โครงการวิจัยเด่น

การวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างรถโดยสารตัวถังอะลูมิเนียม

ที่มา บริษัท สกุลฎ์ซี จำกัด มีแนวคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นรถโดยสารขนาดเล็ก ตัวถังอะลูมิเนียม ให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย แทนเหล็กรูปพรรณแบบเดิมที่ใช้ผลิตกันในประเทศไทย และต้องการประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังที่ทางบริษัทฯ ได้ออกแบบมาในเบื้องต้นด้วยเทคโนโลยีการออกแบบและวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมเพื่อเป็นการประหยัดเวลาจากกระบวนการลองผิดลองถูกสำหรับการปรับแบบโครงสร้างให้เหมาะสม รวมถึงการสร้างต้นแบบและการทดสอบต่าง ๆ ก่อนขั้นตอนการผลิตจริง เป้าหมาย วิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังรถโดยสารอะลูมิเนียมภายใต้เงื่อนไขการรับแรงแบบสถิต (static) ด้วยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (Computer-Aided Engineering; CAE) เพื่อประเมินความปลอดภัยเบื้องต้นก่อนนำไปผลิตจริง ทีมวิจัยทำอย่างไร ดำเนินการวิเคราะห์ทำนายความสามารถในการรับแรงของโครงสร้างตัวถังรถโดยสารที่ทำจากอะลูมิเนียมทั้งหมดสามแบบ โดยให้ขอบเขตการวิเคราะห์ครอบคลุมไปถึงช่วงการเสียรูปแบบถาวร จำลองการรับแรงเมื่อมีแรงกระทำในทิศตามแนวยาว (longitudinal) แนวขวาง (lateral) และเมื่อถูกบิดตามแนวยาวของตัวรถ (torsional load) ผลการวิเคราะห์ที่ได้ประกอบด้วยค่าลักษณะแนวโน้มการกระจายค่าความเค้นที่กระจายอยู่ตามชิ้นส่วนโครงสร้างต่าง ๆ และค่าการเสียรูป คุณสมบัติ ผลการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์พบว่าโครงสร้างตัวถังอะลูมิเนียมทั้งสามแบบที่ทางบริษัทได้ออกแบบมามีความแข็งแรงเพียงพอและปลอดภัยในการนำไปใช้งานโดยทั่วไปในกรณีการรับแรงแบบแนวขวาง และแนวยาว ในขณะที่ค่าการต้านแรงจากการบิด (torsional stiffness) ของแบบโครงที่ศึกษาอยู่ในช่วงเดียวกับค่าของโครงสร้างรถโดยสารเชิงพาณิชย์ของที่อื่น ๆ ที่ใช้วัสดุเหล็กโครงสร้างในการผลิต และผลการลดเนื้อวัสดุบางส่วนในหน้าตัดด้านข้างของชิ้นส่วนโครงสร้างเพื่อลดนำ้หนักสามารถดำเนินการได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อค่าความแข็งแรงโดยรวมของโครงสร้าง สถานภาพงานวิจัย ภายหลังจากการปรับแบบชิ้นส่วนโครงสร้างโดยอ้างอิงจากผลการวิเคราะห์ ทีมวิจัยและบริษัทร่วมดำเนินการทดสอบความแข็งแรงเชิงกลและการทดสอบพลิกคว่ำตามมาตรฐาน UN R66 กับกรมการขนส่งทางบก และอยู่ระหว่างขั้นตอนกระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์ชุดแรกเพื่อส่งมอบให้แก่ลูกค้า แผนงานในอนาคต ร่วมวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังภายใต้เงื่อนไขการรับแรงแบบ explicit/dynamic จากการพลิกคว่ำตามมาตรฐาน […]

Magik Growth: นอนวูฟเวนเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร Magik Growth

ที่มา ประเทศไทยมีศักยภาพทางด้านเกษตรกรรมเนื่องจากมีความได้เปรียบทางสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ แต่ระบบการปลูกพืชส่วนใหญ่ยังคงอาศัยสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ และภูมิอากาศ เป็นปัจจัยหลัก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความต้องการของผู้บริโภคมีเพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่การเพาะปลูกลดลง ทำให้เทคโนโลยีด้านการเกษตรจึงมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิต ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ถุงปลูกพืช ถุงห่อผลไม้ และวัสดุคลุมดิน นับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต โดยเฉพาะกับพืช ผักและผลไม้ที่มีมูลค่าสูง ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรดังกล่าวที่ผลิตและจำหน่ายภายในประเทศส่วนใหญ่ทำจากวัสดุพลาสติก ที่ไม่มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติม ซึ่งแม้จะมีราคาถูกแต่ไม่ได้ส่งเสริมคุณภาพผลผลิต เนื่องจากการถ่ายเทของอากาศและความชื้นภายในถุงมีน้อย ทำให้รากพืชขดงอแผ่ขยายไม่เต็มที่ ส่งผลให้การเจริญเติบโตของพืชไม่ดีเท่าที่ควร เป้าหมาย พัฒนาวัสดุทางเลือกเพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ถุงปลูก ถุงห่อผลไม้ และวัสดุคลุมดิน ทีมวิจัยทำอย่างไร ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร Magik growth ที่ตอบโจทย์ความต้องการของการเกษตรสมัยใหม่ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ทำจากวัสดุผ้าไม่ถักทอ หรือนอนวูฟเวน (nonwoven) ซึ่งมีโครงสร้าง (เช่น ความเป็นรูพรุน ความหนา) ที่เหมาะสมต่อการผ่านของน้ำและอากาศ ทำให้รากพืชมีการเติบโตสมบูรณ์และแผ่กระจายได้ดี อีกทั้งมีการกำหนดช่วงคลื่นแสงที่เหมาะสมตามที่พืชต้องการ ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลิตผลที่สูงขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรหลากหลายประเภท เช่น ถุงเพาะปลูก ถุงห่อผลไม้ และวัสดุคลุมดิน เป็นต้น […]

ถุงพลาสติกย่อยสลายได้สำหรับทิ้งขยะเศษอาหาร

ที่มา ขยะพลาสติกเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขยะพลาสติกประเภทใช้งานเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ซึ่งมักจะถูกนำไปกำจัดโดยการฝังกลบและเผา อย่างไรก็ตาม ขยะพลาสติกบางส่วนที่ถูกทิ้งลงแม่น้ำและไหลสู่ทะเล ได้สร้างผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและกำลังย้อนกลับมาสร้างปัญหาให้แก่มนุษย์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือการพัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพสำหรับการประยุกต์ใช้งานในรูปแบบต่างๆ เป้าหมาย พัฒนาถุงพลาสติกย่อยสลายได้เพื่อสนับสนุนให้เกิดการคัดแยกขยะ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะรีไซเคิลซึ่งมีมูลค่า ทำให้สามารถจัดการขยะอินทรีย์ที่อยู่ในถุงปิดสนิทได้อย่างสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้นต่อผู้ขนถ่ายและกำจัดขยะ ทีมวิจัยทำอย่างไร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร นำแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นผลิตผลจากพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย มาผลิตเป็นเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช (thermoplastic starch) ผ่านกระบวนการอัดรีดด้วยเทคนิค twin screw extrusion และพัฒนาสูตรเม็ดพลาสติกคอมพาวด์ย่อยสลายได้ ที่สามารถขึ้นรูปเป็นต้นแบบ“ถุงพลาสติกย่อยสลายได้” โดยขยายการผลิตในโรงงานด้วยเครื่องเป่าฟิล์มระดับอุตสาหกรรม คุณสมบัติ ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ที่มีองค์ประกอบของแป้งมันปริมาณสูง ที่ผลิตด้วยเครื่องเป่าฟิล์มระดับอุตสาหกรรมมีขนาดถุง 18 นิ้ว x 20 นิ้ว ความหนา 30 ไมครอน มีความแข็งแรงเพียงพอต่อการใช้งานทิ้งเศษขยะอินทรีย์ และจากการทดสอบฝังกลบในดินร่วมกับเศษอาหารพบว่า สามารถย่อยสลายได้ภายในระยะเวลา 4 เดือน สถานภาพงานวิจัย ถุงพลาสติกย่อยสลายได้สามารถขึ้นรูปได้ด้วยกระบวนการเป่าฟิล์มโครงสร้างชั้นเดียว โดยใช้เครื่องจักรระดับอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในประเทศไทย […]

