ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ TBBPA

Tetrabromo-Bisphenol A หรือ TBBPA (CAS No. 79-94-7) เป็นสารหน่วงการติดไฟ ที่มีใช้ทั้งแบบ Reactive Flame Retardant (สารที่ใส่เข้าไปแล้วทำปฏิกิริยากับเนื้อวัสดุ และเมื่อ Cure ได้ที่ตามสูตรผสมแล้วจะได้สารเคมีชนิดใหม่ที่ไม่ใช่ TBBPA) และ แบบ Additive Flame Retardant ที่เป็นสารเติมแต่งที่ผสมในเนื้อวัสดุแบบไม่ทำปฏิกิริยา (คล้าย PBDE)    จากข้อมูลของ IARC ระบุว่าประมาณกว่าครึ่ง (58%) ของ TBBPA ที่มีการผลิตขึ้น ถูกใช้เป็นสารหน่วงการติดไฟ (Reactive flame retardant) ในวัสดุกลุ่มอีพอกซี่ โพลิคาร์บอเนต (PC) และฟีโนลิก ซึ่งเป็นวัสดุหลักที่ใช้ผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ และ IC (Molded Resins) TBBPA อีกประมาณ 18% ถูกใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตสารประกอบ TBBPA ชนิดอื่น (บางตัวเช่น TBB_A-DBPE (Tetrabromobisphenol A bis (2,3-dibromopropyl ether) ผลิตเพื่อนำมาใช้เป็นสารหน่วงการติดไฟเช่นกัน) และอีกประมาณ 18% ถูกนำไปใช้เป็นสารหน่วงการติดไฟแบบ Additive Flame Retardant คล้าย PBDE โดยมีใช้ผสมใน ABS และ HIPS  ในช่วงที่ PBDE ถูกกำหนดเป็นสารต้องห้าม ผู้ผลิตจำนวนหนึ่งหันมาใช้ TBBPA เป็นสารทดแทน ทำให้ในปัจจุบัน โอกาสที่จะพบชิ้นส่วน/สินค้า ที่มี TBBPA ในตัวจะมีมากกว่า PBDE ไปแล้ว    FacebookfacebookLINEline

Read More »
Bisphenols และ ฺBisphenol derivatives

ECHA ถามความเห็นต่อการห้ามใช้ BPA และสารที่คล้ายกัน

21 ธ.ค. 2565: ECHA ประกาศรับฟังความเห็นต่อการจำกัดการใช้สารบิสฟีนอล เอ (Bisphenol A) และ บิสฟีนอลชนิดอื่น รวมถึง สารอนุพันธ์ของบิสฟีนอล ที่มีสมบัติ “คล้ายกัน” (ในที่นี้คือ ก่อกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (endocrine disruptors) ได้เหมือนๆ กัน) ทั้งใน เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ (articles) – ขีดจำกัด 10 ppm โดยน้ำหนัก  (0.001 % by weight) – ปิดรับฟังความเห็น 22 มิ.ย. 2566 FacebookfacebookLINEline

Read More »

EC เผยร่างกฎหมายควบคุม ไมโครพลาสติกที่ตั้งใจใส่

ก.ย. 2565 คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป เผยแพร่ร่างกฎหมายฉบับใหม่ หวังจะใช้ REACH Annex XVII ควบคุมวางตลาด ไมโครพลาสติกสังเคราะห์ (Synthetic polymer microplastics) ไม่ว่าจะเป็นในรูป สารเคมี (Substances) หรือในรูปของผสม (Mixtures) ที่ “ตั้งใจ” ใส่ไมโครพลาสติกสังเคราะห์ กำหนดขีดจำกัด (0.01% โดยน้ำหนัก) คาดว่าน่าจะประกาศใช้ได้ในปี 2023-2024 FacebookfacebookLINEline

Read More »