EDCproject

การศึกษาและพัฒนาการใช้งาน FPA300 ในอุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา FPA300 เป็นสารช่วยขึ้นรูป (processing aid) ที่มีคุณสมบัติช่วยลดความเสียดทานของการลำเลียงวัตถุดิบในกระบวนการขึ้นรูปพลาสติก และช่วยป้องกันการหยดของพลาสติกขณะติดไฟ อย่างไรก็ตาม การสังเคราะห์ FPA300 มักได้อนุภาคของ FPA300 ตั้งแต่ขนาดใหญ่ กลาง และเล็กมากในระดับน้อยกว่า 75 ไมครอน (FPA300 fibrils) ปะปนกัน ซึ่งทุกขนาดมีองค์ประกอบทางเคมีที่เหมือนกัน แต่ขนาดอนุภาคที่เล็กมากจะมีลักษณะฟูทำให้การลำเลียงเข้าสู่สกรูเพื่อหลอมขึ้นรูปทำได้ยาก หรือไม่สามารถกำหนดปริมาณได้อย่างสม่ำเสมอจึงจำเป็นต้องคัดแยกออก ปัจจุบันบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) มีปริมาณ FPA300 fibrils ที่คัดแยกและเก็บสะสมไว้ถึง 200 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 60 ล้านบาท บริษัทฯ จึงต้องการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำ FPA300 fibrils มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เป้าหมาย ออกแบบและพัฒนาต้นแบบโครงสร้างเตียงแบบปรับนั่งได้สำหรับใช้งานที่บ้าน เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุที่แข็งแรงหรือนอนติดเตียง รวมทั้งผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการรักษาหรือผ่าตัด ทีมวิจัยทำอย่างไร ใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมการขึ้นรูปพลาสติก (compression/grinding/extrusion/injection molding) ในการเปลี่ยน FPA300 fibrils ให้เป็นเม็ดที่ไหลได้อย่างอิสระ และทดสอบสมบัติในด้านต่างๆ ของชิ้นงานที่เติมเม็ด […]

“เตียงตื่นตัว” หรือ เตียงนอนแบบมีกลไกช่วยผู้สูงอายุในการลุกนั่งและลุกขึ้นยืน (Joey-Active Bed)

ที่มา เตียงสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการรักษาหรือผ่าตัดที่มีจำหน่ายในประเทศ มีจุดด้อยหลายประการ เช่น ใช้งานยากเพราะไม่ได้ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ รูปแบบไม่เอื้ออำนวยต่อการขึ้นลงจากเตียงด้วยตัวเอง ลักษณะเตียงให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในโรงพยาบาล อีกทั้งมีราคาสูง เพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เป้าหมาย ออกแบบและพัฒนาต้นแบบโครงสร้างเตียงแบบปรับนั่งได้สำหรับใช้งานที่บ้าน เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุที่แข็งแรงหรือนอนติดเตียง รวมทั้งผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการรักษาหรือผ่าตัด ทีมวิจัยทำอย่างไร 1. ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจ 2. ออกแบบ “เตียงตื่นตัว” จากมุมมองของผู้ใช้ในด้านต่างๆ หรือที่เรียกว่า Human-centric design โดยคำนึงถึงความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ เช่น ช่วยในการเคลื่อนไหว ใช้งานได้ด้วยตนเอง ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ และราคาเหมาะสม คุณสมบัติ ต้นแบบโครงสร้างเตียง สามารถปรับนั่งและหมุนฐานรองรับฟูกได้ 90 องศา ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการลุกยืนและนั่งหันออกทางด้านข้างเตียง ทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย ส่งผลดีต่อสภาพจิตใจเนื่องจากสามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวได้โดยไม่นอนติดเตียง สถานภาพการวิจัย ต้นแบบเตียงถูกนำไปใช้งานที่โรงพยาบาลกลาง และสถาบันประสาทวิทยา ตั้งแต่ปี 2561 และยังใช้งานต่อเนื่องที่โรงพยาบาลกลางถึงปัจจุบัน (2563) ได้อนุญาตให้ใช้สิทธิประโยชน์จากผลงานวิจัยแก่ บริษัท เอสบี ดีไซนด์ สแควร์ จํากัด เพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แล้ว แผนงานวิจัยในอนาคต เพิ่มกลไกเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ […]

