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์:  การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ให้กับผู้ใช้งานจำนวนมาก บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์:   หจก. เคทีซี ที่นอนน้ำ  https://www.ktcthaiwatermattress.com/ โทร. 08 5519 7936, 09 6351 4146 สนใจติดต่อ: งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรมเนตรชนก ปิยฤทธิพงศ์Email: netchanp@mtec.or.thโทรศัพท์: 0 2564 6500 ext. 4301 https://www.youtube.com/watch?v=Iy35IFDcaQ4

BEN อุปกรณ์ช่วยขึ้นลงเตียงแบบปรับนั่งได้

“ออกแบบและพัฒนาด้วยหลัก Human-centric design หรือยึดความต้องการของผู้ใช้เป็นสำคัญ”   BEN อุปกรณ์ช่วยขึ้นลงเตียงแบบปรับนั่งได้ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ต้องขึ้น-ลงจากเตียงที่มีความสูง เช่น เตียงโรงพยาบาล จุดเด่นของต้นแบบผลงานวิจัย:   ออกแบบและพัฒนาด้วยหลัก Human-centric design หรือยึดความต้องการของผู้ใช้เป็นสำคัญ ลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ต้องขึ้น-ลงจากเตียงที่มีความสูง เช่น เตียงโรงพยาบาล กระตุ้นการลุกขึ้นนั่ง ลดการนอนติดเตียงเป็นการช่วยฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยทั่วไปหรือหลังผ่าตัด ใช้เป็นเก้าอี้สำหรับทำหัตถการ ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการทำกายภาพบำบัด การใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ: โรงพยาบาลกลาง บริษัทผู้รับอนุญาตสิทธิ: บริษัท อีซี่โคซี่ ชื่อผลิตภัณฑ์ทางการค้า BEN เว็บไซต์ https://www.easycozyfurniture.com ติดต่อ easycozy.btv@gmail.com (คุณสุพรรณี โทร 081-7712298) สนใจติดต่อ: งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรม คุณสุนทรีย์ โฆษิตชัยยงค์ โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4783 โทรสาร 0 2564 6369 E-mail : BDD@mtec.or.th https://www.youtube.com/watch?v=HfD-r48bDrY

1 2 3 4