RoHS

Restriction of the use of certain hazardous substances in electrical and electronic equipment

กฎหมายควบคุมการใช้สารอันตรายบางชนิดในสินค้ากลุ่ม “เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEE)” ทุกประเภท

ประเทศผู้ออก สหภาพยุโรป
หมายเลขอ้างอิง EU RoHS (original): Directive 2002/95/EC (เริ่มบังคับใช้ 1 July 2006)
EU RoHS 2: Directive 2011/65/EU
EU Commission Delegated Directive (EU) 2015/863 (เพิ่มพธาเลท 4 รายการ, มีผลบังคับใช้ 22 July 2019
วันที่ประกาศ: เวอร์ชั่น แรก: 27 มกราคม 2003
เวอร์ชั่น สอง: 01-07-2011
วันเริ่มบังคับใช้: เวอร์ชั่น แรก: 1 กรกฎาคม 2006
เวอร์ชั่น สอง: 3 มกราคม 2013

วัตถุประสงค์ (อย่างย่อ)

วางแนวทางในการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEE) เพื่อปกป้องสุขอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการจัดการ EEE ที่หมดอายุเพื่อนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ อย่างถูกหลักวิชาการ

ขอบเขตขอบกฎหมาย

เครื่องใช้ไฟฟ้า 11 ประเภท (รวมเคเบิลและอะไหล่) ยกเว้นเครื่องใช้ที่มีการระบุไว้อย่างชัดเจนในตัวระเบียบว่าอยู่นอกขอบเขต (เช่น ยุทธภัณฑ์, EEE ที่ส่งไปในอวกาศ, เครื่องจักรขนาดใหญ่, ฯลฯ 

  • EEE 10 ประเภทแรกคล้าย RoHS เวอร์ชั่นแรก โดย V.2 เพิ่มเครื่องใช้ประเภทที่ 11 “Other electrical and electronic equipment not covered by any of the categories above” ซึ่งครอบคลุมสินค้า EEE ทุกชนิดที่ไม่ได้ระบุ (นั่นคือ ครอบคลุม EEE ทุกประเภท เว้นแต่จะมีระบุเป็นสินค้าที่อยู่นอกขอบเขต)

ข้อกำหนดที่สำคัญ

  • จำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิด (กำหนดชนิดและขีดจำกัดของสารต้องห้ามแต่ละรายการใน Annex ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยน/เพิ่มเติมรายการได้)
    • ปัจจุบัน (ม.ค. 2023) – มีจำนวนสารต้องห้ามทั้งสิ้น 10 รายการ (อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มสารเคมี)
  • กำหนดหน้าที่ให้ ผู้ผลิตต้องจัดทำแฟ้มเอกสารเทคนิค และระบบประกันความสอดคล้อง และติดเครื่องหมาย CE บนสินค้าที่ผ่านการประเมินความสอดคล้องแล้ว (ประเมินตนเอง)
  • กำหนดหน้าที่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในสายโซ่การจัดจำหน่าย ต้องตรวจสอบการทำหน้าที่ซึ่งกันและกัน

หมายเหตุ: มีข้อยกเว้นสำหรับงานบางงานที่ยังไม่สามารถเลิกใช้สารต้องห้ามได้

  • ข้อยกเว้นต้องได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ
  • ยกเว้นให้ในช่วงเวลาจำกัด (มีวันหมดอายุ)
  • สามารถขอขยายเวลาการให้การยกเว้นได้ – โดยผู้ขอมีหน้าที่ ทำการศึกษาและให้ข้อมูลที่จำเป็นประกอบการขอขยายเวลา

วิธีแสดงความสอดคล้อง

  1. จัดระบบประกันความสอดคล้อง ที่ครอบคลุมการดำเนินการของ Supplier
  2. ประเมินความสอดคล้องของสินค้าตามเงื่อนไขที่กำหนดใน Module A ของกฎหมาย CE Mark ก่อนติดเครื่องหมาย
  3. ทำเอกสารเทคนิค (Technical Documentation) ที่มีเนื้อหา (ขั้นต่ำ) ตามที่กำหนดใน Module A ของกฎหมาย CE Mark
  4. ทำเอกสารสำแดงความสอดคล้อง ตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด
  5. รักษาความสอดคล้องในการผลิตที่ต่อเนื่องหลังการสำแดง และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อสถานะความสอดคล้อง

รายการสารควบคุมตามกฎหมาย

รายการ ชื่อ Substance ขีดจำกัด
1 ตะกั่ว Lead 0.1% โดยน้ำหนักวัสดุเนื้อเดียว
2 ปรอท Mercury 0.1% โดยน้ำหนักวัสดุเนื้อเดียว
3 แคดเมียม Cadmium 0.01% โดยน้ำหนักวัสดุเนื้อเดียว
4 โครเมียมเฮกซะวาเลนซ์ Hexavalence Chromium (Cr(VI)) 0.1% โดยน้ำหนักวัสดุเนื้อเดียว
5 PBB Polybrominated biphenyls (PBBs) 0.1% โดยน้ำหนักวัสดุเนื้อเดียว
6 PBDE
Polybrominated diphenylethers (PBDEs)
0.1% โดยน้ำหนักวัสดุเนื้อเดียว
7 DEHP Bis(2-ethylhexyl) phthalate (DEHP) 0.1% โดยน้ำหนักวัสดุเนื้อเดียว
8 BBP Butyl benzyl phthalate (BBP) 0.1% โดยน้ำหนักวัสดุเนื้อเดียว
9 DBP Dibutyl phthalate (DBP) 0.1% โดยน้ำหนักวัสดุเนื้อเดียว
10 DIBP Diisobutyl phthalate (DIBP) 0.1% โดยน้ำหนักวัสดุเนื้อเดียว

ประเทศอื่นที่มีกฎหมายใกล้เคียงกัน

Canada, Japan, Russia (Eurasia: EAC), Korea, China, USA (บางรัฐ อาทิ CA, NJ, IL, NY, RI, MN, WI)

  • EAEU RoHS: TR 037/2016
  • Japan: J-MOSS & JIS C 0950
  • Taiwan: CNS 15663
  • Korea: Korea-RoHS/ELV/WEEE (The Act for Resource Recycling of Electrical and Electronic Equipment and Vehicles) [ฉบับใหม่ครอบคลุม 10 สาร เริ่มบังคับใช้ 1 ม.ค. 2021]