ทีมวิจัยวิศวกรรมไม้เพื่อความยั่งยืน
ทีมวิจัยวิศวกรรมไม้เพื่อความยั่งยืน (Wood Engineering for Sustainability Research Team: WEST) ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ (National Metal and Materials Technology Center: MTEC) หน่วยงานภายใต้กำกับของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พันธกิจของทีมวิจัยมุ่งเน้นการทำงานที่ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้เศรษฐกิจของไทยแบบครบวงจรอย่างยั่งยืนด้วยวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่สอดคล้องและตอบรับกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยการบูรณาการความร่วมมือร่วมกับพันธมิตรทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน รวมทั้งผลักดันให้เกิดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ไม้เศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ เช่น ไม้ในงานก่อสร้าง ไม้แปรรูป เฟอร์นิเจอร์ไม้ ถ่านเชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์ไม้ชนิดใหม่ และการจัดการของเสียในโรงงาน เป็นต้น โดยการดำนเนินกิจกรรมที่กล่าวมาจะมีการประเมินความยั่งยืนของทั้งกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ด้วยเช่นกัน
Machine and process design for Wood Products: การพัฒนาเครื่องจักรการผลิต เช่น การลดต้นทุนการสร้างเครื่องจักร การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร และระบบการผลิตต่อเนื่องเพื่อลดการใช้แรงงาน เป็นต้น
Wood Products Standard and testing: การวิเคราะห์ทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์
Research and development: การพัฒนากระบวนการคาร์บอไนเซชั่น การพัฒนาสารเคมีและกาวที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ การพัฒนาวิธีการและสารเคมีในการอัดน้ำยา เป็นต้น
Product design and engineering: การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หลักและผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าจาก Waste ที่เกิดขึ้น ทั้งด้านความสวยงาม ดีไซน์ และคุณสมบัติ เช่น ความแข็งแรง ความคงทนต่อสภาพแวดล้อม เป็นต้น และการใช้งาน CAE ในการออกแบบโครงสร้างที่ทำจากไม้
Waste Utilization: การบริหารจัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตไม้เพื่อให้เกิดประโยชน์สุงสุด
การใช้งาน CAE ในการออกแบบโครงสร้างที่ทำจากไม้และไผ่
การพัฒนาเตาเผาถ่านระดับชุมชน
Sustainability: การศึกษาและพัฒนาตัวชี้วัดและวิธีการประเมินการปล่อยและกักเก็บคาร์บอนในระดับผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานการประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) และการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ในระดับพื้นที่สำหรับไม้ไผ่ (โมเดลลำปาง)
International-related regulations: ศึกษากฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และความสามารถในการแข่งขันในตลาดสากลของไม้เศรษฐกิจไทย เช่น กฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า (EU-Deforestation Regulation: EUDR) เป็นต้น และเตรียมความพร้อมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ในการรองรับกฎหมายหรือมาตรการนั้นๆ
1. เลื่อยวงเดือนและโต๊ะงานไม้เอนกประสงค์ (Circular saw table)
เลื่อยวงเดือนและโต๊ะงานไม้เอนกประสงค์ เป็นโต๊ะสำหรับใช้ทำงานไม้ เช่น การตัดไม้ ผ่าไม้ ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ตัวโต๊ะมีพื้นที่ใช้งานโดยรวมกว้าง 88 cm ยาว 170 cm มีปากกาสำหรับจับชิ้นงานบริเวณหัวโต๊ะ และมีช่องสำหรับติดตั้งเราเตอร์/ทริมเมอร์ หรือจิ๊กซอว์ไฟฟ้า
รูปที่ 1 เลื่อยวงเดือนและโต๊ะงานไม้เอนกประสงค์
2. เลื่อยราง (Track saw)
เลื่อยราง เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การตัดทำได้แม่นยำและไม่ทำให้เกิดฝุ่นผงมากสามารถตัดได้ร่องลึกถึง 2 มิลลิเมตร โดยไม่มีเศษผง ตำแหน่งของการตัดจะเป็นไปในทางเดียวกันตลอดโดยไม่คำถึงมุมเฉียงของรางนำทางที่ติดอยู่กับตัวเครื่องสามารถตัดได้ชิดผนังมาก โดยมีระยะห่างน้อยสุดอยู่ที่ 18 มิลลิเมตร ตัดมุมเฉียงได้ -1 ถึง 48 องศา
รูปที่ 2 เลื่อยราง
3. เครื่องเลื่อยสายพาน (Band saw)
เครื่องเลื่อยสายพาน เป็นเลื่อยสายพานแบบตั้งโต๊ะที่ออกแบบมาสำหรับการตัดโลหะ ไม้ และวัสดุอื่นๆ ใช้สำหรับการตัดซอย การตัดแบบโค้ง และการตัดแบบเอียง สามารถตัดไม้หนาได้สูงสุดที่ 165 มิลลิเมตร และมีระยะตัดสูงสุดที่ 305 มิลลิเมตร
รูปที่ 3 เครื่องเลื่อยสายพาน
4. เครื่องไสหน้าเดียว (One-sided planing machine)
เครื่องไสหน้าเดียว เป็นเครื่องมือใช้สำหรับไสไม้ให้ได้ระดับ สามารถไสไม้หน้ากว้างสูงสุดขนาด 630 มิลลิเมตร ความหนาไม้ 3-180 มิลลิเมตร และมีระบบการตั้งขนาดการไส การตั้งขนาดความหนา/บางของการไส เป็นระบบดิจิตอล
รูปที่ 4 เครื่องไสหน้าเดียว
5. เครื่องขัดกระดาษทราย 2 หัวขัด (Sander)
เครื่องขัดกระดาษทรายแบบ 2 หัวขัด ใช้สำหรับงานขัดทั่วไปมีหน้าขัดกว้าง 630 มิลลิเมตร ความหนาไม้ 2.5-160 มิลลิเมตร มีหน้าจอแสดงสภาวะการตั้งขนาดการขัดชิ้นงานและตั้งขนาดด้วยระบบดิจิตอล
รูปที่ 5 เครื่องขัดกระดาษทราย 2 หัวขัด
พันธมิตรและความร่วมมือระหว่างประเทศ
ที่ผ่านมาทางทีมวิจัยได้มีการบูรณาการสร้างความร่วมมือร่วมกับพันธมิตรในประเทศไทยทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน นอกจากนี้ ทางทีมวิจัยยังมีการบูรณาการสร้างความร่วมมือร่วมกับพันธมิตรภายนอกประเทศ เช่น การประชุมความร่วมมือ International Ecosystem Management Partnership (UNEP-IEMP) และ Nanjing Forestry University (NJFU) อีกด้วย
การประชุมความร่วมมือระหว่าง MTEC กับ UNEP International Ecosystem Management Partnership (UNEP-IEMP) และ Nanjing Forestry University (NJFU)
การร่วมประชุมในพื้นที่ลำปาง “โครงการขับเคลื่อนลำปางเมืองไผ่และไม้”
การลงพื้นที่เยี่ยมชมและหารือสร้างความร่วมมือกับโรงงานผลิตภัณฑ์จากไม้
ทีมวิจัยวิศวกรรมไม้เพื่อความยั่งยืน
ดร.ทิพย์จักร ณ ลำปาง
โทร : 0 2564 6500 ต่อ 1726
อีเมล : thipjak.nal@mtec.or.th
ทีมวิจัยในกลุ่มการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