EDCproject

อุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้ายสำหรับรถบรรทุก

ที่มา ข้อมูลของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ระบุว่ารูปแบบอุบัติเหตุที่พบบ่อยและรุนแรงมากที่สุดคือ การที่รถบรรทุกถูกชนท้ายหรือชนจากด้านข้างขณะจอดพักรถริมทาง อุบัติเหตุในลักษณะนี้เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 60 ครั้งต่อปี และมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 1 คนต่อสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืน นอกจากการแก้ปัญหาด้วยการจัดให้มีจุดจอดพักรถแล้ว วิธีการทางเทคนิคที่มีประสิทธิภาพที่ใช้ในต่างประเทศคือ การกำหนดให้ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้ายของรถบรรทุก (underrun protection device) เพื่อป้องกันไม่ให้รถที่เข้ามาชนเกิดความเสียหายและมุดเข้าไปใต้ท้องรถ ปัจจุบันมีผู้ผลิตและประกอบรถบรรทุกในประเทศไทยหลายรายเริ่มติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันด้านข้าง (Lateral Underrun Protection Device, LUPD) และด้านท้าย (Rear Underrun Protection Device, RUPD) แต่อุปกรณ์ดังกล่าวยังไม่แพร่หลายและยังไม่มีมาตรฐานด้านความแข็งแรงมารองรับ ด้วยเหตุนี้ คณะทำงานจึงได้ดำเนินการวิจัยพัฒนาแบบเชิงวิศวกรรมของอุปกรณ์ซี่งได้มาตรฐานภายใต้ความร่วมมือกับสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก และตัวแทนผู้ผลิตและประกอบรถบรรทุก เป้าหมาย พัฒนาแบบเชิงวิศวกรรมอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้าย ร่างข้อกำหนดของอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้ายของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ และร่างข้อกำหนดสำหรับตรวจสอบการผลิตและติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้าย เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้ผลิตและประกอบรถบรรทุกในประเทศไทย ทีมวิจัยทำอย่างไร ศึกษาเปรียบเทียบมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องในการกำหนดอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้าย ได้แก่ UN R58 และ UN R73 ศึกษาปัญหาและรวบรวมแนวทางแก้ไขร่วมกับผู้ผลิตและประกอบรถบรรทุกในประเทศไทย และกรมการขนส่งทางบก ใช้แนวคิด Morphological matrix หรือการผสมฟังก์ชันย่อยของแต่ละชิ้นส่วนเพื่อให้สามารถสับเปลี่ยนชิ้นส่วนหลักต่างๆ […]

การศึกษาผลกระทบด้านความปลอดภัยจากการใช้งานสถานีทดสอบเครื่องยนต์อากาศยานภาคพื้น (Ground Run up Enclosure: GRE) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ที่มา ความปลอดภัยทางด้านการบินมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่และความน่าเชื่อถือขององค์กรที่ประกอบธุรกิจด้านการบินฯ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ จึงหาแนวทางป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติการบินในบริเวณท่าอากาศยาน บริษัทฯ ได้ว่าจ้างทีมวิจัยเอ็มเทคให้ศึกษาความปลอดภัยในการใช้งานสถานีทดสอบเครื่องยนต์อากาศยานภาคพื้น (Ground Run-Up Enclosures, GRE) เนื่องจากตำแหน่งที่ติดตั้งสถานีทดสอบ GRE อาจส่งผลกระทบต่อการบินขึ้น (take off) และร่อนลง (landing) ของอากาศยาน อันเป็นผลมาจากการที่ทิศทางในการทดสอบเครื่องยนต์ของอากาศยานหันเข้าหาอากาศยานที่กำลังใช้งานทางวิ่งขณะบินขึ้นและร่อนลง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยทางการบิน ดังนั้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานทางการบิน รวมทั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยที่เป็นหน่วยงานกำกับด้านความปลอดภัยทางการบินของประเทศมีความเชื่อมั่นในการใช้งานสถานีทดสอบ GRE จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในทุกมิติก่อนการเปิดใช้งานได้จริง เป้าหมาย วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากการใช้งานสถานีทดสอบ GRE เพื่อกำหนดเงื่อนไขและแนวทางการใช้งาน ทีมวิจัยทำอย่างไร 1. ใช้องค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมในการออกแบบและติดตั้งชุดอุปกรณ์ตรวจวัดความเร็วลม 2. ใช้องค์ความรู้ทางด้านสถิติศาสตร์ (statistic science) และการเขียนคอมพิวเตอร์โปรแกรมในการศึกษาหาค่าความเร็วลมและทิศทางลมที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ บริเวณที่มีการติดตั้งสถานีทดสอบ GRE ย้อนหลัง 6 ปี 3. ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (Computer Aided Engineering, CAE) ทางด้านพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ […]