เทคโนโลยีการพิมพ์อาหาร 3 มิติ: นวัตกรรมการผลิตอาหารแห่งอนาคต

เรียบเรียงโดย ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร นวัตกรรมด้านอาหารและการเกษตรเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายรูปแบบเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในด้านคุณภาพเนื้อสัมผัส โภชนาการ รวมถึงสุนทรียภาพในการรับประทาน นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะบุคคล (personalised diets) [1] ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมต่อความต้องการทางร่างกายของบุคคลแต่ละกลุ่ม เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ นักกีฬา ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือทหารในกองทัพที่ต้องรับการฝึกร่างกายหรือออกลาดตระเวนเป็นประจำ นวัตกรรมการผลิตรูปแบบหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้คือ เทคโนโลยีการพิมพ์อาหาร 3 มิติ หรือ 3D food printing เทคโนโลยีนี้อาจตอบโจทย์ท้าทายใหม่ของอุตสาหกรรมอาหารในการจัดเตรียมหรือผลิตอาหารให้เพียงพอต่อประชากรโลกที่คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนสูงถึง 9 พันล้านคนภายในปี 2050 [2] ทั้งนี้เนื่องจาก เทคโนโลยีการพิมพ์อาหาร 3 มิติเป็นกระบวนการผลิตอาหารที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบอย่างคุ้มค่า รักษาคุณค่าทางโภชนาการได้ครบถ้วน และไม่เกิดของเหลือทิ้งในกระบวนการ เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติมีพัฒนาการมานานกว่า 30 ปีแล้ว ในช่วงเริ่มต้นใช้เตรียมต้นแบบรวดเร็ว จึงเรียกแบบรวมๆ ว่า การสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว (rapid prototyping) ส่วนในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ใช้ในการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ (additive manufacturing) ในระดับอุตสาหกรรม เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วในช่วง […]

CERAPORE วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ผลิตจากเถ้าลอย

วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ผลิตจากเถ้าลอย ที่มา ทีมวิจัยเอ็มเทคมีความเชี่ยวชาญในการสังเคราะห์วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากวัตถุดิบหลายชนิดที่มีปริมาณซิลิคอนไดออกไซด์เหมาะสม เช่น เถ้าลอย เถ้าหนัก เศษแร่บางชนิด และดินที่มีมูลค่าต่ำ ประเทศไทยมีเถ้าลอยที่เป็นของเสียจากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินมากกว่า 3 ล้านตันต่อปี เถ้าลอยส่วนใหญ่ถูกกำจัดโดยการฝังกลบจึงก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ ทีมวิจัยเอ็มเทคใช้เถ้าลอยดังกล่าวเพื่อสังเคราะห์เป็นวัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ นับเป็นการจัดการที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เป้าหมาย พัฒนาวัสดุเซรามิกที่มีความพรุนตัวสูงสำหรับใช้ในกระบวนการแยก กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ และกระบวนการเร่งปฏิกิริยา โดยกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์คือ • บริษัท SME ที่นำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปผลิตวัสดุพรุนตัว • อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้วัสดุพรุนตัวในกระบวนการผลิต ทีมวิจัยทำอย่างไร สังเคราะห์วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากเถ้าลอยให้มีความพรุนตัวสูง มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ และทนต่อสภาวะที่มีความชื้นหรือความร้อนได้เป็นอย่างดี กระบวนการสังเคราะห์ ผลการทดสอบ วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์สามารถใช้เป็นเมมเบรนเพื่อทำให้ก๊าซเชื้อเพลิงมีความบริสุทธิ์สูงขึ้น หรืออาจใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการไพโรไลซิสแบบรวดเร็วของกากชีวมวล เพื่อช่วยลดปริมาณออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพ ทำให้มีสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันปิโตรเลียมยิ่งขึ้น อันเป็นการลดต้นทุนการนำเข้าวัสดุดังกล่าวจากต่างประเทศ สถานภาพปัจจุบัน ปัจจุบัน บริษัท เหมืองขุนฝาง จำกัด รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในส่วนการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากแหล่งแร่ โดยบริษัทได้เช่าพื้นที่ในอาคาร INC 2 สำหรับเปิดบริษัทเพื่อสังเคราะห์ซีโอไลต์ที่ได้จากการทำงานวิจัยร่วมกับเอ็มเทค วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ แผนงานในอนาคต ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ภาคเอกชน เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากของเสียเหลือทิ้งชนิดอื่นให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากการใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ติดต่อ เปรียวธิดา จันทรัตน์ […]

1 5 6 7 8 9 23