เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย
Cenospheres Separation from Fly Ash
การใช้ถ่านหินลิกไนต์เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า จะได้เถ้าถ่านหินเป็นวัสดุพลอยได้กว่า 3.5 ล้านตัน/ปี แบ่งเป็นเถ้าลอย 80% และเถ้าหนักประมาณ 20% การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างมูลค่าเพิ่มของวัสดุพลอยได้จึงเป็นที่มาของการพัฒนากระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย
แนวคิดหลัก
เซโนสเฟียร (Cenospheres) เป็นอนภุาคโครงสร้างกลม กลวง มี องค์ประกอบทางเคมีคล้ายคลึงกับเถ้าลอยคือมีซิลิกาและอะลูมินาเป็นองค์ประกอบหลักเซโนสเฟียร์ มีน้ำหนักเบา มีความหนาแน่นต่ำ เป็นฉนวนกันความร้อน ทนต่อสารเคมี ทนต่อแรงอัดที่สูง ดูดซึมน้ำน้อย และไหลร่วนตัวดีจึงใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์, พลาสติกน้ำหนักเบา, วัสดุกันเสียง, วัสดุกันลามไฟ, ซีเมนต์, สีและสารเคลือบผิว เป็นต้น
จุดเด่นของผลงานวิจัย
> องค์ความรู้เรื่องกระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอยที่เป็นระบบทั้งกระบวนการแบบเปียกและแบบแห้ง
> ฐานข้อมูลเชิงวัสดุและคุณภาพของเซโนสเฟียร์ที่ได้จากเถ้าลอยโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
> ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเถ้าลอยอย่างเป็นรูปธรรมอีกแนวทางหนึ่ง
สถานภาพผลงานวิจัย
– ต้นแบบกระบวนการคัดแยกแบบเปียกระดับขยายสเกลที่สามารถคัดแยกเซโนสเฟียร์ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง
– ต้นแบบกระบวนการคัดแยกแบบแห้งภาคสนามที่มีประสิทธิภาพการคัดแยกเถ้าลอยได้หลายชนิดและมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ติดตั้ง ณ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ. ลำปางแล้ว
– มีการจ้างงานคนในชุมชนใกล้เคียงโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
ทีมวิจัยและพัฒนา
ดร. ศรชล โยริยะ
น.ส. อังคณา ชุมภู
น.ส. ภัทรธิชา เทพศรี
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม
ดร. ศรชล โยริยะ
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4224
Email : sorachy@mtec.or.th
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช.