UNIDO-HCBD

โครงการสำรวจและขึ้นทะเบียนโฟม EPS ที่มีสาร HBCD ในประเทศไทย

องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization, UNIDO) ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ริเริ่มโครงการ “การสำรวจและการจัดทำทะเบียนโฟม EPS ที่มี HBCD ในประเทศไทย ” เพื่อสนับสนุนการดำเนินพันธกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการสาร HBCD ในโฟม EPS เมื่อหมดอายุการใช้งาน ได้อย่างปลอดภัยและถูกหลักวิชาการ และ ได้มอบหมายศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ 

สาร HBCD เป็นสาร POPs ที่มีการทบทวนและบรรจุในทำเนียบสาร POPs ของประเทศ ฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการจัดทำทำเนียบสาร POPs เมื่อปี พ.ศ. 2560  

กิจกรรมในโครงการ ประกอบด้วย การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อการระบุหา (identify) และจัดทำทะเบียน HBCD การจัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อบันทึกข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่มี HBCD และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่อาจมีสาร POPs เพื่อการจัดทำทะเบียนในอนาคต และ การสำรวจเพื่อยืนยันปริมาณ HBCD ในโฟม EPS เกรดไม่ลามไฟ ในประเทศไทย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการบริหารจัดการ รวมถึงการขอรับการสนับสนุนทางเทคนิคและทางการเงิน ภายใต้ข้อตกลงของอนุสัญญาสตอกโฮล์ม จากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกและหน่วยงานระดับนานาชาติ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

วัตถุประสงค์

1. จัดเตรียมเอกสารแนวทางปฏิบัติสำหรับการบ่งชี้และขึ้นทะเบียน HBCD ในโฟม EPS เกรดไม่ลามไฟ (SE-EPS) ในประเทศไทย

2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ที่มี HBCD และผลิตภัณฑ์ที่มีสารมลพิษคงทน (Persistent organic pollutants: POPs) กลุ่ม industrial POPs (iPOPs) รายการอื่น

3. ทำการสำรวจสถานประกอบการเพื่อยืนยันปริมาณ HBCD ในโฟม SE-EPS ในประเทศไทย

หน่วยงานผู้ให้ทุน

องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization, UNIDO)

ระยะเวลาโครงการ

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 – เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566

Expert Panel

  • 17 มกราคม 2566 เวลา 13.30 – 16.30 น. การประชุมหารือเบื้องต้น
     ทางออนไลน์
  • 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. การประชุมครั้งที่ 1
     ณ. ห้อง 405 อาคารศูนย์ประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี

Stakeholder Consultation & Engagement

อยู่ระหว่างดำเนินการ

Survey

อยู่ระหว่างดำเนินการ

More is coming soon