คู่มือการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจไทย (ฉบับผู้ปฏิบัติ)

ที่มา คณะกรรมการประเมินผลงานรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กำหนดให้ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการประเมินผลการดำเนินงานประจำปีของรัฐวิสาหกิจ โดยใช้แนวทางในการประเมินภายใต้กรอบ ISO 14045 Eco-efficiency assessment of product systems-Principles, requirements and guidelines พิจารณาควบคู่กับการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Asessment, LCA) จึงร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) พัฒนาคู่มือการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจไทย (ฉบับผู้ปฏิบัติ) เป้าหมาย เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานให้แก่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจนำไปใช้ประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจขององค์กร รวมถึงจัดทำตัวชี้วัดในการประเมินองค์กรที่ตอบโจทย์ของ สคร. เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงองค์กรให้มุ่งสู่ความยั่งยืนต่อไป ทีมวิจัยทำอย่างไร ร่วมกับคณะกรรมการเทคนิคด้านประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินวัฏจักรชีวิตและประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจในการพัฒนาคู่มือฯ โดยทุกหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิต (LCI database) ที่ TIIS พัฒนาขึ้นในการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ เพื่อให้มีมาตรฐานการใช้ข้อมูลในระดับเดียวกัน ผลงานวิจัย คู่มือฯ ได้แนะนำขั้นตอนการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ สำหรับรัฐวิสาหกิจตามมาตรฐาน ISO 14045 ดังนี้ นอกจากนี้ในคู่มือฯ ยังได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาองค์กรที่ดำเนินการด้านประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจแยกตามประเภทของธุรกิจอีกด้วย สถานภาพการวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจแล้ว โดยเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (http://www.sepo.go.th/content/321) ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF […]

การวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างรถโดยสารตัวถังอะลูมิเนียม

ที่มา บริษัท สกุลฎ์ซี จำกัด มีแนวคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นรถโดยสารขนาดเล็ก ตัวถังอะลูมิเนียม ให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย แทนเหล็กรูปพรรณแบบเดิมที่ใช้ผลิตกันในประเทศไทย และต้องการประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังที่ทางบริษัทฯ ได้ออกแบบมาในเบื้องต้นด้วยเทคโนโลยีการออกแบบและวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมเพื่อเป็นการประหยัดเวลาจากกระบวนการลองผิดลองถูกสำหรับการปรับแบบโครงสร้างให้เหมาะสม รวมถึงการสร้างต้นแบบและการทดสอบต่าง ๆ ก่อนขั้นตอนการผลิตจริง เป้าหมาย วิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังรถโดยสารอะลูมิเนียมภายใต้เงื่อนไขการรับแรงแบบสถิต (static) ด้วยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (Computer-Aided Engineering; CAE) เพื่อประเมินความปลอดภัยเบื้องต้นก่อนนำไปผลิตจริง ทีมวิจัยทำอย่างไร ดำเนินการวิเคราะห์ทำนายความสามารถในการรับแรงของโครงสร้างตัวถังรถโดยสารที่ทำจากอะลูมิเนียมทั้งหมดสามแบบ โดยให้ขอบเขตการวิเคราะห์ครอบคลุมไปถึงช่วงการเสียรูปแบบถาวร จำลองการรับแรงเมื่อมีแรงกระทำในทิศตามแนวยาว (longitudinal) แนวขวาง (lateral) และเมื่อถูกบิดตามแนวยาวของตัวรถ (torsional load) ผลการวิเคราะห์ที่ได้ประกอบด้วยค่าลักษณะแนวโน้มการกระจายค่าความเค้นที่กระจายอยู่ตามชิ้นส่วนโครงสร้างต่าง ๆ และค่าการเสียรูป คุณสมบัติ ผลการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์พบว่าโครงสร้างตัวถังอะลูมิเนียมทั้งสามแบบที่ทางบริษัทได้ออกแบบมามีความแข็งแรงเพียงพอและปลอดภัยในการนำไปใช้งานโดยทั่วไปในกรณีการรับแรงแบบแนวขวาง และแนวยาว ในขณะที่ค่าการต้านแรงจากการบิด (torsional stiffness) ของแบบโครงที่ศึกษาอยู่ในช่วงเดียวกับค่าของโครงสร้างรถโดยสารเชิงพาณิชย์ของที่อื่น ๆ ที่ใช้วัสดุเหล็กโครงสร้างในการผลิต และผลการลดเนื้อวัสดุบางส่วนในหน้าตัดด้านข้างของชิ้นส่วนโครงสร้างเพื่อลดนำ้หนักสามารถดำเนินการได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อค่าความแข็งแรงโดยรวมของโครงสร้าง สถานภาพงานวิจัย ภายหลังจากการปรับแบบชิ้นส่วนโครงสร้างโดยอ้างอิงจากผลการวิเคราะห์ ทีมวิจัยและบริษัทร่วมดำเนินการทดสอบความแข็งแรงเชิงกลและการทดสอบพลิกคว่ำตามมาตรฐาน UN R66 กับกรมการขนส่งทางบก และอยู่ระหว่างขั้นตอนกระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์ชุดแรกเพื่อส่งมอบให้แก่ลูกค้า แผนงานในอนาคต ร่วมวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังภายใต้เงื่อนไขการรับแรงแบบ explicit/dynamic จากการพลิกคว่ำตามมาตรฐาน […]

