วัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรม
ที่มา
จีโอโพลีเมอร์ (Geopolymer) ได้รับความสนใจ เนื่องจากมีสมบัติคล้ายกับเซรามิกทั่วไป แต่การขึ้นรูปสามารถทำได้ที่อุณหภูมิห้องโดยกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน จึงใช้พลังงานในการผลิตต่ำกว่าการผลิตเซรามิกโดยทั่วไป อีกทั้งสามารถใช้วัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเป็นวัตถุดิบได้อีกด้วย
เป้าหมาย
ทีมวิจัยเอ็มเทคนำโดย ดร.อนุชา วรรณก้อน ได้วิจัยและพัฒนาจีโอโพลิเมอร์จากวัสดุเหลือทิ้ง เพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนเซรามิก
ทีมวิจัยทำอย่างไร
• วิเคราะห์องค์ประกอบของของเสียจากอุตสาหกรรม เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตจีโอโพลิเมอร์
• พัฒนาสูตรและศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตจีโอโพลิเมอร์ให้มีสมบัติตามต้องการ
• พัฒนาจีโอโพลีเมอร์เป็นผลิตภัณฑ์
• ทดสอบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม
สถานภาพงานวิจัย
ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ กระเบื้องจีโอโพลิเมอร์ตกแต่งจากเศษแก้ว อิฐจีโอโพลิเมอร์ลายหิน และอิฐมวลเบาคอมโพสิตจากจีโอโพลิเมอร์ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี
ผลการทดสอบ
• การขึ้นรูปสามารถทำได้ที่อุณหภูมิห้อง
• กระบวนการขึ้นรูปไม่ซับซ้อน
• ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายทั้งสมบัติและรูปแบบ
แผนงานในอนาคต
วิจัยและพัฒนาจีโอโพลิเมอร์ใน 3 แนวทาง ได้แก่
• พัฒนาจีโอโพลิเมอร์เนื้อแน่น (dense geopolymer) สำหรับใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง
• พัฒนาจีโอโพลิเมอร์พรุน (porous geopolymer) สำหรับใช้เป็นวัสดุฉนวนกันความร้อน
• ขึ้นรูปจีโอโพลิเมอร์ด้วยการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ (additive manufacturing)
ติดต่อ
เปรียวธิดา จันทรัตน์ นักวิเคราะห์ หน่วยวิจัยเซรามิกส์
โทร: 02 564 6500 ต่อ 4302
อีเมล: priawthida.jan@mtec.or.th