ต้นแบบระบบหุ่นยนต์เชื่อมพอกอัตโนมัติ
ที่มา
การซ่อมชิ้นส่วนวิศวกรรมของโรงผลิตไฟฟ้าที่สึกหรอมักใช้ช่างเชื่อมที่มีความเชี่ยวชาญสูงในการเชื่อมพอกเติมเนื้อและเชื่อมพอกผิวแข็ง แต่ช่างเชื่อมเหล่านี้เริ่มหายาก มีอายุมาก มีอัตราค่าจ้างสูง และอาจใช้เวลาเชื่อมนาน นอกจากนี้คุณภาพของรอยเชื่อมอาจไม่สม่ำเสมอขึ้นกับความเหนื่อยล้าของช่างเชื่อม เกิดปัญหาต้องกลับมาซ่อมใหม่ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย รวมถึงเสียโอกาสในการผลิตไฟฟ้า
เป้าหมาย
พัฒนาระบบหุ่นยนต์เชื่อมพอกอัตโนมัติที่มีระบบสั่งการผ่านซอฟต์แวร์ มีการออกแบบให้หัวเชื่อมยาว หักมุมได้ และควบคุมระยะห่างจากชิ้นงานได้อัตโนมัติ เพื่อให้สามารถเชื่อมชิ้นงานที่มีความลึกหรือชิ้นงานขนาดใหญ่ เช่น ระบบท่อ วาล์ว และเพลาได้ โดยที่หัวเชื่อมไม่ชนกับชิ้นงาน
ทีมวิจัยทำอย่างไร
- สำรวจความต้องการของผู้ใช้งาน
- ออกแบบระบบเชิงกล
- ออกแบบระบบไฟฟ้าและมอเตอร์
- พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์
- ทดสอบการใช้งาน
- อบรมการใช้งานให้แก่ผู้ใช้
ผลการทดสอบ
- ช่างเชื่อมทำงานได้สะดวก
- ขั้นตอนการทำงานลดลง
- งานมีคุณภาพดี
- เวลาในการซ่อมบำรุงลดลงจาก 7 วัน เหลือ 2 วัน
- ต้นทุนลดลงร้อยละ 40
- โอกาสในการผลิตไฟฟ้าได้เร็วขึ้น
สถานภาพงานวิจัย
ต้นแบบระบบหุ่นยนต์เชื่อมพอกอัตโนมัติเป็นโครงการรับจ้างวิจัยที่ได้รับทุนจาก กฟผ. และเริ่มใช้งานจริง ณ ศูนย์ซ่อมและผลิตอะไหล่โรงไฟฟ้า (สำนักงานหนองจอก) ตั้งแต่เดือนกันยายน 2560
แผนงานในอนาคต
- พัฒนาหุ่นยนต์เชื่อมซ่อมภายนอก (โครงการแรก) ให้ดีขึ้น
- พัฒนาหุ่นยนต์เชื่อมซ่อมแบบเคลื่อนย้ายได้สำหรับการปฏิบัติงานในภาคสนาม
ทีมวิจัย
- เอ็มเทค : ดร.นิรุตต์ นาคสุข และคณะ
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) : ฝ่ายโรงงานและอะไหล่
ติดต่อ
ดร.นิรุตต์ นาคสุข ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ
โทรศัพท์: 02 564 6500 ext. 4149
อีเมล: nirutn@mtec.or.th
รัชนี ม้าทอง นักวิเคราะห์อาวุโส กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ
โทรศัพท์: 02 564 6500 ต่อ 4313
อีเมล: rutchanc@mtec.or.th