โครงการวิจัยเด่น

วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม (CERAPORE)

ที่มาโจทย์วิจัย ทีมวิจัยของเอ็มเทคมีความเชี่ยวชาญในการผลิตวัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในหลายด้าน อาทิ กระบวนการแยก (separation process) กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ (purification process) กระบวนการเร่งปฏิกิริยา (catalytic process) เป็นต้น วัสดุพรุนตัวชนิดนี้สามารถสังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบหลายชนิด เช่น ของเสียเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และแหล่งดินภายในประเทศ อันเป็นการลดปัญหาการจัดการของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ของเสียและวัตถุดิบภายในประเทศอีกทางหนึ่งด้วย เป้าหมาย พัฒนาวัสดุเซรามิกที่มีความพรุนตัวสูง มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ ทนต่อสภาวะที่มีความชื้นหรือความร้อนได้ดี ใช้งานในด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย อีกทั้งยังลดการนำเข้าวัสดุดังกล่าวจากต่างประเทศ กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์ ได้แก่ • กลุ่มบริษัท SMEs เป็นผู้ที่นำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปใช้ผลิตวัสดุพรุนตัวที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคภายในประเทศ • กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นผู้ใช้งานวัสดุพรุนตัว การใช้งานวัสดุจากงานวิจัยจึงช่วยลดต้นทุนในการนำเข้าสินค้า ทีมวิจัยทำอย่างไร สังเคราะห์วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากแหล่งดินและเถ้าลอย (fly ash) ที่มีความพรุนตัวสูง มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ สามารถทนต่อสภาวะที่มีความชื้นหรือความร้อนได้ดี นอกจากนี้ ยังใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น ใช้เป็นวัสดุเมมเบรน หรือตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการไพโรไลซิสแบบรวดเร็วของกากชีวมวล เพื่อช่วยลดปริมาณออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพ ซึ่งจะช่วยให้น้ำมันชีวภาพมีสมบัติใกล้เคียงน้ำมันปิโตรเลียมยิ่งขึ้น ผลงานที่เกิดขึ้นตอบโจทย์แนวโน้มความต้องการระดับประเทศ เนื่องจากในปัจจุบันมีแหล่งดินที่มีมูลค่าต่ำ อีกทั้งปริมาณเถ้าลอยที่เป็นของเสียจากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินจากโรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณมากกว่า 3 ล้านตันต่อปี […]

ระบบควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก
โดยการใช้เทคโนโลยีแมชชีนวิชันและเทคโนโลยีการพิมพ์กล่องอัตโนมัติ

ที่มาของโจทย์วิจัย ความถูกต้องในการบรรจุสินค้า เป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงถึงมาตรฐานของโรงงานผลิตและธุรกิจโดยรวม การส่งมอบสินค้าที่มีการบรรจุไม่ถูกต้อง บรรจุภัณฑ์ผิดประเภท หรือมีปริมาณไม่ตรงตามที่ระบุไว้ออกสู่ตลาด ย่อมส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นในเชิงธุรกิจ การใช้วิธีสุ่มตรวจก็ไม่สามารถสร้างความมั่นใจได้ 100% เนื่องจากยังยอมให้สินค้าที่ไม่ถูกต้องออกสู่ตลาด ระบบการตรวจสอบความถูกต้องของการบรรจุสินค้าอัตโนมัติจึงเป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า และทำให้เกิดความถูกต้องในระบบบริหารจัดการภายในโรงงานผลิตเอง บริษัท นวพลาสติก อุตสาหกรรม จำกัด ในเครือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG มุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจ โดยการยกระดับกระบวนการผลิตให้ทันสมัย จึงต้องการระบบควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกที่มีประสิทธิภาพสูง ถูกต้องแม่นยำและทำงานได้อย่างอัตโนมัติ อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัย รองรับการก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 เป้าหมาย พัฒนาระบบการควบคุมคุณภาพสำหรับกระบวนการบรรจุสินค้า โดยการใช้เทคโนโลยีแมชชีนวิชัน (ระบบกล้องและซอฟต์แวร์อัตโนมัติ) ที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องในการบรรจุผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามรหัสสีข้างกล่อง ตรวจสอบจำนวนการบรรจุในแต่ละกล่อง และพิมพ์ข้อมูลสินค้าข้างกล่องโดยอัตโนมัติ การมองและแยกแยะใช้ระบบกล้อง ส่วนการคำนวณใช้ซอฟต์แวร์อัตโนมัติ ทีมวิจัยทำอย่างไร ทีมวิจัยกับทีมวิศวกรของบริษัทฯ ได้ร่วมกันกำหนดความสามารถที่จำเป็นและลักษณะการทำงานของเครื่องต้นแบบที่ต้องการ เพื่อออกแบบกลไกการทำงานของเครื่อง ทั้งระบบสายพานลำเลียง ระบบลม ระบบไฟฟ้า เซ็นเซอร์ และอื่นๆ นอกจากนี้ ยังพัฒนาระบบแมชชีนวิชัน ซึ่งใช้ข้อมูลภาพที่ได้จากกล้อง ผ่านการประมวลผลด้วยซอฟต์แวร์โดยใช้เทคนิคที่ชื่อว่า Sample-Based Identification […]

