โครงการ Materials Informatics & AI เพื่อวัสดุหมุนเวียนที่ปลอดภัย สู่การยกระดับความสามารถในการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจหมุนเวียน: ระยะที่ 1 – โครงข่ายคุณค่าพลาสติก (Plastics value network)

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างระบบนิเวศเชิงเทคโนโลยีในการสร้างมูลค่าจากการหมุนเวียนพลาสติกที่ปลอดภัย ผ่าน CiP Collaborative Platform
  2. เพื่อลดความเสี่ยงจากสารเคมีในผลิตภัณฑ์ (Chemicals in Products – CiP) ในการหมุนเวียนพลาสติกเพื่อสร้างมูลค่าในเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการประยุกต์ใช้ Material Informatics & AI
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในด้านการจัดการระบบโรงงานและการผลิตวัสดุคุณภาพที่เหมาะกับเศรษฐกิจหมุนเวียน และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมด้าน CE โดยภาคเอกชน
  4. เพื่อพัฒนาความสามารถในการออกแบบและประเมินสินค้าและบริการ ที่ Fit-for-CE
  5. เพื่อพัฒนาความร่วมมือเชื่อมโยงเครือข่ายคุณค่าในการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานวัสดุรอบสองในระดับภูมิภาค

หน่วยงานผู้ให้ทุน

แผนบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

ระยะเวลาโครงการ

ปีที่ 1: เดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2566

โครงการ “Materials Informatics & AI เพื่อวัสดุหมุนเวียนที่ปลอดภัย สู่การยกระดับความสามารถในการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจหมุนเวียน: ระยะที่ 1 – โครงข่ายคุณค่าพลาสติก (Plastics value network)” เป็น “โครงการติดดาว” หรือ โครงการที่ได้รับการเห็นชอบโดยครม. เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ว่าเป็นโครงการสำคัญของชาติประจำปี 2566 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ  และ ได้ทุนสนับสนุนโครงการผ่านภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ด้านการพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต

จากปัญหาสภาวะแวดล้อมเสื่อมโทรมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญต่อเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy: CE)  ซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับแนวคิด CE ในประเทศไทยยังค่อนข้างจำกัด อีกทั้ง ประเทศไทยยังไม่มีเครื่องมือหรือโครงสร้างพื้นฐานในการประเมิน สื่อสาร และส่งต่อข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ (Chemical in Product, CiP) และข้อมูลด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับวัสดุตลอดโครงข่ายคุณค่า (Value network) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการยืดอายุการใช้งานและการหมุนเวียนวัสดุในระบบเศรษฐกิจได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย

โครงการนี้มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบนิเวศเชิงเทคโนโลยี (Ecosystem) สำหรับโครงข่ายผลิตภัณฑ์พลาสติก (Plastic value network) เนื่องจากพลาสติกเป็นวัสดุที่มีศักยภาพสูงในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและเป็นส่วนประกอบสำคัญในสินค้าส่งออกหลักของไทย  โครงการนี้นำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้เพื่อคาดการณ์รูปแบบการใช้สารเติมแต่งที่อาจเป็นอันตรายในวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้ว และใช้ Material informatics ผนวกกับองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์และสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการกระบวนการผลิต เร่งการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการหมุนเวียนวัสดุและการผลิตวัสดุรอบสองสมรรถนะสูงจากวัสดุใช้แล้ว ที่มีความปลอดภัยและ ‘Fit-for-CE’ นอกจากนี้ เมื่อผนวกกับระบบนิเวศเชิงเทคโนโลยีที่จะพัฒนาขึ้น จะทำให้ผู้ประกอบการมีเครือข่ายข้อมูลความรู้ ที่จะเอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ CE รวมถึงสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจและมีความสามารถในการใช้ข้อมูลสนับสนุนการวางแผนและการตัดสินใจในเชิงธุรกิจในยุคปัจจุบัน

Forum & Special Seminar

 ลำดับ

วัน-เวลา

 หัวข้อ/ผู้บรรยาย 

 สถานที่จัดงาน

 การประชาสัมพันธ์

รายงาน 

1

7 พ.ย. 2565
12:00 – 16:30 น.

SMARTCirc x chemSHERPA Forum 
“ติดตามสถานการณ์ กฎระเบียบสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ในเวทีโลก”
ผู้บรรยาย ดร. นุจรินทร์ รามัญกุล และ ดร. อศิรา เฟื่องฟูชาติ

ห้องออดิทอเรียม อาคารศูนย์ประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่

2

29 พ.ย. 2565
14:00-15:00 น.

 SMARTCirc Forum
“Status and challenges of plastics waste management in the European Union – using Austria as a case study”
ผู้บรรยาย Assoc. Prof. Dr. Johann Fellner

ห้อง CO-110 ชั้น อาคารส่วนงานกลาง สวทช. ปทุมธานี
หรือ ทางออนไลน์ผ่านระบบ Webex

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่

 3

19 ม.ค. 2566
13:30-15:00 น. 

 SMARTCirc Forum
“Circular Economy and Resource Efficient and Effective Solutions”
ผู้บรรยาย Professor Mattias Lindahl 

ห้อง M120 ชั้น อาคารเอ็มเทค สวทช. ปทุมธานี
หรือ ทางออนไลน์ผ่านระบบ Webex

 คลิกที่นี่ลิกที่นี่
 4

15 ก.พ. 2566
09:00 – 16:00 น.

SMARTCirc x chemSHERPA Forum 
“Intensive chemSHERPA workshop for USERs
in Thailand”
ผู้บรรยาย คณะผู้เชี่ยวชาญไทย

ห้อง 106-Pasteur IIC Building (IRPC Innovation Center), IRPC Public Company Limited. ระยอง

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่
5

3 มี.ค. 2566
09:00 – 15:00 น.

SMARTCirc x MTEC DE4CE Clinic Forum
ตอน “ออกแบบให้ตอบโจทย์ CE” (How to find potential solution)

ห้อง 305 อาคารศูนย์ประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่
6

30 มี.ค. 2566
13:30 – 17:00 น.

SMARTCirc in NAC 2023 Event

ห้อง 405 อาคารศูนย์ประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่