การพัฒนาวิธีทดสอบเพื่อคัดกรองสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน และ สารมลพิษอุบัติใหม่ในผลิตภัณฑ์และในน้ำผิวดิน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาวิธีทดสอบสำหรับใช้งานร่วมกับ Machine learning เพื่อคัดกรองการมีอยู่ของสารมลพิษอุบัติใหม่และสาร POPs (เช่น PCBs, PCNs, SCCPs, PFOS, PFOA และ PAEs) ในวัสดุและตัวกลางที่เกี่ยวข้อง
  2. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายการจัดการสารอันตราย

หน่วยงานผู้ให้ทุน

สวทช. (งบประมาณภาครัฐ)

ระยะเวลาโครงการ

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 – เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563

โครงการได้พัฒนาวิธีทดสอบหลายแบบสำหรับใช้ตรวจคัดกรองการมีอยู่ของสารมลพิษอุบัติใหม่ คือ PCBs, PCNs, SCCPs, PFOS, PFOA และ Phthalates esters (PAEs) ในพลาสติก, น้ำมัน, สี, วัสดุประสานและอุดรอยต่อ รวมถึงการคัดกรองสารกลุ่ม PFAS ในน้ำผิวดิน โดยจากการประยุกต์ใช้วิธีวิเคราะห์ดังกล่าว ทีมวิจัยพบว่ามีการใช้สารกลุ่ม PEAs และ Chlorinated paraffins (CPs) อย่างกว้างขวางในพลาสติกเนื้อนิ่มและสี, พบการปนเปื้อนสารกลุ่ม PFAS ในน้ำผิวดิน และพบหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการนำพลาสติกที่ปนเปื้อนสารเติมแต่งที่เป็นสารมลพิษไปรีไซเคิลเพื่อผลิตสินค้าใหม่

โครงการได้จัดซีรีส์การอบรมเพื่อเพิ่มควรตระหนักเกี่ยวกับสารเคมีในผลิตภัณฑ์ให้แก่สาธารณชน รวมถึงเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการจัดการที่เหมาะสมและการสื่อสารข้อมูลตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในประเด็นสารเคมีที่น่าเป็นห่วง (Substances of Very High Concern, SVHCs) ให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและยานยนต์อีกด้วย