ผลกระทบของบรรยากาศการเผาซินเทอร์ ต่อสมบัติของชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิม

ที่มาของโจทย์วิจัย บริษัท Standard Unit Supply (Thailand) จำกัด ต้องการพัฒนากระบวนการอัดและเผาซินเทอร์ เพื่อแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์บางอย่างที่มีความต้านทานการกัดกร่อนต่ำ ก่อนที่จะมาทำงานร่วมกับเอ็มเทค บริษัทเคยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและนอกประเทศ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เป้าหมาย ปรับปรุงกระบวนการเผาซินเทอร์เพื่อเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน โดยไม่กระทบต่อสมบัติอื่นๆ ของชิ้นงาน ทีมวิจัยทำอย่างไร ตรวจสอบสาเหตุของปัญหา จากการวิเคราะห์ชิ้นงานและกระบวนการ พบว่าปัญหาเกิดจากบรรยากาศการเผาและกระบวนการขัดผิวไม่เหมาะสม ออกแบบกระบวนการผลิต จำนวน 21 รูปแบบ และทดลองระดับห้องปฏิบัติการที่เอ็มเทค เพื่อหากระบวนการที่เหมาะสม ทดสอบกระบวนการผลิตในระดับประลองและต่อเนื่องในระดับอุตสาหกรรมที่บริษัท (1 ส.ค. – 31 ต.ค. 2559) โดยทีมวิจัยของเอ็มเทคให้คำปรึกษาตลอดการทดสอบ ผลการทดสอบ พบว่าชิ้นงานมีความต้านทานการกัดกร่อนสูงขึ้นอย่างน้อย 10 เท่าจากผลการทดสอบความทนละอองน้ำเกลือ และมีสมบัติอื่น เช่น ความสามารถในการรับแรง เป็นไปตามข้อกำหนดของบริษัท สถานภาพปัจจุบัน บริษัทได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง และยอดขายเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมยังลดลงเนื่องจากกระบวนการผลิตปรับปรุงใหม่ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสีย เมื่อมองทั้งกระบวนการพบว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 140 ล้านบาทต่อปี แผนงานในอนาคต ทีมวิจัยมุ่งมั่นวิจัยเพื่อสั่งสมองค์ความรู้ และสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมโดยดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหา […]

