โครงการวิจัยเด่น

การศึกษาและพัฒนาการใช้งาน FPA300 ในอุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา FPA300 เป็นสารช่วยขึ้นรูป (processing aid) ที่มีคุณสมบัติช่วยลดความเสียดทานของการลำเลียงวัตถุดิบในกระบวนการขึ้นรูปพลาสติก และช่วยป้องกันการหยดของพลาสติกขณะติดไฟ อย่างไรก็ตาม การสังเคราะห์ FPA300 มักได้อนุภาคของ FPA300 ตั้งแต่ขนาดใหญ่ กลาง และเล็กมากในระดับน้อยกว่า 75 ไมครอน (FPA300 fibrils) ปะปนกัน ซึ่งทุกขนาดมีองค์ประกอบทางเคมีที่เหมือนกัน แต่ขนาดอนุภาคที่เล็กมากจะมีลักษณะฟูทำให้การลำเลียงเข้าสู่สกรูเพื่อหลอมขึ้นรูปทำได้ยาก หรือไม่สามารถกำหนดปริมาณได้อย่างสม่ำเสมอจึงจำเป็นต้องคัดแยกออก ปัจจุบันบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) มีปริมาณ FPA300 fibrils ที่คัดแยกและเก็บสะสมไว้ถึง 200 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 60 ล้านบาท บริษัทฯ จึงต้องการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำ FPA300 fibrils มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เป้าหมาย ออกแบบและพัฒนาต้นแบบโครงสร้างเตียงแบบปรับนั่งได้สำหรับใช้งานที่บ้าน เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุที่แข็งแรงหรือนอนติดเตียง รวมทั้งผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการรักษาหรือผ่าตัด ทีมวิจัยทำอย่างไร ใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมการขึ้นรูปพลาสติก (compression/grinding/extrusion/injection molding) ในการเปลี่ยน FPA300 fibrils ให้เป็นเม็ดที่ไหลได้อย่างอิสระ และทดสอบสมบัติในด้านต่างๆ ของชิ้นงานที่เติมเม็ด […]

“เตียงตื่นตัว” หรือ เตียงนอนแบบมีกลไกช่วยผู้สูงอายุในการลุกนั่งและลุกขึ้นยืน (Joey-Active Bed)

ที่มา เตียงสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการรักษาหรือผ่าตัดที่มีจำหน่ายในประเทศ มีจุดด้อยหลายประการ เช่น ใช้งานยากเพราะไม่ได้ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ รูปแบบไม่เอื้ออำนวยต่อการขึ้นลงจากเตียงด้วยตัวเอง ลักษณะเตียงให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในโรงพยาบาล อีกทั้งมีราคาสูง เพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เป้าหมาย ออกแบบและพัฒนาต้นแบบโครงสร้างเตียงแบบปรับนั่งได้สำหรับใช้งานที่บ้าน เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุที่แข็งแรงหรือนอนติดเตียง รวมทั้งผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการรักษาหรือผ่าตัด ทีมวิจัยทำอย่างไร 1. ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจ 2. ออกแบบ “เตียงตื่นตัว” จากมุมมองของผู้ใช้ในด้านต่างๆ หรือที่เรียกว่า Human-centric design โดยคำนึงถึงความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ เช่น ช่วยในการเคลื่อนไหว ใช้งานได้ด้วยตนเอง ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ และราคาเหมาะสม คุณสมบัติ ต้นแบบโครงสร้างเตียง สามารถปรับนั่งและหมุนฐานรองรับฟูกได้ 90 องศา ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการลุกยืนและนั่งหันออกทางด้านข้างเตียง ทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย ส่งผลดีต่อสภาพจิตใจเนื่องจากสามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวได้โดยไม่นอนติดเตียง สถานภาพการวิจัย ต้นแบบเตียงถูกนำไปใช้งานที่โรงพยาบาลกลาง และสถาบันประสาทวิทยา ตั้งแต่ปี 2561 และยังใช้งานต่อเนื่องที่โรงพยาบาลกลางถึงปัจจุบัน (2563) ได้อนุญาตให้ใช้สิทธิประโยชน์จากผลงานวิจัยแก่ บริษัท เอสบี ดีไซนด์ สแควร์ จํากัด เพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แล้ว แผนงานวิจัยในอนาคต เพิ่มกลไกเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ […]

การหมุนเวียนถุงนมโรงเรียนแบบวงรอบปิด (Closing the Loop) เพื่อคงคุณค่าของพลาสติกประเภทพีอี

บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) (SCGC)  เป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกจำพวกพอลิโอเลฟินส์ทั้งพีพีและพีอี SCGC มุ่งหวังจะเป็นผู้นำด้านโซลูชันเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงได้ดำเนินธุรกิจและกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ที่ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน  “ถุงนมกู้โลก” เป็นกิจกรรมที่ SCGC ได้ริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เยาวชนใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่าและรู้จักแยกขยะ เพื่อเปลี่ยนขยะใกล้ตัวให้มีมูลค่า โดยนำไปรีไซเคิลและผลิตเป็นเก้าอี้พลาสติก อย่างไรก็ดี ถุงนมโรงเรียนผลิตจากพลาสติก LLDPE และ LDPE คุณภาพสูงจึงมีศักยภาพที่จะรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบรอบสองสำหรับผลิตเป็นฟิล์มบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เอื้อต่อระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้ามีการควบคุมคุณภาพของถุงนมที่เก็บกลับคืน การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สามารถรีไซเคิลกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตบรรจุภัณฑ์ใหม่ SCGC ร่วมมือกับ SWT, MTEC, QPP และผู้มีส่วนได้เสียตลอดโครงข่ายคุณค่าของผลิตภัณฑ์ใช้การหมุนเวียนแบบวงรอบปิดของถุงนมโรงเรียน โดยรับฟังความเห็นและ Design inputs จากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยหลัก D4R (Design for Recycle) ศึกษาแนวทางการคงคุณค่าวัสดุในสายการผลิตจริงทั้งในแนวทางที่ลดการใช้หมึกพิมพ์และการ De-ink และร่วมพัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติกรีไซเคิลจากถุงนมโรงเรียน จนสามารถขึ้นรูปเป็นฟิล์มที่มีความหนา 30 ไมโครเมตรได้ โดยตัวแทนของเม็ดรีไซเคิลที่ลดปริมาณสีลงทำให้ฟิล์มที่ผลิตได้มีผิวเรียบ มีความหนาสม่ำเสมอ ขึ้นรูปได้อย่างต่อเนื่อง และมีคุณสมบัติเทียบเท่าเดิม ยิ่งไปกว่านั้นพลาสติกยังมีศักยภาพในการนำไปรีไซเคิลในรอบถัดๆ ไปได้ การผลิตเม็ดรีไซเคิลตามแนวทางนี้จึงมีศักยภาพในการนำไปใช้ทดแทนเม็ดพลาสติกใหม่สำหรับผลิตเป็นถุงนมได้อีกครั้งถ้ากฎหมายอนุญาต “สิ่งที่เราจะทำก็คือ เมื่อนำวัสดุกลับมาใช้ในระบบ เราอาจจะต้องพัฒนาคุณภาพของมันให้กลับมามีความแข็งแรงเท่าเดิม […]

การหมุนเวียนถุงนมโรงเรียนแบบวงรอบปิด (Closing the Loop) เพิ่ม Recyclability ด้วยเทคโนโลยี “De-ink”

บริษัท ซิกเวอร์ค (ประเทศไทย) จำกัด (SWT)  เป็นผู้ผลิตหมึกพิมพ์และสารเคลือบสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ดำเนินการด้านการพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อม SWT ได้พัฒนาหมึกพิมพ์ที่ปราศจากสารโทลูอีน ทั้งยังพัฒนาเทคโนโลยี “De-ink” ทำให้โรงงานรีไซเคิลสามารถผลิตวัสดุรอบสองที่ปราศจากการปนเปื้อนจากหมึกพิมพ์และมีคุณภาพทัดเทียมวัสดุรอบแรกได้ แต่การจะพัฒนาระบบการรีไซเคิลพลาสติกคุณภาพสูงให้เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติยังต้องอาศัยความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียตลอดโครงข่ายคุณค่าของผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษาถุงนมโรงเรียน แต่ละปีจะมีเศษถุงนมเกิดขึ้นกว่า 1,000 ล้านชิ้น ถุงนมเหล่านี้ผลิตจากพลาสติก LLDPE และ LDPE คุณภาพสูงสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบที่ดีได้ เนื่องจากมีคุณลักษณะและหน้าตาที่เป็นมาตรฐาน มีปริมาณที่ต่อเนื่อง มีปริมาตรไม่มาก อีกทั้งมีระบบโลจิสติกที่แน่นอนสามารถรับถุงนมกลับได้ แต่บนถุงนมมีการพิมพ์ลวดลายด้วยหมึกเต็มทั่วพื้นที่ ดังนั้นการนำถุงนมมารีไซเคิลเป็นวัสดุรอบสองที่มีคุณภาพสูงจึงทำได้ยาก  การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์ใหม่ SWT ร่วมมือกับ SCGC, MTEC, QPP และผู้มีส่วนได้เสียตลอดโครงข่ายคุณค่าของผลิตภัณฑ์ใช้การหมุนเวียนแบบวงรอบปิดของถุงนมโรงเรียนขยายผลการใช้เทคโนโลยี “De-ink” โดยรับฟังความเห็นและ Design inputs จากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยหลัก Design for Recyclability การออกแบบเน้นที่การพิมพ์ถุงนมให้สามารถหมุนเวียนกลับมาผลิตเป็นฟิล์มบางคุณภาพสูงได้ โดยคำนึงถึงความเข้ากันได้ของเทคโนโลยี De-ink กับสายการผลิตจริงที่มีอยู่ในประเทศ และการพัฒนาสูตรหมึกพิมพ์ให้สามารถลอกออกได้ โดยไม่เพิ่มขั้นตอนของโรงงานรีไซเคิล การที่ SWT ออกแบบให้หมึกพิมพ์ลอกออกง่าย ช่วยให้โรงพิมพ์ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องเพิ่มชั้นไพร์เมอร์ (deinking primer) […]

