โครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) โดยครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ กระบวนการผลิต การเลือกใช้วัตถุดิบ การใช้งาน  และการจัดการเมื่อสิ้นอายุการใช้งานหรือไม่ใช้แล้ว  ให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้ที่สนใจ
  2. เพื่อพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ผ่านการออกแบบเพื่อพัฒนาต้นแบบด้วยหลักการ Circular Economy   ให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และลดการใช้รัพยากรธรรมชาติใหม่

หน่วยงานผู้ให้ทุน

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม

ระยะเวลาโครงการ

เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565

เศรษฐกิจโลก ที่ผ่านมาพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของเศรษฐกิจเส้นตรง (Linear Economy) ที่ ผลิต-ใช้-กำจัด การออกแบบจึงไม่ได้คำนึงถึงการคงคุณค่า หรือ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่อาจเกิดขึ้นตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle) ของผลิตภัณฑ์ (รวมถึงบรรจุภัณฑ์) ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า และ ปริมาณขยะหรือของเสียทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  การคิดใหม่/การออกแบบใหม่ (Rethink/Redesign) จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อก่อให้เกิดรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลัก ในการจัดหาและบริหารจัดการวัตถุดิบ  จึงได้ริเริ่มโครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยได้มอบหมายให้เอ็มเทค เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินโครงการ โดยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ไทยบรรลุเป้าหมายทิศทางการพัฒนาประเทศเพื่อให้ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ 

การจัดหลักสูตรเข้มข้น

หลักสูตรเข้มข้นได้จัดขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ/หรือกระบวนการ ที่สอดคล้องกับหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน (6 interlinked CE principles) และพิจารณาตลอดช่วงชีวิต (Life cycle thinking) โดยได้พัฒนาต่อยอดจากหลักสูตรก่อนหน้านี้ และมีวิทยากรหลัก คือ Professor Mattias Lindahl จาก Linköping University ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติด้าน Eco-design และ Product Service Systems และเป็นผู้เชี่ยวชาญร่วมในโครงการฯ ร่วมกับวิทยากรจากองค์กรแนวหน้าของประเทศสวีเดนและวิทยากรชาวไทย

การอบรมนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 359 คน จากทุกภาคส่วน โดยพบว่าผู้เข้าร่วมมีการคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น มีการปรับมุมมองไปในแนวทางที่เป็นสากลมากขึ้น ทั้งยังได้เห็นความสำคัญของการคิดเชิงระบบ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

หลักสูตรเข้มข้น“ติดอาวุธอุตสาหกรรมไทย ด้วยการออกแบบตามหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน”

กำหนดการ

จำนวน 7 วัน ระหว่างวันที่ 2  มีนาคม – 1  เมษายน 2565

โปรแกรม

ตารางหลักสูตร คลิกที่นี่ 

เอกสารประกอบการสัมมนา/วีดิโอการบรรยาย

ลิงก์วิดีโอการบรรยาย บางส่วน

การประชาสัมพันธ์

กิจกรรมการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก “การออกแบบและการพัฒนาต้นแบบ CE (Design 4 Circular Economy Challenges)”

กิจกรรมนี้ เป็นการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญจากเอ็มเทคและผู้เชี่ยวชาญภายนอก แก่ 6 โซลูชัน จากผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือก  จากการรับสมัครที่มี 23 โซลูชัน จาก 20 บริษัท ส่งใบสมัครเข้ามา ซึ่งบริษัทที่สมัครเข้ามานั้นครอบคลุมทุกตำแหน่งในโซ่คุณค่า ตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงผู้ประกอบธุรกิจรีไซเคิล

กระบวนการพัฒนาต้นแบบ CE ดีไซน์โซลูชัน จะมีทีมพี่เลี้ยงคอยประกบตลอดช่วงการพัฒนาต้นแบบ เริ่มจากการคิดวิเคราะห์เชิงระบบเพื่อหาโซลูชันที่แท้จริง วางขอบเขต (system in focus) เก็บข้อมูลพื้นฐาน (Baseline data) ประเมินบริบท ไปจนถึงการหมุนเวียนทรัพยากร เพื่อเลือก CE strategy และ Areas of action ที่มีศักยภาพ เพื่อให้สามารถเดินหน้าพัฒนาต้นแบบ ด้วย STI อย่างมีประสิทธิผล (Effectiveness) 

6 ต้นแบบ CE Design Solution

บจก อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์

ต้นแบบดีไซน์โซลูชัน เฟอร์นิเจอร์ไม้สักแบบโมดูลาร์ดีไซน์

เอกสารและวีดิโอ

บจก สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง 1958)  
(ตรานกพิราบ)

ต้นแบบดีไซน์โซลูชัน การปรับปรุงกระบวนการผลิตผักกาดดองเพื่อลดของเสียและนำผลพลอยได้ (By Products) มาสร้างมูลค่าเพิ่ม

เอกสารและวีดิโอ

บจก ซิกเวอร์ค (ประเทศไทย)

ต้นแบบดีไซน์โซลูชัน การออกแบบถุงนมโรงเรียนให้สามารถรีไซเคิลกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตบรรจุภัณฑ์ใหม่

เอกสารและวีดิทัศน์

Thai Polyethylene Co.,Ltd. บริษัทในเครือ เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด
(มหาชน)

ต้นแบบดีไซน์โซลูชัน การคงคุณค่าพลาสติก พีอี จากถุงนมโรงเรียน ให้สามารถใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตบรรจุภัณฑ์ใหม่ได้

เอกสาร

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

ต้นแบบดีไซน์โซลูชัน การปรับปรุงสมบัติการทนน้ำและการคงรูปทรงของกล่องของขวัญจากเยื่อผสมของเยื่อปอสาและเยื่อกระดาษจากแก้วกาแฟ 

เอกสาร

บจก บี เอช พลาสติก

ต้นแบบดีไซน์โซลูชัน เม็ดพลาสติกคอมพาวนด์คุณภาพสูงจากพลาสติก PCR ประเภท พีพี

เอกสาร

การถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์

การสัมมนา “ต่อยอดธุรกิจด้วยการออกแบบตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Design Solution in Practice)”

กำหนดการ

22 พฤศจิกายน 2565

โปรแกรม

ตารางการสัมมนา คลิกที่นี่ 

เอกสาร

เอกสารประกอบการประชุม

VDO 1

VDO 2

VDO 3

VDO 4

VDO- ภาพรวมการออกแบบและการพัฒนาต้นแบบ CE (Design 4 Circular Economy Challenges)

การสัมมนาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้น 251 คน แบ่งเป็นผู้เข้าร่วมแบบออนไซด์จำนวน 90 คน และออนไลน์จำนวน 161 คน โดยผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ (ร้อยละ 58) มาจากภาคเอกชน

การประชาสัมพันธ์