กังหันลมแกนตั้งชนิดเดเรียสที่สามารถเริ่มต้นหมุนได้ด้วยตัวเอง

ที่มาของโจทย์วิจัย กังหันลมแกนตั้งชนิดเดเรียส (Darrieus vertical axis wind turbine) มีศักยภาพที่จะนำมาใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากมีประสิทธิภาพทัดเทียมกับกังหันลมแกนนอนที่ใช้กันโดยทั่วไป อย่างไรก็ดี กังหันลมชนิดนี้มีข้อด้อยประการหนึ่ง คือ ไม่สามารถเริ่มต้นหมุนได้ด้วยตัวเองหากไม่มีการขับให้หมุนในตอนต้น งานวิจัยนี้แก้ปัญหาดังกล่าว เป้าหมาย กังหันลมแกนตั้งชนิดเดเรียส (Darrieus vertical axis wind turbine) มีศักยภาพที่จะนำมาใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากมีประสิทธิภาพทัดเทียมกับกังหันลมแกนนอนที่ใช้กันโดยทั่วไป อย่างไรก็ดี กังหันลมชนิดนี้มีข้อด้อยประการหนึ่ง คือ ไม่สามารถเริ่มต้นหมุนได้ด้วยตัวเองหากไม่มีการขับให้หมุนในตอนต้น งานวิจัยนี้แก้ปัญหาดังกล่าว ทีมวิจัยทำอย่างไร เป้าหมายของงานวิจัยคือ พัฒนากังหันลมแกนตั้งชนิดเดเรียสให้สามารถเริ่มต้นหมุนได้ด้วยตัวเองที่ความเร็วลม 3 เมตรต่อวินาที และมีกำลังการผลิต 500 วัตต์ที่ความเร็วลม 8 เมตรต่อวินาที การทำให้กังหันเริ่มต้นหมุนเองจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีสองส่วน ได้แก่ (1) เทคโนโลยีใบพัด และ (2) เทคโนโลยีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบควบคุม ในส่วนแรก ได้ออกแบบรูปร่างของใบพัดขึ้นมาใหม่โดยใช้แบบจำลองเชิงตัวเลข พร้อมกับใช้เทคนิคการพับขึ้นรูปอะลูมิเนียม เพื่อให้ได้ใบพัดที่แข็งแรงและมีน้ำหนักเบา ในส่วนที่สอง ได้พัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ไม่มีแรงต้านการหมุนที่เกิดจากแม่เหล็ก (cogging torque) เพื่อลดแรงต้านการหมุนที่ชุดใบพัดต้องเอาชนะ ในขณะเดียวกันระบบควบคุม จะทำหน้าที่ลดแรงต้านจากโหลดทางไฟฟ้าเพื่อให้กังหันสามารถเร่งการหมุนตัวได้ดียิ่งขึ้น ผลการทดสอบ […]

การศึกษาพฤติกรรมการกัดกร่อนของท่อเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 304
เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงจากการกัดกร่อนของชิ้นส่วนใช้งานในเครื่องควบแน่นของระบบผลิตไฟฟ้า

การศึกษาพฤติกรรมการกัดกร่อนของท่อเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 304 เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงจากการกัดกร่อนของชิ้นส่วนใช้งานในเครื่องควบแน่นของระบบผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำมีขั้นตอนการควบแน่นไอน้ำด้วยน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งโดยปกติมีคลอไรด์ปนเปื้อนในปริมาณต่ำ อย่างไรก็ตามในบางฤดูกาล เช่น ฤดูแล้ง ปริมาณคลอไรด์อาจสูงขึ้นถึง 5,000 ppm จากปัญหาน้ำทะเลหนุน และคงสภาพเช่นนี้นาน 3-5 วัน ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลให้ท่อเหล็กกล้าไร้สนิม 304 เกิดความเสียหายจากการกัดกร่อนได้หากไม่มีการป้องกัน หรือไม่มีขั้นตอนการเฝ้าระวังที่เหมาะสม โรงไฟฟ้าอาจต้อง shutdown โดยค่าใช้จ่ายเพื่อการสำรองไฟฟ้า 3 วัน มีมูลค่า 8 ล้านบาทต่อครั้ง ด้วยเหตุนี้ ทีมวิจัยจึงได้ดำเนินโครงการการศึกษาพฤติกรรมการกัดกร่อนของท่อเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 304 ในระบบควบแน่น เพื่อหาเงื่อนไขการทำงานที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดการกัดกร่อน ผลที่ได้จากโครงการดังกล่าว ได้แก่ ต้นแบบเครื่องทดสอบการกัดกร่อนภายใต้การไหลของระบบควบแน่น เงื่อนไขอุณหภูมิและอัตราการไหลของของเหลวที่ไม่ก่อให้เกิดการกัดกร่อนแบบรูเข็ม วิธีการดำเนินงานเพื่อป้องกันความเสียหายของท่อ โรงไฟฟ้าลดค่าใช้จ่ายจากผลกระทบเมื่อมีเหตุความเสียหายมูลค่ารวม 4.1 ล้านบาท

1 16 17 18 19 20 23