โครงการวิจัยเด่น

งานวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพเคเบิลสเปเซอร์ชนิดโพลิเอทีลีน

งานวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพเคเบิลสเปเซอร์ชนิดโพลิเอทีลีน ที่มา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้นำรูปแบบการจ่ายไฟฟ้ามาใช้อย่างหลากหลาย อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่นำมาใช้กับการเดินสายเคเบิลอากาศ (space aerial cable, SAC) ได้แก่ เคเบิลสเปเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักของสายเคเบิลอากาศและจัดตำแหน่งสายเคเบิลอากาศให้ปลอดภัยและเป็นระเบียบ เนื่องจากเคเบิลสเปเซอร์โพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (high density polyethylene, HDPE) ที่ กฟภ. จัดซื้อมาใช้งานแตกหักง่าย เสื่อมสภาพจากแสงอาทิตย์ เกิดไฟฟ้าสถิต และลุกติดไฟง่าย ส่งผลให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเกิดความไม่เชื่อมั่น และไม่นำเคเบิลสเปเซอร์ชนิด HDPE ไปใช้งาน ทำให้มีชิ้นงานเหลืออยู่ในคลังพัสดุเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากมีการปรับปรุงคุณภาพเคเบิลสเปเซอร์ชนิด HDPE ให้ดีขึ้นก็จะทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ช่วยลดภาระและต้นทุนในการดำเนินงานของ กฟภ. ให้ต่ำลงได้ เป้าหมาย ศึกษาและรวบรวมข้อมูลสมบัติของเคเบิลสเปเซอร์ชนิด HDPE ที่ กฟภ. ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ออกแบบ และจัดทำเคเบิลสเปเซอร์ต้นแบบให้แข็งแรง ทนต่อรังสียูวี มีสมบัติหน่วงการติดไฟ สามารถใช้งานกับสายเคเบิลอากาศในระบบ 22 kV และ 33 kV ได้ และมีสมบัติเชิงกลที่ดีกว่าเคเบิลสเปเซอร์ที่ กฟภ. ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน […]

ต้นแบบระดับอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตโฟมอะลูมิเนียม

ที่มา โฟมอะลูมิเนียมเป็นวัสดุที่มีโครงสร้างคล้ายโฟมจึงมีสมบัติเด่นหลายประการ ได้แก่ น้ำหนักเบา มีความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง ดูดซับแรงกระแทกและเสียงได้ดี มีพื้นที่ผิวสูง และมีรูปลักษณ์เฉพาะที่ต่างจากวัสดุทั่วไป โฟมอะลูมิเนียมจึงมีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานที่ต้องการสมบัติหลายอย่างร่วมกัน อย่างไรก็ตามวัสดุชนิดนี้ยังมีปัญหาบางประการที่ทำให้การใช้งานยังมีข้อจำกัด เช่น โครงสร้างไม่สม่ำเสมอ ไม่สามารถผลิตให้มีโครงสร้างเฉพาะตามต้องการ และราคาแพง เป้าหมาย พัฒนาโฟมอะลูมิเนียมที่มีโครงสร้างสม่ำเสมอ สามารถออกแบบโครงสร้างเฉพาะได้ตามต้องการ และมีราคาถูก ทีมวิจัยทำอย่างไร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พัฒนาวัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ โดยใช้วัสดุทรงกลมที่ทนอุณหภูมิสูงแต่ละลายน้ำได้เป็นแม่แบบร่างสำหรับทำให้เกิดโพรงในโลหะอะลูมิเนียม โดยเติมโลหะหลอมเหลวเข้าสู่ช่องว่างระหว่างวัสดุทรงกลมด้วยกระบวนการหล่อที่มีแรงสุญญากาศช่วย ในแม่พิมพ์ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับการผลิตโฟมโลหะ ผลงานวิจัย โฟมอะลูมิเนียมที่มีโครงสร้างสม่ำเสมอ และมีโครงสร้างเฉพาะตามที่ออกแบบ ได้แก่ ขนาดโพรง ความพรุน ลักษณะผิวโพรง การบรรจุวัตถุในโพรง และการจัดเรียงโพรง เป็นต้น โฟมอะลูมิเนียมที่ผลิตได้ยังมีราคาต่ำกว่าโฟมอะลูมิเนียมส่วนใหญ่ที่ผลิตในต่างประเทศ สถานภาพงานวิจัย อยู่ระหว่างทดลองผลิตในระดับอุตสาหกรรมร่วมกับบริษัทที่รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี แผนงานในอนาคต พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกับผู้สนใจ สำหรับประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ ทีมวิจัย ดร.สมพงษ์ ศรีมโนเสาวภาคย์นางสาว ชลลดา ดำรงค์กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ ติดต่อ ดร.สมพงษ์ ศรีมโนเสาวภาคย์โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4573 […]

