โครงการวิจัยเด่น

Towards Commercial Production of Ti Foam with High Compressibility

ดร.อัญชลี มโนนุกุล (หัวหน้าโครงการ) นาง มากิโกะ ทันเกะ นายปฐมภูมิ ศรีกุดเวียน และ นายนิพนธ์ เด็นหมัด   ที่มาโครงการ ไททาเนียมเป็นวัสดุที่ไวต่อการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิสูงทำให้ไททาเนียมถูกปนเปื้อนได้ง่ายระหว่างกระบวนการผลิตโฟมโลหะแบบรูพรุนต่อเนื่อง ถ้าสามารถควบคุมสารปนเปื้อนให้น้อยลงได้จะสามารถผลิตโฟมไทเทเนียมที่มีความแข็งแรงสูงขึ้น และมี application ใหม่ๆ เช่น วัสดุปลูกฝังในร่างกาย ขั้วเคมีไฟฟ้า ตัวกรองน้ำโลหะ ฯลฯ สรุปผลการดำเนินโครงการ กระบวนการผลิตโฟมไททาเนียมแบบเซลเปิดโดยใช้กระบวนการชุบสารแขวนลอยกับต้นแบบโฟมพอลิเมอร์ได้ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้น จากองค์ความรู้เดิมซึ่งเอ็มเทคได้ยื่นจดสิทธิบัตรไว้ โดยปรับวัสดุตั้งต้นและตัวแปรในการผลิตให้สามารถผลิตโฟมไททาเนียมที่มีสมบัติเชิงกลดี ปัจจุบันได้ผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์โดยบริษัท Taisei Kogyo (Thailand) Co., Ltd. ผลงานที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท /ปี สิทธิบัตรไทย 4 ฉบับ (สิ่งประดิษฐ์ 2, ออกแบบ 2) ผลงานในวารสารนานาชาติมี IF 4 ฉบับ รางวัลผลงานวิจัยระดับดีเด่น วช. 2559

ผลกระทบของบรรยากาศการเผาซินเทอร์ต่อสมบัติของชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิม (โครงการรับจ้างวิจัย)

ผลกระทบของบรรยากาศการเผาซินเทอร์ต่อสมบัติของชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิม(โครงการรับจ้างวิจัย) ที่มาโครงการ ชิ้นงานของบริษัทผลิตด้วยกระบวนการอัดและเผาซินเทอร์โดยชิ้นงานบางส่วนมีความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อนต่ำ ทางบริษัทต้องการปรับปรุงกระบวนการเผา ซินเทอร์เพื่อเพิ่มความต้านทางการกัดกร่อน โดยไม่กระทบต่อสมบัติอื่นๆ ของชิ้นงาน สรุปผลการดำเนินโครงการ การทดลองในระดับห้องปฎิบัติการที่ MTEC พบว่าการเผาในบรรยากาศที่ไม่เหมาะสม และกระบวนการขัดผิวหลังเผาซินเทอร์ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาการต้านทานการกัดกร่อนต่ำ โดยปรับการบรรยากาศการเผา อีกทั้งปรับอุณหภูมิและเวลาเผาเพื่อให้สมบัติเชิงกลและสมบัติอื่นๆ ยังคงผ่านมาตรฐานของบริษัท และปรับกระบวนการขัดผิวของชิ้นงานหลังเผาซินเทอร์ เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2559 บริษัทได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการเผาซินเทอร์และกระบวนการขัดผิวในระดับการผลิตเชิงพาณิชย์ที่บริษัท ผลงานที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ 140 ล้านบาท/ปี ผลงานในวารสารนานาชาติมี IF 1 ฉบับ (ระหว่างพิจารณา) Sample Original atmosphere New atmosphere Acceptable level Density (g/cm3) 7.06 7.10 N/A C (wt.%) 0.03 0.04 < 0.05 O (wt.%) 0.21 0.26 < 0.3 […]

การวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนโรงงานปิโตรเคมี

ปะเก็นของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ในระหว่างกระบวนการผลิตสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ปะเก็นที่ผลิตจากแผ่นโลหะทนความร้อนและเคลือบด้วยชั้นกราไฟต์บนผิวหน้าของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนเกิดความเสียหาย ซึ่งโดยปกติปะเก็นดังกล่าวจะมีการซ่อมบำรุงเป็นประจำทุก 3 ปี แต่หลังการซ่อมบำรุงครั้งล่าสุดเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา เมื่อใช้งานสัมผัสกับแก๊สที่ผ่าน กระบวนการกลั่นแยกที่อุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 1.5 ksc พบว่ามีการรั่วไหลของแก๊สเอทิลีนจากอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนเกิดขึ้น ส่งผลให้ต้องหยุดการทำงานของระบบการผลิตเอทิลีนและสูญเสียโอกาสการผลิตวันละไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท จากการวิเคราะห์ความเสียหายพบว่าการประกอบปะเก็นมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นโดยระหว่างการติดตั้งมีการใช้แรงในการขันประกอบสูงเกินพิกัด ด้วยเหตุนี้ทางงานซ่อมบำรุงจึงทำการตรวจสอบปะเก็นของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนที่เหลือ (มีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ 200,000 บาท) และทำการเปลี่ยนปะเก็นของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนที่ติดตั้งพร้อมกันอีก 12 สายการผลิต จำนวน 24 ตัว (ประเก็น 2 ตัวต่อ 1 สายการผลิต) เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผลที่ได้จากโครงการดังกล่าว ได้แก่ วิธีการป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคต โดยการขันปะเก็นด้วยแรงที่เหมาะสม ลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนปะเก็นทุกจาก 3 เดือน เป็น ทุก 3 ปี คิดเป็นมูลค่า 8.8 ล้านบาท ท่อลำเลียงสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ชิ้นส่วนท่อภายในเตาเผาโรงงงานปิโตรลียมแห่งหนึ่งมีลักษณะบวม โดยท่อดังกล่าวทำหน้าที่ลำเลียงสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Naphtha/HC) […]

การกัดกร่อนภายใต้แรงเค้นของท่อสเตนเลส 304

ท่อสเตนเลส 304 ของระบบทำไอน้ำเกิดการรั่ว โดยตรวจพบการแตกร้าวร่วมกับการกัดกร่อนจากภายในสู่ภายนอก ภาพถ่ายรังสีแสดงรอยแตกตามแนวยาวท่อ ภาพภาคตัดขวางท่อแสดงการแตกแบบแขนง บ่งบอกลักษณะการกัดกร่อนภายใต้แรงเค้น (Stress corrosion crack)

การกัดกร่อนในบรรยากาศของเหล็กกล้าโครงสร้างและเหล็กชุบโลหะ

โครงการวิจัยการการสร้างแผนที่การกัดกร่อนของเหล็กกล้าโครงสร้างในประเทศไทยโดยคำนึงถึงผลของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (eAsia) เป็นโครงการความร่วมมือ 3 ฝ่าย ได้แก่ ญี่ปุ่น เวียดนาม และไทย โดยดำเนินการทดสอบการกัดกร่อนในบรรยากาศนอกอาคารที่สถานีทดสอบ 7 สถานี ทั่วประเทศ พบว่าความรุนแรงของการกัดกร่อนเหล็กกล้าโครงสร้างในพื้นที่จังหวัดที่ไม่ติดทะเลและแถบชายฝั่งภาคตะวันออกจัดอยู่ในระดับ C2 ตามมาตรฐาน ISO 9223 ส่วนความรุนแรงของการกัดกร่อนเหล็กกล้าโครงสร้างจังหวัดชายฝั่งอันดามันจัดอยู่ในระดับ C4 ซึ่งรุนแรงมากกว่า

1 17 18 19 20 21 23