เตียงตื่นตัว เตียงนอนแบบมีกลไกช่วยผู้สูงอายุในการลุกนั่งและลุกขึ้นยืน (Joey Active Bed)

“เตียงตื่นตัว” เตียงนอนแบบมีกลไกช่วยผู้สูงอายุในการลุกนั่งและลุกขึ้นยืน ที่มา เตียงสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการรักษาหรือผ่าตัดที่มีจำหน่ายในประเทศมีจุดด้อยหลายประการ เช่น ใช้งานยาก เพราะไม่ได้ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ รูปแบบไม่เอื้ออำนวยต่อการขึ้นลงจากเตียงด้วยตัวเอง ลักษณะเตียงให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในโรงพยาบาล อีกทั้งยังมีราคาสูง (200,000 บาทขึ้นไป) เพราะนำเข้าจากต่างประเทศ เป้าหมาย ออกแบบและพัฒนาต้นแบบโครงสร้างเตียงแบบปรับนั่งได้สำหรับใช้งานที่บ้าน เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียง รวมไปถึงผู้สูงอายุที่แม้จะยังแข็งแรง แต่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการรักษาหรือผ่าตัด ทีมวิจัยทำอย่างไร ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจ ออกแบบ “เตียงตื่นตัว” จากมุมมองของผู้ใช้ในด้านต่างๆ หรือที่เรียกว่า “Human-centric design” โดยคำนึงถึงความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ เช่น ช่วยในการเคลื่อนไหว ใช้งานได้ด้วยตนเอง ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ มีราคาเหมาะสม รวมไปถึงบริบทและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ คุณสมบัติ ต้นแบบโครงสร้างเตียงสามารถปรับนั่งและหมุนฐานรองรับฟูกได้ 90 องศา ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการลุกยืนและนั่งหันออกทางด้านข้างเตียง และสามารถช่วยดันตัวผู้ใช้ขึ้นเพื่อช่วยในขั้นตอนการลุกขึ้นยืน พร้อมทั้งรีโมทสำหรับควบคุมที่ได้รับการออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย ส่งผลดีต่อสภาพจิตใจเนื่องจากสามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวได้โดยไม่นอนติดเตียง สถานภาพงานวิจัย ได้อนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยแก่ บริษัท เอสบี ดีไซนด์สแควร์ จํากัด เพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แล้ว แผนงานวิจัยในอนาคต เพิ่มกลไกเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ […]

1 2 3 4 5