งานวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพเคเบิลสเปเซอร์ชนิดโพลิเอทีลีน
ที่มา
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้นำรูปแบบการจ่ายไฟฟ้ามาใช้อย่างหลากหลาย อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่นำมาใช้กับการเดินสายเคเบิลอากาศ (space aerial cable, SAC) ได้แก่ เคเบิลสเปเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักของสายเคเบิลอากาศและจัดตำแหน่งสายเคเบิลอากาศให้ปลอดภัยและเป็นระเบียบ
เนื่องจากเคเบิลสเปเซอร์โพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (high density polyethylene, HDPE) ที่ กฟภ. จัดซื้อมาใช้งานแตกหักง่าย เสื่อมสภาพจากแสงอาทิตย์ เกิดไฟฟ้าสถิต และลุกติดไฟง่าย ส่งผลให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเกิดความไม่เชื่อมั่น และไม่นำเคเบิลสเปเซอร์ชนิด HDPE ไปใช้งาน ทำให้มีชิ้นงานเหลืออยู่ในคลังพัสดุเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นหากมีการปรับปรุงคุณภาพเคเบิลสเปเซอร์ชนิด HDPE ให้ดีขึ้นก็จะทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ช่วยลดภาระและต้นทุนในการดำเนินงานของ กฟภ. ให้ต่ำลงได้
เป้าหมาย
ศึกษาและรวบรวมข้อมูลสมบัติของเคเบิลสเปเซอร์ชนิด HDPE ที่ กฟภ. ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ออกแบบ และจัดทำเคเบิลสเปเซอร์ต้นแบบให้แข็งแรง ทนต่อรังสียูวี มีสมบัติหน่วงการติดไฟ สามารถใช้งานกับสายเคเบิลอากาศในระบบ 22 kV และ 33 kV ได้ และมีสมบัติเชิงกลที่ดีกว่าเคเบิลสเปเซอร์ที่ กฟภ. ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน กฟภ. จะติดตั้งเคเบิลสเปเซอร์ชนิด HDPE ต้นแบบเพื่อทดลองใช้งานในสภาพแวดล้อมต่างๆ
ทีมวิจัยทำอย่างไร
- ออกแบบและวิเคราะห์
- เลือกวัสดุที่เหมาะสม
- ปรับปรุงกระบวนการผลิต
ผลงานวิจัย
เคเบิลสเปเซอร์ชนิด HDPE ที่มีสมบัติตามที่ระบุไว้ในเป้าหมาย ได้แก่ มีสมบัติเชิงกลที่ดีกว่าเดิม ใช้งานกับสายเคเบิลอากาศในระบบ 22 kV และ 33 kV ได้ หน่วงการติดไฟ และทนต่อรังสียูวี
สถานภาพงานวิจัย
สิ้นสุดโครงการ
แผนงานในอนาคต
ต่อยอดองค์ความรู้จากโครงการดังกล่าวเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่
ติดต่อ:
ดร.วุฒิพงษ์ รังสีสันติวานนท์ (นักวิจัย)
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง
โทรศัพท์ 02 564 6500 ต่อ 4363
อีเมล wuttir@mtec.or.th