ผงสีและผิวเคลือบสะท้อนรังสีอาทิตย์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

ผงสีและผิวเคลือบสะท้อนรังสีอาทิตย์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ที่มา ปัจจุบันการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารและที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศคิดเป็นร้อยละ 50 จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นเพียง 1ºC จะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ดังนั้น วิธีที่ช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศลงได้คือการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร ผงสีและผิวเคลือบที่สามารถสะท้อนรังสีอาทิตย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งรังสีอินฟราเรดใกล้ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดอุณหภูมิของอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพที่จะทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยเครื่องปรับอากาศภายในอาคารและที่อยู่อาศัยลดลงได้อย่างยั่งยืน ผงสีฟ้า ผงสีส้ม ผงสีแดง เป้าหมาย พัฒนาผงสีที่มีสมบัติสะท้อนรังสีอาทิตย์ได้ดี เพื่อนำผงสีที่ได้ไปผลิตสี (paint) และเคลือบเซรามิก (glaze) สำหรับใช้เป็นวัสดุเปลือกอาคาร เช่น ผนัง และหลังคา สังเคราะห์ผงสีแดง ส้ม และน้ำเงินที่มีค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้เทียบเท่ากับผงสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด พัฒนาสีและเคลือบเซรามิกที่มีค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้เทียบเท่ากับผิวเคลือบที่ใช้ผงสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ทีมวิจัยทำอย่างไร พัฒนาผงสีสะท้อนรังสีอาทิตย์ด้วยเทคนิคปฏิกิริยาสถานะของแข็ง (solid-state reaction) โดยศึกษาตัวแปรต่างๆ ได้แก่ องค์ประกอบของวัตถุดิบตั้งต้น การเติมสารเจือ และสภาวะการเผา เพื่อให้ได้ค่าสีตามที่ต้องการ และได้ค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้สูง พัฒนาสีและเคลือบเซรามิกโดยศึกษาตัวแปรต่างๆ เช่น องค์ประกอบของวัตถุดิบตั้งต้น ปริมาณของผงสีที่เหมาะสม เป็นต้น เพื่อให้ได้ผิวเคลือบที่มีค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้สูง ผลงานวิจัย ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการกระบวนการผลิตผงสีแดง ส้ม และน้ำเงินที่มีค่าสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้เทียบเท่าหรือสูงกว่าผงสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการกระบวนการผลิตสีและเคลือบเซรามิกที่มีสมบัติสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้ อนุสิทธิบัตรการผลิตผงสีส้มสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้ สถานภาพงานวิจัย […]

เตียงตื่นตัว เตียงนอนแบบมีกลไกช่วยผู้สูงอายุในการลุกนั่งและลุกขึ้นยืน (Joey Active Bed)