การคงคุณค่าของทรัพยากรตลอดเส้นทางการผลิตผักกาดดอง

บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด (PCC) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารกระป๋องสำเร็จรูปตรานกพิราบ โดยมีผักกาดดองเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์หลัก PCC ได้นำระบบควบคุมคุณภาพ และเครื่องมือต่างๆ มาช่วยในการพัฒนาคนและเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผ่านการลงพื้นที่ในการส่งเสริมการเกษตร และถ่ายทอดแนวปฏิบัติให้สามารถผลิตผลิตผลที่ตรงกับมาตรฐานของโรงงานแปรรูป เพื่อลดต้นทุนและความสูญเสีย นอกจากนี้ PCC ยังเก็บข้อมูลเพื่อติดตามคุณภาพในทุกขั้นตอน และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้ระหว่างหน่วยงานภายในเพื่อร่วมกันพัฒนาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน การผลิตผักกาดดองมักประสบปัญหาเรื่องความหลากหลายของคุณภาพผลิตผล เนื่องจากปัจจัยด้านสภาพดินฟ้าอากาศ พฤติกรรมการปลูก การเก็บเกี่ยว และการจัดการผลิตผลปริมาณมากในระยะเวลาที่จำกัด แม้จะมีการสุ่มตรวจคุณภาพและเก็บข้อมูลในขั้นตอนต่างๆ ก็ยังไม่สามารถคาดการณ์ว่าผักกาดดองสุกที่ได้จะมีคุณภาพที่เหมาะสมเพื่อไปเป็นผลิตภัณฑ์ในแบบใดบ้าง การปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดของเสีย และนำผลพลอยได้มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยแนวคิดที่จะใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตผักกาดดองอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด PCC จึงประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำข้อมูลเชิงลึกทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่เชื่อมโยงกันทั้งระบบ ระหว่างทรัพยากรขาเข้า กระบวนการผลิตในแต่ละขั้นตอน กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการจำหน่าย ไปวางแผนการส่งเสริมการปลูกผักกาดเขียวปลี การผลิตผักกาดดอง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนช่วยให้ PCC สามารถลดวัตถุดิบที่ไม่ได้มาตรฐานเข้าสู่กระบวนการผลิต อีกทั้งคาดการณ์คุณภาพของผักกาดดองสุกได้ ในส่วนของกระบวนการผลิต PCC สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับวัตถุดิบและแผนการจำหน่ายเพื่อลดปริมาณผักดองที่ต้องเก็บรักษา การปรับปรุงกระบวนการตัดแต่ง และการนำผลพลอยได้มาใช้ประโยชน์ก็ช่วยให้เกิดของเสียน้อยลง ส่งผลดีต่อบริษัทในแง่ของการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น มีค่าใช้จ่ายที่ลดลง ส่วนเกษตรกรก็มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น “ทุกกระบวนการ มีของดีที่ใช้ได้ ของเสียที่ไม่ได้ใช้เเละใช้ไม่ได้ เราต้องหาวิธีการใหม่ให้ได้ของดีมากที่สุด ดีกว่าเเก้ไขปัญหาของเสียเหล่านั้น และคุณค่าที่ได้จะเเตกต่างกันมาก” […]

1 2 3 4 5 23