การพัฒนาเครื่องมือด้าน IT เพื่อสนับสนุนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
ที่มา
การที่จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนได้จะต้องเปลี่ยนวิธีการผลิต การบริโภคสินค้า และการใช้ทรัพยากร ดังนั้นการส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการสร้างของเสียจึงเป็นสิ่งสำคัญ
เป้าหมาย
พัฒนาเครื่องมือด้าน IT ที่ใช้งานง่ายและสื่อสารข้อมูลที่นำไปสู่การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
ทีมวิจัยทำอย่างไร
- สร้างข้อมูลพื้นฐานจากการดำเนินการในสภาวะปกติ
- คำนวณและประเมินตามหลักวิทยาศาสตร์และสากล
- แปลผลในรูปแบบต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นประเด็นสำคัญ นำไปสู่การปรับปรุงการผลิตและการบริโภค
ตัวอย่างเครื่องมือ
- MFA Pro – Material Flow Analysis: โปรแกรมประเมินการไหลของปาล์มตั้งแต่เข้าโรงงานผ่านกระบวนการผลิตจนได้น้ำมันปาล์ม รวมถึงประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย อุตสาหกรรมสามารถนำข้อมูลที่ได้จากโปรแกรมไปปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น โดยได้นำไปใช้ในภาคธุรกิจและบริการแล้ว
- Lookie Waste: แอปพลิเคชันสำหรับมือถือที่ช่วยสร้างความตระหนักให้แก่ผู้บริโภคให้บริโภคแบบพอดี เพื่อลดของเสียจากเศษอาหาร โดยได้นำไปใช้ในภาคธุรกิจและบริการแล้ว
- WELA: เว็บแอปพลิเคชันที่ใช้ในการประเมินวัฏจักรชีวิต โดยนำไปใช้งานในช่วงปลายปี 2561
ผลการทดสอบ
- มีความเฉพาะเจาะจงกับการใช้งาน
- เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้ง่าย
- ใช้งานสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และช่วยลดข้อผิดพลาดของการทำงาน
- สื่อสารข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภค
ผลกระทบ
- ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออกได้รับประโยชน์
- ข้อมูลที่ได้จาก MFA Pro ช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันปาล์มสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิต และลดค่าใช้จ่ายในการผลิต อีกทั้งสร้างโอกาสในการแข่งขัน
- Lookie Waste แอปช่วยสร้างความตระหนักให้ผู้บริโภคลดหรือเลิกการทิ้งอาหารที่เหลือจากการบริโภค ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายของตนเอง และลดปริมาณขยะที่นับวันจะสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
- WELA ระบบประมวลผลข้อมูลทางด้าน Life Cycle Assessment ตามมาตรฐานสากล สามารถใช้อ้างอิง และนำข้อมูลไปใช้ในเชิงนโยบาย หรือการประเมินต่างๆ ในประเทศไทย เช่น ฉลากสิ่งแวดล้อม
แผนงานในอนาคต
ศึกษามาตรการที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของไทย เพื่อเตรียมความพร้อมของภาคการผลิตและบริการให้สอดรับกับมาตรฐานและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของนานาชาติ และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงจัดทำข้อเสนอแนะเชิงเทคนิคที่สนับสนุนนโยบายที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทีมวิจัย
ดร.จิตติ มังคละศิริ และคณะ
ติดต่อ
ดร.จิตติ มังคละศิริ สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS)
โทรศัพท์: 02 564 6500 ต่อ 4063
อีเมล: jittim@mtec.or.th