“เตียงตื่นตัว” เตียงนอนแบบมีกลไกช่วยผู้สูงอายุในการลุกนั่งและลุกขึ้นยืน ที่มา เตียงสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการรักษาหรือผ่าตัดที่มีจำหน่ายในประเทศมีจุดด้อยหลายประการ เช่น ใช้งานยาก เพราะไม่ได้ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ รูปแบบไม่เอื้ออำนวยต่อการขึ้นลงจากเตียงด้วยตัวเอง ลักษณะเตียงให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในโรงพยาบาล อีกทั้งยังมีราคาสูง (200,000 บาทขึ้นไป) เพราะนำเข้าจากต่างประเทศ เป้าหมาย ออกแบบและพัฒนาต้นแบบโครงสร้างเตียงแบบปรับนั่งได้สำหรับใช้งานที่บ้าน เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียง รวมไปถึงผู้สูงอายุที่แม้จะยังแข็งแรง แต่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการรักษาหรือผ่าตัด ทีมวิจัยทำอย่างไร ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจ ออกแบบ “เตียงตื่นตัว” จากมุมมองของผู้ใช้ในด้านต่างๆ หรือที่เรียกว่า “Human-centric design” โดยคำนึงถึงความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ เช่น ช่วยในการเคลื่อนไหว ใช้งานได้ด้วยตนเอง ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ มีราคาเหมาะสม รวมไปถึงบริบทและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ คุณสมบัติ ต้นแบบโครงสร้างเตียงสามารถปรับนั่งและหมุนฐานรองรับฟูกได้ 90 องศา ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการลุกยืนและนั่งหันออกทางด้านข้างเตียง และสามารถช่วยดันตัวผู้ใช้ขึ้นเพื่อช่วยในขั้นตอนการลุกขึ้นยืน พร้อมทั้งรีโมทสำหรับควบคุมที่ได้รับการออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย ส่งผลดีต่อสภาพจิตใจเนื่องจากสามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวได้โดยไม่นอนติดเตียง สถานภาพงานวิจัย ได้อนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยแก่ บริษัท เอสบี ดีไซนด์สแควร์ จํากัด เพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แล้ว แผนงานวิจัยในอนาคต เพิ่มกลไกเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ […]

เครื่องช่วยสาธิตการช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ

ต้นแบบระดับอุตสาหกรรมเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติสำหรับสาธิต เครื่องช่วยสาธิตการช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ ที่มา ในการฝึกอบรมการช่วยชีวิต จะมีการใช้เครื่องช่วยสาธิตการช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED Trainer) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติในการช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เป้าหมาย พัฒนาเครื่องช่วยสาธิตการช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติซึ่งมีการใช้งานที่สอดคล้องกับการฝึกอบรมจริงตามคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต ผลิตใช้ได้ในประเทศทดแทนการนำเข้าเครื่องจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง อีกทั้งพัฒนาแผ่นอิเล็กโทรดสำหรับสาธิตซึ่งออกแบบโดยใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ เพื่อส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศอีก ทีมวิจัยทำอย่างไร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ด้วยการสนับสนุนจากคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิตซึ่งก่อตั้งโดยสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พัฒนาเครื่องช่วยสาธิตการช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติในนามของเครือข่ายนวัตกรรมยางพาราที่สอดคล้องกับการใช้งาน และพัฒนาแผ่นอิเล็กโทรดสำหรับสาธิตจากยางพาราซึ่งทำให้มีราคาถูกและได้ใช้วัตถุดิบในประเทศ คุณสมบัติ เครื่องช่วยสาธิตการช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติที่ได้พัฒนาขึ้นทำงานได้ตรงตามขั้นตอนการฝึกอบรมจริง ใช้งานง่าย สามารถผลิตใช้ได้ในประเทศและมีราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด แผ่นอิเล็กโทรดสำหรับสาธิตสามารถออกแบบโดยใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ ยึดติดได้ดีบนหุ่นสำหรับฝึกหัดการช่วยชีวิตโดยเฉพาะหุ่นที่ผลิตจากยางพาราโดยไม่ทิ้งคราบกาวบนหุ่น และสามารถติดซ้ำได้หลายครั้ง แผนงานในอนาคต พัฒนาวัสดุที่ใช้สำหรับตัวเครื่อง และปรับปรุงรูปแบบการทำงานให้มีความหลายหลายยิ่งขึ้น ทีมวิจัย ดร.ทิพย์จักร ณ ลำปาง และคณะ ติดต่อ ทิพย์จักร ณ ลำปาง (นักวิจัย)กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง (IRM)โทรศัพท์: 02 564 6500 ต่อ 4036อีเมล์: thipjak.nal@mtec.or.th

1 7 8 9 10 11 23