ต้นแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสารชั้นเดียว (12 เมตร) ที่ผ่านมาตรฐานความแข็งแรงตามเงอื่นไขการทดสอบพลิกคว่ำ UN R66

ที่มา กรมการขนส่งทางบกมีนโยบายเห็นชอบกับแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสารที่มีความสูงตั้งแต่ 3.60 เมตรขึ้นไปจะต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบความแข็งแรงตามมาตรฐาน UN R66 ซึ่งว่าด้วยการทดสอบพลิกคว่ำของโครงสร้างรถขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดีเนื่องจากผู้ผลิตและผู้ประกอบรถโดยสารในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังขาดองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมในการออกแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสาร กรมการขนส่งทางบกจึงให้ความสำคัญกับการศึกษาและการออกแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสารให้มีความแข็งแรงเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากลดังกล่าว เพื่อให้ผู้ผลิตในประเทศสามารถนำ แบบที่ได้จากโครงการไปศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการผลิตโครงสร้างตัวถังสำหรับยื่นขอความเห็นชอบแบบตัวถัง และยื่นขอจดทะเบียนจากกรมฯ ต่อไป แนวทางดังกล่าวนี้ยังมีส่วนช่วยยกระดับมาตรฐานวิศวกรรมยานยนต์ของประเทศสำหรับกลุ่มรถโดยสารขนาดใหญ่ที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เป้าหมาย วิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสาร 12 เมตร ทีมี่ความสูงตั้งแต่ 3.60 เมตรขึ้นไป ให้มีความแข็งแรงเป็นไปตามหลักมาตรฐานยานยนต์สากล UN R66 ทั้งนี้สาระสำคัญคือ จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของโครงสร้างยุบตัวล้ำเข้าไปในพื้นที่ปลอดภัย (residual space) ระหว่างการทดสอบพลิกคว่ำ ทีมวิจัยทำอย่างไร 1. วิเคราะห์พฤติกรรมการเสียรูปของโครงสร้างตัวถังรถโดยสารในการทดสอบพลิกคว่ำตามมาตรฐาน UN R66 ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ 2. พิสูจน์ความถูกต้องของกระบวนการวิเคราะห์ (validation) และดำเนินการปรับแบบ (redesign) เพื่อให้ได้แบบที่มีความแข็งแรง 3. ทดสอบพลิกคว่ำจริงกับโครงสร้างโดยสมบูรณ์ของต้นแบบรถโดยสารที่ได้ออกแบบมา ผลงานวิจัย ต้นแบบมาตรฐานโครงสร้างตัวถังรถโดยสาร ที่มีความแข็งแรงผ่านเกณฑ์ตามประกาศกรมการขนส่งทางบกแบบเชิงวิศวกรรม (engineering drawing) คู่มือและข้อควรระวังในการผลิต และแนวทางการตรวจสอบ ความถูกต้องของโครงสร้างที่ผลิตตามแบบมาตรฐานสร็จสมบูรณ์ สถานภาพการวิจัย เสร็จสมบูรณ์ แผนงานวิจัยในอนาคต ศึกษาและปรับปรุงแบบโครงสร้างในขั้นต่อไป […]

