โครงการวิจัยเด่น

มูลค่าการกัดกร่อนสำรวจในประเทศไทย

การกัดกร่อนส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมในเชิงเศรษฐกิจและสังคม จากงานการวิจัย เรื่อง “การสำรวจต้นทุนการกัดกร่อนในประเทศไทย (Corrosion Cost Survey in Thailand)” ซึ่งจัดเป็นการสำรวจครั้งแรกอย่างเป็นระบบของประเทศไทย โดยได้ดำเนินการตามระเบียบวิธีการสากล พบว่ามูลค่าการกัดกร่อนโดยรวมมีค่าราว 466,600 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ผลลัพธ์จากงานวิจัยได้จัดพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ มูลค่าการกัดกร่อนสำรวจในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2552 – 2554. แต่งโดย วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์, เอกรัตน์ ไวยนิตย์, อำนวยศักดิ์ เจียรไพโรจน์, และณมุรธา พอลสัน. (2559) พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ซิกมา กราฟฟิคส์. (https://bookstore.nstda.or.th/shop/product/405774-718?page=2)

งานพัฒนาสร้างต้นแบบเรือดูดเลนแบบอเนกประสงค์ สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก

ออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อนำเสนอภายใต้โครงการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่าและตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เพื่อต้องการให้ mtec สวทช. มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการระบายน้ำให้กับพื้นที่เขตเมือง ทั้งการกวาดเก็บผักตบชวาและปรับปรุงร่องน้ำ งานพัฒนาสร้างต้นแบบเรือดูดเลนแบบอเนกประสงค์ สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ผลงานที่พัฒนาขึ้นในโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่าในความร่วมมือระหว่าง MTEC สวทช. และ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินตามข้อสั่งการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่ต้องการให้นักพัฒนาผลงานเชิงวิศวกรรมของไทยได้มีส่วนร่วมในการแก้หรือบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและระบบการระบายน้ำในเขตมืองที่เกิดขึ้นจากการสะสมของผักตบชวา ขยะลอย และร่องน้ำตื้นเขิน

การปรับปรุงงานออกแบบและผลิตตะกรับในเตาเผาชีวมวลด้วยเทคโนโลยีทางโลหะวิทยา

เป็นการออกแบบและพัฒนาด้วยเทคโนโลยีวิศวกรรมย้อนรอย การปรับปรุงทั้งการเลือกใช้โลหะ การลดน้ำหนัก การเพิ่มความแข็งแรง นำเสนอผลลัพธ์ได้ทั้งในระดับต้นแบบอุตสาหกรรมและอนุสิทธิบัตร การปรับปรุงงานออกแบบและผลิตตะกรับในเตาเผาชีวมวลด้วยเทคโนโลยีทางโลหะวิทยา – พัฒนาผลงานด้วยกระบวนการวิศวกรรมย้อนรอย reverse engineering โดยเริ่มต้นจากการศึกษาปัญหาตามแนวทางการวิเคราะห์ความเสียหายทางงโลหะวิทยา การปรับปรุง แก้ไขจุดบกพร่องด้วยเทคโนโลยีทางวิศวกรรม – ปรับปรุงแบบด้วยการลดน้ำหนัก เลือกใช้โลหะที่มีความทนทานต่อความร้อนและสมบัติทางกลที่สูงขึ้นที่สามารถอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ – ออกแบบและประเมินด้วยเทคนิคทางคอมพิวเตอร์ – วางแผนการผลิตในระดับ mass production เพื่อรองรับ economy of scale สำหรับการขยายผลและสร้างผลกระทบเชิงพาณิชย์ – นำเสนอผลงานที่ใช้งานทดแทนได้เหนือกว่าเดิม มีต้นทุนต่อหน่วยที่ถูกลง และยื่นจดผลงานทรัพย์สินทางปัญญาใน สวทช.แล้ว

การผลิตแบบหล่อทรายรวดเร็วชนิดไร้กระสวน (Patternless Sand Moulding)

การผลิตแบบหล่อทรายรวดเร็วชนิดไร้กระสวน (Patternless Sand Moulding) ผลงานที่พัฒนาและได้รับอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เป็นการนำเสนอรูปแบบการสร้างแบบทรายสำหรับงานหล่อเหล็กด้วยเครื่องมือกลภายใต้แนวคิดการทำต้นแบบรวดเร็ว การผลิตแบบหล่อทรายรวดเร็วชนิดไร้กระสวน (Patternless Sand Moulding) – พัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีการขึ้นรูปแบบหล่อทรายสำหรับงานหล่อโลหะด้วยกระบวนการรวดเร็ว (rapid tooling) – ประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์/ประหยัด/กระชับขั้นตอน ในการหล่อขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบ หรืองานหล่อจำนวนน้อยชิ้น – ขอรับการคุ้มครองเป็นทรัพย์สินทางปัญญาในนาม สวทช. แล้ว

ระบบการประเมินและรับรองตนเองด้านสิ่งแวดล้อม

ผู้รับเทคโนโลยีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่มาของโครงการระบบการประเมินและรับรองตนเองด้านสิ่งแวดล้อมสําหรับ สินค้าและบริการของไทยเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันของสินค้าและบริการของไทย และยกระดับสินค้าไทย ในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันการถูกกีดกันทางการค้า จากมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม โดยได้รับงบประมาณสนับสนุน จากกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการศูนย์ความเป็นเลิศด้าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รายละเอียดโครงการระบบการประเมินและรับรองตนเองด้านสิ่งแวดล้อมได้รับการ พัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมไทยโดยเฉพาะ ผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังไม่มีความพร้อมในการเข้าสู่ระบบฉลากสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ให้สามารถประเมินและเปิดข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้บริโภคและสังคมรับทราบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ นอกจาก ผู้ประกอบการรายย่อยแล้วระบบดังกล่าวยังเป็นประโยชน์กับ ผู้ประกอบการที่มีความพร้อมที่จะเข้าสู่มาตรฐานสากล แต่ยังไม่มี การออกมาตรฐานสําหรับสินค้าหรือบริการนั้น ทําให้ไม่สามารถ ขอการรับรองหรือฉลากได้ จากปัญหาดังกล่าวทางกระทรวง อุตสาหกรรมได้วางเป้าหมายเบื้องต้นให้มีการพัฒนาระบบนี้ขึ้น เพื่อเป็นบันไดขั้นแรกให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการยกระดับมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์เข้าสู่มาตรฐานระดับสากล และเพื่อเป็นตัวช่วยสําหรับ ผู้ประกอบการเพื่อเปิดเผยข้อมูลและสื่อสารกับผู้บริโภคให้ทราบถึง ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเด็นต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ที่นําเสนอ ผลที่เกิดขึ้นการนําผลงานไปใช้ประโยชน์เพื่อขยายผลต่อยอด ของ 4 หน่วยงาน หลัก ได้แก่ 1. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 2. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม 3. สภาอุตสาหกรรม 4. สํานักงานพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย การประเมินและรับรองตนเองด้านสิ่งแวดล้อม ของผู้ประกอบการ ผ่านเว็บไซต์ www.thsecoproduct.com […]

1 18 19 20 21 22 23