Thermoplastic starch จากกระบวนการอัดรีดแบบสกรูคู่

ที่มา ยางรถฟอร์คลิฟท์เป็นผลิตภัณฑ์ยางตันขนาดใหญ่ซึ่งใช้กับรถยกของตามโรงงานต่าง ๆ เนื่องจากรถฟอร์คลิฟท์ต้องรับน้ำหนักสูงและอาจถูกใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ยางรถโฟล์คลิฟท์จึงต้องมีความแข็งแรงสูง ทนทานต่อการสึกหรอได้ดี และมีความร้อนสะสมที่เกิดจากการใช้งานต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงการระเบิดที่อาจเกิดขึ้นในสภาวะที่ใช้งานหนักและต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ยางรถฟอร์คลิฟท์จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องผลิตจากยางธรรมชาติเพราะยางธรรมชาติมีสมบัติเชิงกลดีเยี่ยม มีความยืดหยุ่นสูง และมีความร้อนสะสมต่ำ อย่างไรก็ดี เนื่องจากความแตกต่างทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ส่งผลทําให้ยางรถโฟล์คลิฟท์ของแต่ละบริษัทมีต้นทุนและคุณภาพที่แตกต่างกัน บริษัทสยามไพโอเนียร์รับเบอร์ จํากัด เป็นบริษัทฯ ผู้ผลิตยางล้อตันสําหรับใช้กับรถฟอร์คลิฟท์ภายใต้เครื่องหมายการค้า PIO-TYRE, BIG-TYRES และ JR-TYRES ที่เริ่มทําการผลิตและจําหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ จากกระแสความห่วงใยในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้น บริษัทฯ จึงว่าจ้างทีมวิจัยเอ็มเทควิจัยและพัฒนายางล้อตันให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น เป้าหมาย (1) องค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตและต้นแบบเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากกระบวนการอัดรีดแบบสกรูคู่ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม (2) คอมพาวด์หรือพลาสติกผสมระหว่างเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชกับโพลิเมอร์ย่อยสลายได้ที่พร้อมนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ ทีมวิจัยทำอย่างไร ทีมวิจัยใช้องค์ความรู้ด้านกระบวนการอัดรีดแบบสกรูคู่ โดยออกแบบสกรู รวมถึงกระบวนการหลอมผสมและควบคุมระบบสุญญากาศในการดึงน้ำออก เพื่อแปรเปลี่ยนวัตถุดิบแป้งมันสำปะหลังให้เป็นเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช รวมถึงกระบวนการเตรียมพลาสติกผสมหรือคอมพาวด์ที่พร้อมใช้งาน โดยในขั้นตอนสุดท้าย ทีมวิจัยได้สาธิตการเตรียมผลิตภัณฑ์ฟิล์มบางด้วยกระบวนการเป่า (blown film process) ผลงานวิจัย สร้างองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตและต้นแบบเม็ดพลาสติกเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช สามารถผลิตต้นแบบเม็ดพลาสติกผสมหรือคอมพาวด์ระหว่างเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชกับโพลิเมอร์ย่อยสลายได้ ผลิตต้นแบบฟิล์มเป่าขึ้นรูปที่สามารถย่อยสลายได้ เนื่องจากมีองค์ประกอบของแป้งในปริมาณสูง สถานภาพการวิจัย เสร็จสมบูรณ์ แผนงานวิจัยในอนาคต […]

การพัฒนาของผสมฐานมอลโตเดกซ์ตรินเพื่อปรับความหนืดของอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก

ที่มา ภาวะกลืนลำบาก (dysphagia) คือภาวะที่มีความผิดปกติในการส่งผ่านอาหารจากช่องปากไปยังอวัยวะในระบบทางเดินอาหารส่วนอื่นๆ ทำให้ไม่สามารถกลืนอาหารได้เหมือนคนปกติ และมักนำไปสู่การสำลักขณะกลืนอาหารได้ ภาวะนี้อาจทำให้เกิดการขาดน้ำและสารอาหาร อันนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อจากการสำลักจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ บริษัท สยาม มอดิฟายด์ สตาร์ช จำกัด เป็นบริษัทผู้นำในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สตาร์ชมันสําปะหลังแปรรูปที่สำคัญของประเทศไทยและของโลก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร/เครื่องดื่มสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากในรูปแบบผงปรับความหนืด เพื่อรองรับความต้องการของผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากและผู้สูงอายุที่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามสภาวการณ์สังคมผู้สูงวัย (aged society) ของประเทศไทยในปัจจุบัน บริษัทฯ ได้จ้างศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติให้ศึกษาและวิเคราะห์สมบัติต่างๆ โดยเฉพาะสมบัติเชิงรีโอโลยีของของผสมฐานมอลโตเดกซ์ตริน ที่ระดับความหนืด 3 ระดับ ได้แก่ Nectar-like, Honey-like และ Pudding-like ตามเกณฑ์ National Dysphagia Diet (NDD) เพื่อใช้เป็นผงปรับความหนืด (thickening powder) สำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก โดยมีเป้าหมายให้ผลปรับความหนืดนี้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ทางการค้าที่บริษัทฯ สนใจ เป้าหมาย สูตรผลิตภัณฑ์ผงปรับความหนืดจากของผสมฐานมอลโตเดกซ์ตริน ทีมวิจัยทำอย่างไร วิเคราะห์สมบัติต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ผงปรับความหนืดทางการค้า วิเคราะห์สมบัติพื้นฐานของสารไฮโดรคอลลอยด์ต่างๆ พัฒนาสูตรต้นแบบผงปรับความหนืดและวิเคราะห์สมบัติต่างๆ โดยเน้นสมบัติรีโอโลยี ศึกษาอิทธิพลของความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิ และเอนไซม์อะไมเลสต่อสมบัติรีโอโลยีของสูตรต้นแบบ […]

1 2 3 4 5